ปรับตัวขึ้นเวทีอินเทอร์เน็ตไร้
ภายในปี 2003 โลกใบนี้จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย และเป็นที่นิยมใช้มากกว่าพีซี การเปลี่ยนแปลงวิธีสื่อสารข้อมูลนี้จะอำนวยผลให้การสร้างซอฟต์แวร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ ขณะเดียวกันยังช่วยให้โอกาสใหม่เกิดขึ้นได้มากมายเหลือคณานับแก่ผู้เริ่มต้นพัฒนาและผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์รายใหม่ แต่นั่นมีความหมายอะไรต่อแผนกสารสนเทศของบริษัทล่ะ…มีแน่นอน เว้นแต่คุณจะทำงานในหน่วยงานบัญชีที่รักษาข้อมูลไว้เป็นความลับเท่านั้น

อย่าไปพนันกับใครว่าบริษัทคุณจะทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือเปล่า เพราะไม่ว่าเร็วหรือช้า บางคนจะเอ่ยปากให้คุณปรับตัวใหม่กับแอพพลิเคชั่นบางตัวที่มีอยู่เพื่อใช้งานในระบบไร้สาย ในบทความนี้จะแสดงเทคนิคและลูกเล่นต่างๆ ที่ช่วยให้องค์กรทำอย่างนี้ได้จริงๆ โดยเราสามารถแบ่งกลุ่มแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือแบ็คเอ็นด์และฟร้อนเอ็นด์

อุปสรรคที่แบ็คเอ็นด์

ในส่วนแอพพลิเคชั่นของแบ็คเอ็นด์ ประกอบไปด้วยข้อมูลทางธุรกิจ ซึ่งต้องมีซอฟต์แวร์อำนวยความสะดวกเพื่อเข้าถึงข้อมูลนี้ได้อย่างถูกต้องและทันเหตุการณ์ ยกตัวอย่างง่ายๆ สถาปัตยกรรมแบบ 2 teir ซึ่งปกติหมายถึงเซิร์ฟเวอร์เก็บฐานข้อมูล กับสถาปัตยกรรมแบบ multi-teir ที่สามารถกระจายข้อมูลได้มากกว่า และมีวิธีการทำงานทางธุรกิจที่ติดต่อกับส่วนข้อมูลต่างกัน

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แอพพลิเคชั่นไร้สายในส่วนแบ็คเอ็นด์ส่วนใหญ่ทำงานล้มเหลว คือการใช้เวลาประมวลผลนานเกินไปในขั้นตอนการทำงานเดียว ตัวอย่างที่เห็นได้อาจเกิดจากการออกแบบส่วนคิวรี่ที่ไม่ดีซึ่งไม่สามารถดึงคุณประโยชน์ของอินเด็กซ์ที่มีอยู่มาใช้งาน ทางออกที่ดีคือออกแบบให้การตอบรับข้อมูลและการประมวลผลให้ใช้เวลาที่เหมาะสมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บางทีกระบวนการทำงานก็ไม่สามารถปรับแต่งให้มากไปกว่าที่มันเป็นอยู่ได้

Silver Push อาจช่วยได้

ในกรณีนี้เราเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องฝั่งไคลเอ็นต์ทำงานแบบอะซิงโครนัส กับเซิร์ฟเวอร์เพื่อหลีกเลี่ยงการรอคอยการตอบกลับ อย่างการทำงานของเมธอด call back บนแพลตฟอร์มปกติทั่วไปอย่างพีซีซึ่งทำความเข้าใจและทำให้เสร็จได้ง่าย เราเรียกการทำงานทำนองนี้ว่า server push แต่อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมที่รองรับกระบวนการนี้ในอุปกรณ์ไร้สายส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

บางทีความล่าช้าบนเซิร์ฟเวอร์ก็ไม่ได้เกิดจากส่วนข้อมูลทั้งหมด การคำนวณที่ซับซ้อนและมีวนซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลาสามารถทำให้การคำนวณยาวนานได้ ในกรณีเช่นนี้ อาจใช้วิธีเปลี่ยนแปลงบางส่วนหรือทั้งหมดของการคำนวณที่ใช้เวลานานบนเซิร์ฟเวอร์ให้ไปอยู่บนไคลเอ็นต์แทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การกระทำเช่นนี้ต้องขึ้นอยู่กับระดับการรองรับสคริปต์บนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย

ในอุปกรณ์ที่ใช้ WAP ได้ การใช้ WMLScript ที่รองรับการคำนวณยาวๆ ได้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เมื่อผู้ใช้คลิกที่ลิงค์ Go Figure ในสคริปต์ซึ่งโยงไปยัง server.wml ไฟล์จะถูกดาวน์โหลดมายังเครื่องไคลเอ็นต์ หลังจากนั้นฟังก์ชั่น Compute จะถูกประมวลผล ฟังก์ชั่นนี้จะปฏิบัติการโดยไม่สนว่าต้องคำนวณยาวนานเท่าใด แล้วนำผลที่ได้มาเก็บไว้ในตัวแปร Answer ก่อนจบด้วยการสั่งรีเฟรชหน้าจอ

ปัญหาสุดท้ายในส่วนแบ็คเอ็นด์ในการทำงานกับระบบไร้สายคือ เมื่อแอพพลิเคชั่นที่รับงานต่อมาทำการจับคู่ซอฟต์แวร์ฝั่งไคลเอ็นต์กับฐานข้อมูลไว้ใกล้ชิดกันมากๆ ยกตัวอย่างเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลจำนวนมากรองรับเงื่อนไขการยืนยันตัวผู้ใช้งานที่มากกว่าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ความสามารถที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้อย่าง SQL Server ที่ดึงฟังก์ชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยที่ฝังตัวอยู่ในวินโดวส์มาใช้งานได้ มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งแง่การลดภาระการดูและการเพิ่มความปลอดภัยให้ระบบ



แหล่งอ้างอิง : นาฏยา ประคองทรัพย์ .\"ปรับตัวขึ้นเวทีอินเทอร์เน็ตไร้สาย ความหมายของธุรกิจติดปีก\".[ONLINE]available.URLhttp://technology.mweb.co.th/articles/7509.html 06/09/44

โดย : นางสาว จิรวรรณ เพ็งภาค, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545