การฟอร์แมตแผ่นดิสก์เก็ต (Diskette Formatting) บน Windows 95 / 98
กล่าวนำ
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งที่บ้านที่ทำงาน ส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows95 หรือ 98 เกือบทั้งสิ้น อาจจะมีระบบปฏิบัติการ DOS เหลืออยู่บ้าง แต่ก็คาดว่าคงไม่มากนัก บางคนอาจไม่รู้จักเลยก็มี
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะมีส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลหลักที่เหมือนกัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะต้องติดตั้งมาพร้อม เมื่อเราซื้อ ก็คือ Hard Disk,
Floppy Disk Drive(ใช้บันทึก/อ่านข้อมูล จากดิสก์เก็ต) และ CD Drive สื่อที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลเหล่านี้ ก่อนจะนำมาใช้บันทึกข้อมูลได้ จะต้องผ่านกระบวนการฟอร์แมต (Format) ก่อน
กระบวนการในการฟอร์แมต (Format) สื่อเหล่านี้ เช่น ดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์และ CD ในปัจจุบันมักจะทำสำเร็จเรียบร้อยมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว ซึ่งจะต่างจากเมื่อประมาณ สามสี่ปีก่อน โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง แผ่นดิสก์เก็ต ผู้ใช้จะต้องนำมาฟอร์แมตเองก่อนใช้งาน แต่ปัจจุบันทางโรงงานผู้ผลิตทำมาให้เรียบร้อยพร้อมใช้งานได้เลย (สังเกตได้จากข้างกล่องจะมีข้อความว่า Formatted)จึงทำให้ผู้ใช้หน้าใหม่ในช่วงหลังๆ ไม่รู้จักกระบวนการนี้ และก็ทำไม่เป็น
ถ้าจะถามว่า เมื่อเขาทำมาให้แล้ว เราจำเป็นต้องทำอีกหรือไม่ ต้องรู้วิธีการอีกไหม คำตอบก็คือ เรายังควรต้องรู้วิธีการและทำให้เป็น เพื่อว่าเมื่อใช้งานไปแล้ว เกิดเหตุการณ์จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตสื่อเหล่า
นี้ใหม่ เช่น ดิสก์เก็ตติดไวรัส ไม่สามารถทำลายได้ ดิสก์เก็ตมี Bad Sector หรืออื่นๆ เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ แผ่นดิสก์เก็ต เพราะเป็นสื่อที่ในระดับผู้ใช้ User)ทั่วๆไปสัมผัสอยู่ ส่วน ฮาร์ดดิสก์ และ CD นั้นควรเป็นหน้าที่ของช่างเทคนิคหรือผู้ที่รู้ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง เป็นผู้ดำเนินกา
กระบวนการฟอร์แมต (Format) คืออะไร ?
กระบวนการฟอร์แมต คือกระบวนการในการจัดรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบฮาร์ดแวร์ที่ใช้(หมายถึง ชนิด ขนาด ความจุ ของ Drive ที่เป็นตัวอ่าน-เขียน) ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่ใช้ เช่น DOS Windows OS2
Unix เป็นต้น เพื่อให้สื่อเหล่านั้นสามารถ อ่าน-เขียนข้อมูลได้ถูกต้องหรืออีกนัยหนึ่ง กระบวนการฟอร์แมต เป็นกระบวนการในการจัด
เตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูลบนแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์
กล่าวคือแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ ใหม่ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อน จะมีลักษณะเหมือนเป็นแผ่นกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีเส้นบรรทัด เมื่อผ่านกระบวนการฟอร์แมตแล้ว พื้นที่ว่างเหล่านั้นจะ
ถูกแบ่งออกเป็นช่องใหญ่ ซอยย่อยออกเป็นช่องเล็ก ชึ่งในทางเทคนิค เรียกว่าเป็นการแบ่ง แทร็ก (Track) และ เซ็คเตอร์ (Sector) เพื่อใช้เป็นช่องในการจัดเก็บข้อมูลต่อไป
กระบวนการฟอร์แมตดิสก์นี้ จะทำเมื่อไหร่?
