การเก็บและเตรียมสมุนไพร

หลักการทั่วไปในการเก็บและเตรียมสมุนไพร
1. ระยะเวลาหรือฤดูกาลที่ควรเก็บสมุนไพร
 พืชจำพวกใช้หัว ราก เก็บในฤดูหนาวถึงร้อน (ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะที่มีน้ำน้อย)
 พืชจำพวกที่ใช้ลำต้น ก้น และใบ เก็บในระยะที่พืชเจริญสมบูรณ์เต็มที่ หรือในระยะที่เริ่มออกดอก
 พืชจำพวกที่ใช้ดอก เก็บในระยะที่ดอกตูมเต็มที่และเริ่มบาน
 พืชจำพวกที่ใช้ผลและเมล็ด เก็บในระยะที่ผลแก่เต็มที่จนสุกงอม
 พืชจำพวกที่ใช้เปลือก เก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน
2. วิธีการเตรียมพืชแห้งเก็บเอาไว้ใช้
เมื่อเก็บมาแล้วเลือกสิ่งเจือปนออก ทำความสะอาด เช่น ล้างหรือขูดให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นตากหรืออบให้แห้งเก็บไว้ใช้ พวกที่มีกลิ่นหอมไม่ควรเอาไปตากแดด กลิ่นหอมอาจระเหยหนีได้ ควรตากลมหรือตากให้แห้งในที่ร่ม พืช จำพวกหัวและรากควรเอาไปนึ่งให้สุกก่อนจึงนำไปตากแห้ง พวกผลควรใช้น้ำร้อนลวกแล้วนำไปตากแห้ง พวกที่มีพิษน้อยที่จะต้มกิน เช่น พวกเปลือกพืชบางชนิด มักเอามาหมกเถ้าไฟก่อนจึงนำไปแปรสภาพใช้
3. การเก็บสมุนไพรที่แปรสภาพเรียบร้อยแล้ว
ส่วนใหญ่มักเก็บไว้ในที่มีลมถ่ายเทสะดวกและเย็น ไม่ถูกแสงแดดมากนัก พวกที่ขึ้นราง่ายต้องหมั่นเอาออกตากแดดเสมอ พวกที่มีแป้งมากมักมีพวกมอดและแมลงมากินและอาศัยอยู่ ต้องเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดกันแมลงได้ พวกที่มีกลิ่นหอมมักเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทกันสารระเหยหนีหาย ต้องหมั่นดูแลไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนูและแมลงต่างๆ
4. พวกที่คั้นเอาน้ำหรือตำพอกให้ใช้ของสด และที่บดเป็นผงให้ใช้ของแห้ง ส่วนใหญ่ของสดมักใช้เป็น 2 เท่าของของแห้ง




โดย : นาย ชัชวีร์ โหราพงศ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 16 ธันวาคม 2544