ระบบประสาท


ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น
- Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีส่วนพองออก เรียกว่า olfactory bulb ส่วนในสัตว์ชั้นสูง สมองส่วนนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมทั้งเชาวน์ ปัญญา ความจำ มีส่วนเนื้อสีเทาชั้นนอก(Cerebral-cortex) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รับความรู้สึก (ภาพ รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น ) ควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานและบอกตำแหน่งมีส่วน Corpus callosum ซึ่งถือกันว่ามีหน้าที่ …. ควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนที่เกิดจากการเรียนรู้
- Diencephalon ( ไดเอนเซฟาลอน ) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองส่วนหน้า อยู่ทางด้านล่าง ปกติจะมองไม่เห็น เพราะ Cerebrum คลุมอยู่ มีหน้าที่ … เป็นสถานีถ่ายทอด หรือศูนย์กลางส่งความรู้สึก ( เปรียบกับชุมสายโทรศัพท์ ) ยกเว้นการดมกลิ่น โดยที่กระแสความรู้สึกจะผ่านเข้ามาใน diencephalon แล้วจึงส่งไปยังซีรีบรัม ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสความรู้สึกนั้น ๆ
ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส
- ไฮโปธาลามัส เป็นส่วนพื้นของโพรงสมองอันที่สามที่มีขนาดเล็อยู่ใด้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง ภายในกลุ่มีมีเซลล์ประสาทอยู่น้อยถือว่าเป็นศูนย์ควบุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ความดันโลหิต ความรู้สึกทางเพศ อารมณ์ ความต้องการน้ำและอาหาร ความกลัว การนอนหลับ การต่อสู้ การหนีภัย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ ควบคุม เมตาบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจานนี้ยังเป็นแหล่งที่มีเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เป็นบริเวณที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ประสานงานกัน ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
2 สมองส่วนกลาง อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้ามีเส้นประสาทรับความรู้สึคกจากตามายังสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็นในสัตว์ มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่นปลา และกบตอนบนจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า optic lobe แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นสูงจะมีขนาดลดลงและจะทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ หรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น
3 สมองส่วนหลัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซีรีเบลลัม ซึ่งอยู่ทางด้านบนและเมดุลลาออบลองกาตา อยู่ด้านข้างและด้านล่าง



ชนิดของเซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งตามรูปร่างมี 3 ชนิด
1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว
2. เซลล์ประสาทสองขั้ว
3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว



โดย : นาง ธีราธร อาธิเวช, ร.ร.นารีนุกูล, วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544