เมื่อดิสก์เก็ต หรือ ฮาร์ดดิสก์ ที่ซื้อมาใหม่ยังไม่ผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อน
ดิสก์เก็ตเก่าติดไวรัส ไม่สามารถจะทำลายไวรัสนั้นได้
ดิสก์เก็ตเก่า แต่ต้องการจัดรูปแบบใหม่ ในกรณีนี้ต้องระวังหากดิสก์เก่านั้นมีข้อมูลบบรรจุอยู่ เมื่อทำการฟอร์แมตแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกลบไปด้วย
ดิสก์เก็ตเก่าที่กำลังใช้งานอยู่ อาจมีเสียหายเป็นบางส่วน(Bad Sector) ซึ่งอาจเกิดจากการผิดปกติของกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ไฟฟ้าตก หรือการทำงานของคอมพิวเตอร์ขัดข้อง
วิธีการฟอร์แมตแผ่นดิสก์เก็ตบน Windows 95/98
ในหน้าต่าง Desktop ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer จะได้กรอบหน้าต่างแสดงไอคอนใน My Computer ดังรูป
ใส่แผ่นดิสก์เก็ตที่ต้องการฟอร์แมตเข้าไปในดิสก์ไดรว์ ตามขนาดของดิสก์เก็ต ในที่นี้สมมุติว่าต้องการฟอร์แมตดิสก์เก็ตขนาด 3.5" ในไดรว์ A
ในหน้าต่าง My Computer ให้เลื่อนเมาส์ไปที่ไอคอน 3.5 Floppy[A:] แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์ หนึ่งครั้ง จะปรากฎกรอบรายการคำสั่งขึ้นมา ดังรูป
ในกรอบคำสั่ง ให้คลิกเมาส์เลือกคำสั่งFormat จะปรากฏกรอบหน้าต่างสำหรับกำหนดรายละเอียดของการฟอร์แมตดิสก์ขึ้นมาดังรูป
รายการต่างๆที่มีให้เลือกในกรอบ Format-3.5 Floppy [A:] มีดังนี้
ในช่อง Capacity: เป็นช่องสำหรับเลือกขนาดความจุ ของแผ่นดิสก์เก็ตที่ต้องการฟอร์แมต ซึ่งต้องเลือกให้ตรง เช่นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุ 1.44 MBและถ้าเป็นแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 5.25 นิ้ว จะมีความจุ 1.22 MB แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว Windows จะตรวจสอบให้เองและกำหนดเป็นค่าเริ่มต้น (Default) ให้โดยอัตโนมัติ
ในช่อง Format type จะเป็นช่องรายการให้เลือกกำหนดรูปแบบในการฟอร์แมต (เลือกได้ครั้งละหนึ่งรายการ) ดังนี้
Quick (erase) เป็นการกำหนดให้ทำการฟอร์แมตอย่างรวดเร็ว รูปแบบนี้จริงๆแล้วเป็นเพียงแค่การลบแฟ้มข้อมูล และไดเร็คทอรี่ ต่างๆที่มีอยู่ในแผ่นเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นการจัดโครงสร้างใหม่ ตัวเลือกนี้จะขึ้นเป็นค่าเริ่มต้นให้ในกรณีที่แผ่นดิสก์ที่จะฟอร์แมต เคยผ่านกระบวนการฟอร์แมตมาก่อนแล้ว หากเราไม่ต้องการรูปแบบนี้ก็สามารถยกเลิกได้โดยการคลิกเลือกรูปแบบอื่นแทน
Full เป็นการกำหนดให้ทำการฟอร์แมตแบบเต็มรูปแบบ กล่าวคือให้จัดโครงสร้างใหม่ทั้งหมด หากเป็นแผ่นเก่าที่เคยฟอร์แมตมาแล้ว โครงสร้างเก่า ข้อมูลเก่าที่บรรจุอยู่จะถูกลบออกจนหมดสิ้น แล้วจัดแบ่ง Track, Sector ใหม่หมดวิธีการนี้จะใช้เวลาในการฟอร์แมตต่อแผ่น ประมาณเกือบสองนาที รูปแบบนี้จะใช้กับแผ่นดิสก์ที่ยังไม่เคยฟอร์แมตมาก่อน หรือ แผ่นเก่าที่ติดไวรัส หรือมีปัญหาเรื่อง Bad Sector
Copy system files only เป็นรูปแบบของการฟอร์แมตที่มีการ Copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับบูทระบบ(System files for boot system such as Command.com) ลงไปในแผ่นด้วยจะทำให้แผ่นดิสก์ที่ผ่านการฟอร์แมตในรูปแบบนี้สามารถนำมา เปิด (Boot) เครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ในช่อง Other options (เลือกได้มากกว่าหนึ่งรายการ)
ในช่อง Label เป็นช่องสำหรับพิมพ์ label หรือชื่อของแผ่นดิสก์
No label คลิกเลือกเมื่อไม่ต้องการใส่ Label
Display summary when finished คลิกเลือกเมื่อต้องการให้โปรแกรมแสดงผลหลังการฟอร์แมตเสร็จสิ้น เช่น ได้พื้นที่ในการจุข้อมูลเท่าไร เสียไปเท่าไร เหลือเท่าไร เป็นต้น
Copy system files คลิกเลือกเมื่อต้องการให้สำเนาโปรแกรมระบบลงในแผ่นด้วย จะสัมพันธ์กับรายการ m Copy systemfiles only ในช่อง Format type
เมื่อเลือกรายการต่างๆตามความต้องการแล้ว ก็เริ่มต้นฟอร์แมตโดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start โปรแกรมจะทำการฟอร์แมต โดยแสดงแถบ สีในการทำงาน ดังรูป ให้รอจนกว่าจะฟอร์แมตครบ 100 %
เมื่อฟอร์แมตเสร็จ หากมีการคลิกเลือกรายการ Display summary when finished ไว้โปรแกรมจะแสดงกรอบหน้าต่าง
Format Results-3.5 Floppy[A:] แสดงรายละเอียดต่างๆ คลิกที่ปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบหน้าต่างนี้ ถือ เป็นการเสร็จสิ้น
กระบวนการฟอร์แมต โปรแกรมจะกลับมาที่กรอบหน้าต่าง Format 3.5 Floppy [A:] ดังเดิม หากต้องการฟอร์แมตแผ่นดิสก์อื่นต่ออีกก็เอาแผ่นดิสก์ที่ฟอร์แมตเสร็จแล้วออก ใส่แผ่นใหม่เข้าไปแทน แล้ว
เริ่มตามขั้นตอนเดิม แต่หากต้องการเลิกงานก็ให้คลิกที่ปุ่ม Close ดังรูป
--------------------------------------------------------------------------------
Mr.Surasak Likhittragulrung : surasak@school.net.th
Nawamindhrachudhit Payap Chiangmai Thailand
ผู้จัดทำ นางสาวเกศมณี จันทำ ม.4/5 เลขที่ 5 ร.ร.นารีนุกูล
ส่งอาจารย์สมปอง ตรุวรรณ์
|
|
|