เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

เทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษายุคสังคมแห่งการเรียนรู้

                                                  โดย สายพันธ์ สิงห์อ่อน

การศึกษาไทย มีการพัฒนามาจากพื้นฐานดั่งเดิม ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และสังคมของประเทศไทย รูปแบบการศึกษาในยุคเริ่มต้น เป็นการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันตามความพึงพอใจ มองแต่ละบุคคล การศึกษาขณะนั้น จึงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่ระบบการศึกษาในปัจจุบันพัฒนาไม่ทันกันการเปลี่ยนแปลงโดยเห็นได้จาก พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ต้องใช้เวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนั้น ยังมีการปรับครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิจและวิถีของกลุ่มคนรวมกับวัฒนธรรม และความเป็นตัวของตัวเอง หรือที่เรียกว่าปัจเจกชนธุรกิจ

การเรียนรู้ในยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั่งเดิมจะลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนจะเปลี่ยนแปลงไป เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างระบบพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะองค์กรการพัฒนาการเรียน การสอน และสภาพแวดล้อมทางการศึกษา

ดังนั้น เทคโนโลยี และการสื่อสารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อกระบวนการพัฒนา การศึกษา การวางแผนจัดการศึกษา และคุณภาพการ จัดกิจกรรม การเรียน การสอนทุกระดับการศึกษาไทยในอนาคต จึงจำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาในยุคสารสนเทศที่ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน เทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ปฏิรูปการศึกษา ขยายการศึกษาไปสู่ผู้ด้อยโอกาสในเมือง ชนบท และภูมิภาค และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

    1. เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เป็นวิธีการนำสื่อทางไกลภาพและทางเสียง คือการนำวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์มาใช้ในการให้การศึกษากับประชาชน ด้วยการจัดให้ผู้สอนสามารถมีการส่งสัญญาณสื่อสารกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์ และวิทยุ จากสถานีแม่ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ไปยังผู้เรียนที่รอรับสัญญาณอยู่ในสถานีลูกหลาย ๆ แห่งได้ ซึ่งในสถานีลุกแต่ละแห่งก์มีการจัดชั้นให้ผู้เรียนเข้าเรียนเช่นเดียวกันกับชั้นเรียนในสถานีแม่ ผู้เรียนสามารถซักถามปัญหาและพูดจา โต้ตอบกับผู้สอนได้โดยการส่งสัญญาณภาพผ่านระบบวิทยุหรือโทรศัพท์
    2. เทคโนโลยีทางการศึกษา ปัจจุบันดาวเทียมนับเป็นทคโนโลยีพื้นฐานที่สำคัญ ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันจากสถานที่ที่ห่างไกล ในการจัดการศึกษาผ่านระบบดาวเทียมนี้ หากบ้านใดมีจานรับสัญญาณดาวเทียมก็สามารถศึกษาหาความรู้จากรายการวิทยุ โทรทัศน์ ทางการศึกษาที่แพร่สัญญาณเสียงและภาพผ่านระบบดาวเทียมได้ การศึกษาแบบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะในปัจจุบันประเทสไทยได้มีการส่งดาวเทียมไทยคมขึ้นไปเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งกรมการศึกษานอกโรงเรียน และโรงเรียนไกลกังวล ได้จัดให้มีโครงการทางไกลผ่านระบบของดาวเทียมไทยคมขึ้น
    3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทางการศึกษา ขณะนี้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษากันอย่างแพร่หลายทั้งในรูปการสอนและบริการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์นั้นเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาาความรู้ได้ ทั้งในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้เป็นกลุ่ม โดยการแสดงสีสันภาพ และเสียงออกมากระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวตลอดเวลา ไม่เบื่อหน่าย ผู้เรียนที่เรียนจากคอมพิวเตอร์สามารถสามารถเรียนรู้และทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา สามารถประเมินผลและทราบความก้าวหน้าได้อย่างอัตโนมัติ
    4. เครือข่ายอินเตอร์เนต เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นระบบเครือข่ายเพื่อรับและส่งข้อมูล ให้กับสมาชิก โดยรวบรวมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายข้อมูลมากว่า 70,000 เครือข่าย ใน 152 ประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนเครือข่ายและสมาชิกผู้ซื้อบริการเครือข่ายเพื่มขึ้นเรื่อย และในปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เนตแล้ว ทั้งในลักษณะของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และ มหาวิทยาลัยเสมือนจริง

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้เจริญรุดหน้าพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1. วารสารวิชาการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม 2544

  1. วารสารวิชาการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545
  2. วารสารวิชาการ ปีที่ 2 แบับที่ 1 กรกฎาคม 2542
  3. w.w.w.geocites.com/mayekinw/mr_prachy/inf_modi_edu.html
  4. w.w.w.geocites.com/mayekinw/mr_prachy/lcpocai:html
  5. w.w.w.geocites.com/mayekinw/mr_prachy/teach_comp.html
  6. w.w.w.srithai.com/online/future_tech.html

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ที่มา : วารสารวิชาการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม 2544 , วารสารวิชาการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545 , วารสารวิชาการ ปีที่ 2 แบับที่ 1 กรกฎาคม 2542w.w.w.geocites.com/mayekinw/mr_prachy/inf_modi_edu.html , w.w.w.geocites.com/mayekinw/mr_prachy/lcpocai:html

โดย : นางสาว สายพันธ์ สิงห์อ่อน, โรงเรียนบ้านห้วยยาง, วันที่ 19 มกราคม 2546