การเดินสายสื่อสารภารในอาคาร


การเดินสายสื่อสารภายในอาคารตามมาตรฐานระบบเปิด



บทบาทของการสื่อสารข้อมูลในองค์กรมีมากขึ้น ทุกองค์กรเริ่มมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงต่อกันเป็นระบบแลน เชื่อมระหว่างแลนเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น ตลอดจนการเชื่อมระหว่างองค์กรเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

การเดินสายสัญญาณสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ อาคารสมัยใหม่จึงมีการออกแบสายสัญญาณสื่อสารไว้พร้อมเพื่อให้ใช้งานได้ทันที สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครือข่ายภายหลังได้ง่าย ระบบการเดินสายสื่อสารในอาคารจึงมีลักษณะเป็นแบบระบบเปิด ( open wiring system ) คือ พร้อมที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยง่าย

มาตรฐานการเดินสายสัญญาณสื่อสารในอาคารแบบระบบเปิด ได้รับการกำหนดมาตรฐานโดยองค์กรมาตรฐานที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานดังกล่าวคือ ANSI/EIA/TIA-568






ลักษณะการเดินสายสื่อสารที่สำคัญมีลักษณะเป็นแบบกระจาย โดยเน้นจากปลายสายคือ อุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรสาร ต่อเข้ากับปลั๊กผนังกำแพงจากปลั๊กผนังกำแพงมีสายเชื่อมโยงมารวมกันที่แผงรวมสายที่เรียกว่า patch panel จากนั้นเดินต่อมารวมยังห้องควบคุมระบบสื่อสาร ที่มีอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ติดตั้งอยู่ เช่น ฮัพ บริดจ์ เราเตอร์ หรืออุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณอื่น เช่น PBX

การเดินสายสัญญาณสื่อสารตามหลัก Open Wiring System มาตรฐานสาย EIA/AIA 568






การเดินสายสื่อสารตามมาตรฐาน EIA 568 จึงแยกเป็นระบบย่อยจากพื้นที่ทำงาน ซึ่งเดินด้วยสายเคเบิลแบบอ่อน เช่น ยูทีพี จากปลั๊กบนกำแพงมายังแผงรวมสาย เรียกว่า ระบบสายแนวราบ ( horizontal wiring ) หรือในระดับชั้นเดียวกัน และมีการเชื่อมโยงแผงรวมสายระหว่างชั้น ที่เรียกว่า ระบบสายแนวดิ่ง ( vertical wiring ) เมื่ออยู่ภายในอาคารสายเชื่อมโยงระหว่างแผงรวมสาย จึงเสมือนเป็นแบคโบน ( back bone ) ณ ห้องควบคุมมีอุปกรณ์เชื่อมต่อหลายอย่างประกอบอยู่ รวมทั้งมีระบบเชื่อมโยงกับภายนอก

โทโปโลยีของการเดินสายในอาคารตามมาตรฐานนี้จึงเป็นการเดินแบบกระจายหรือแบบสตาร์โทโปโลยีการมีแผงรวมสายก็เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายได้ง่ายเพราะสามารถจัดรูปแบบให้เข้ากับเครือข่ายแลนแบบต่าง ๆ ได้

ตัวกลางที่ใช้ตามมาตรฐาน EIA 568 นี้ ใช้ตัวกลางที่เป็นสายยูทีพี ชนิด 3 ยูทีพี ชนิด 5 สายเส้นใยแก้ว หรือสายเอสทีพี โดยถ้าเป็นยูพี ชนิด 3 ก็รองรับความเร็วของสัญญาณได้ไม่น้อยกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที ถ้าเป็นแบบชนิด 5 เส้นใยแสง หรือเอสทีพี ก็รองรับได้กว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที

ลักษณะเครือข่ายที่ใช้ภายในอาคารที่รองรับด้วยมาตรฐานนี้ คือเป็นระบบอะซิงโครนัสผ่านเทอร์มินัลเซิร์ฟเวอร์ ระบบอีเทอร์เน็ตแบบ 10 BASE T ระบบโทเกนริง ระบบเอทีเอ็ม ระบบโทรศัพท์ ฯลฯ

มาตรฐาน EIA 568 ยังครอบคลุมถึงลักษณะของหัวต่อที่กำหนดไว้ที่ปลายสาย เพื่อให้นำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาประกอบต่อได้ง่าย เช่น ถ้าใช้สายยูทีพีก็กำหนดหัวต่อเป็นแบบ RJ45 มีการกำหนดชนิดของหัวต่อ การกำหนดขั้วสาย เพื่อให้การเชื่อมหัวสายใช้ร่วมกันได้

การเดินสายสัญญาณภายในอาคารตามมาตรฐานนี้จึงเสมือนการเดินปลั๊กไฟฟ้ากำลัง ที่สามารถนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้ได้ทันที ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานภายในอาคารได้หมด อาคารสมัยใหม่ จึงจำเป็นต้องเตรียมการเรื่องสายสัญญาณเหล่านี้ไว้ก่อน และหากเป็นไปตามมาตรฐานก็มั่นใจได้ว่า จะหาอุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้งานร่วมได้

ที่มา: www.school.net.th/ น.ส.ศุภธิดา พุฒพันธ์ ม.4/5 เลขที่ 10
ส่ง อาจารย์สมปอง ตรุวรรณ์
--------------------------------------------------------------------------------



โดย : นางสาว ศุภธิดา พุฒพันธ์, -, วันที่ 2 มกราคม 2545