คลื่นไมโครเวฟ |
เมื่อเราเปิดสวิตช์เตาไมโครเวฟ จะเกิดสนามแม่เหล็กพลังงานสูงขึ้นซึ่งมีความถี่อยู่ในแถบความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุและเรดาร์ คลื่นไมโครเวฟที่เกิดขึ้นในสนามแม่เหล็กนี้สามารถทำให้อาหารสุกได้อย่างรวดเร็วโดยทำให้โมเลกุลของน้ำที่อยู่ในอาหารสั่นสะเทือนถึงเกือบ 2500 ล้านครั้งต่อ 1 วินาที การสั่นสะเทือนนี้จะดูดซับพลังงานจากสนามแม่เหล็ก ทำให้อาหารเกิดความร้อนและสุกได้
เนื่องจากพลังงานในเตาอบไมโครเวฟถูกอาหารดูดซึมไปทั้งหมด โดยไม่มีพลังงานที่ต้องสูญเสียไปในการทำให้เตาหรืออากาศในเตาร้อนขึ้น วิธีนี้จึงรวดเร็วและประหยัดกว่าวิธีหุงอาหารแบบเดิม
พลังงานจากไมโครเวฟไม่ทำให้ภาชนะในเตาอบร้อนขึ้น ทั้งนี้เพราะวัสดุที่ใช้ทำเป็นภาชนะ เป็นต้นว่ากระเบื้องและแก้วนั้นไม่ดูดซับความร้อนจากสนามแม่เหล็ก แต่ภาชนะที่เอาออกจากเตาอบจะได้รับความร้อนจากตัวอาหารแทน
|
|
|
ภาชนะหุงต้มแบบพิเศษ
นอกจากกระเบื้องและแก้วแล้ว ก็ยังมีวัสดุอื่นๆอีกที่ใช้กับเตาอบไมโครเวฟได้ เช่น พลาสติก กระดาษ และกระดาษแข็ง ทั้งยังมีภาชนะหุงต้มแบบพิเศษซึ่งผลิตขึ้นสำหรับใช้กับเตาไมโครเวฟโดยเฉพาะ
ภาชนะที่ทำด้วยโลหะไม่ควรใช้ เพราะเตาไมโครเวฟไม่ทะลุผ่านโลหะแต่จะถูกโลหะสะท้อนออกไป ดังนั้นจึงไม่ควรปิดหรือห่ออาหารด้วยกระดาษอะลูมิเนียมเครื่องที่ใช้ทำด้วยไม้ก็ไม่ควรใช้กับเตาไมโครเวฟด้วยเช่นกัน เพราะในเนื้อไม้นั้นมีความชื้นอยู่ เมื่อร้อนขึ้นก็จะทำให้ไม้แตกได้
คลื่นวิทยุแบบคลื่นความยาววัดความยาวคลื่นกันหน่วยละเป็นพันเมตร ส่วนคลื่นไมโครเวฟในเตาอบนั้นมีความยาวคลื่นประมาณ 12 ซม.
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นก็คือการสั่นสะเทือนของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ซึ่งเคลื่อนที่จากขั้วลบไปขั้วบวกเสมอ เตาอบไมโครเวฟทำงานด้วยคลื่นสั่นสะเทือนถึง 2450 ล้านครั้งต่อวินาที หรือเรียกความถี่ 2450 เมกะเฮิรตซ์
โมเลกุลของน้ำมีประจุไฟฟ้าบวกที่ปลายด้านหนึ่งและประจุลบที่ปลายอีกด้าน คลื่นไมโครเวฟบวก-ลบที่สั่นสะเทือนอยู่จะปะทะกับโมเลกุลบวก-ลบที่สั่นของน้ำดึงดูดโมเลกุลของน้ำเข้าใกล้แล้วผลักออก และทำให้หมุนกลับไปมาถึง 2450 ล้านครั้งต่อวินาที
ส่วนสำคัญที่สุดของเตาอบไมโครเวฟได้แก่ หลอดอิเล็กทรอนิกหรือที่เรียกว่า แมกเนตรอน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดคลื่นไมโครเวฟขึ้น คณะวิจัยชาวอังกฤษที่มหาลัยเบอร์มิงแฮมได้พัฒนาแมกเนตรอนไปใช้กับเครื่องเรดาร์ซึ่งพบว่ามีประโยชน์มาก ต่อมาในต้นทศวรรษ 1950 บรษัทเรธีออนในสหรัฐอเมริกาจึงพบเป้นครั้งแรกว่าสามารถนำมาใช้งานตามบ้านได้
จากหนังสือ รู้รอบ ตอบได้
|
โดย : นาย บุญญพัฒน์ โภคาพันธ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 6 ธันวาคม 2544 |