วัดความพร้อมรบ e-Business
วัดความพร้อมรบ e-Business ขององค์กร




บางทีการที่เราอยู่ในวงการใดวงการหนึ่งนานๆ เกินไป ก็อาจจะทำให้เรามอง
หรือเข้าใจว่า คนอื่นที่อยู่รอบนอกก็น่าจะรู้หรือคิดเหมือนอย่างเรา ผมเอง
บ่อยครั้งก็คิดเช่นนั้น ที่คิดว่า องค์กรหรือผู้บริหารส่ วนใหญ่น่าจะตื่น ตัวกับ
e-Business หรือ e-Commerce...


แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสัปดาห์ก่อน
ได้มีโอกาสไปบรรยายให้บรรดา SME ที่จังหวัดอุบลราชธานีฟัง ก็พบว่ามี
ส่วนน้อ ยเท่านั้นที่ได้มีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่โดยความจริงแล้ว
ส่วนหนึ่งไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัสแม้แต่คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ


แต่นั่น ก็ไม่แปลกใจเท่ากับผู้ประกอบการและผู้บริหารในเขตกทม. ซึ่ง
น ่าจะได้รับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ มากมาย และมีโอกาสที่จะได้ใช้อิน
เทอร์เน็ตมากกว่าผู้ประกอบการในต่างจังหวัด แต่ก็พบว่าเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้
ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ผู้บริหารกลุ่มหนึ่งฟัง จึงรู้ว่า เ รื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่
ใหม่มากสำหรับพวกเขาเหล่านั้น !!


อย่างไรก็ตาม ก็ยังโชคดีครับ ที่เมื่อบรรยายไปแล้ว ท่านผู้บริหารส่วน
ใหญ่ไม่ว่าจะอยู่ในกทม. หรือตจว. ต่างก็เข้าใจ และมองเห็นทั้ง "โอกาส" และ
"ภัยคุกคาม" ของการทำการค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ....
แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังติดตรงที่ "องค์กร" ของท่านผู้บริหารเหล่านั้น "ไม่มีความ
พร้อม" ที่จะลงมือดำเนินการเพื่อให้โอกาสทางกา รค้าบนเว็บนั้น เป็นจริง !!


ครับ บางท่านก็อาจจะมีคำถามที่ถามต่ออีกว่า แล้วอย่างไรหละ ที่เรียก
ว่า "มีความพร้อมในการลุยธุรกิจบนเว็บ?" ...

เขาวัดความพร้อมในด้านต่างๆ กันอย่างนี้ขอรับ คือ...


อย่างแรก "ความพร้อมในด้านจิตใจ ทัศนคติ ความคิดเห็น และวิสัย
ทัศน์" ที่มีต่ออินเทอร์เน็ต และความเร็ว ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลง
ทางการค้าอันเกิดจากอิน-
เทอร์เน็ต คือ ต้องสำรวจดูว่า ผู้บริหารแล ะพนักงานในองค์กรของท่านมี
ความตื่นตัวในเรื่องของอินเทอร์เน็ตแค่ไหน? และมองออกหรือไม่ว่า อินเทอร์เน็ต
จะทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงแนวทางในการดำเนินธุริกจครั้งใหญ่ หรือคิด
แค่ว่า มันก็เป็นเพียงเทคโนโลย ีใหม่ตัวหนึ่งที่มาแล้วก็ผ่านเลยไป เหมือน
อย่างที่เคยเป็นมา?


ในขณะเดียวกัน ท่านก็ต้องพิจารณาด้วยว่า หากใครทำธุรกิจอย่างเดียว
กับท่านนี้หากทำบนเว็บแล้ว มันจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลักที่เรากำลังทำ
อยู่ตรงนี้หรือไม่? แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้บริหารในองค์กรของเราเชื่อหรือไม่
ว่า เราจะสามารถปรับตัวสู้กับภัยคุก คามอันเกิดจากการค้าบนเว็บนี้ได้ และ
ถ้าปรับไม่ได้ จะมีหนทางอื่นที่จะป้องกันได้หรือไม่ ?


ความจริงแล้วความพร้อมในด้านภาวะจิตใจ หรือความคิดเห็น หรือวิสัย
ทัศน์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากคิด
ว่า มันไม่มีอะไรที่จะกระทบต่อธุรกิจของเราเลยแล้ว กา รปรับตัวหรือเปลี่ยน
แปลงใดๆ ก็คงจะไม่เกิดขึ้น ความจริงแล้วประเด็นมันอยู่ที่ว่า ก่อนที่ท่านจะ
สรุปความเห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ท่านได้ศึกษาเรื่องเหล่านี้อย่าง
ละเอียดรอบคอบแล้วหรือยัง...หรือว่า แค่มองๆ แล้วตอบ !!??


ผมขอย้ำว่า อย่าผิวเผิน และประมาทกับอินเทอร์เน็ตเป็นอันขาด และ
ถ้าบังคับได้ผมขอร้องล่ะว่า "จงเชื่อเถอะว่า มันเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจของ
ท่านอย่างแน่นอน และในขณะเดียวกันมันก ็เป็นโอกาสอันมหาศาล ที่ท่านจะ
สร้างรายได้ให้แก่องค์กรได้อีกมาก" ...เชื่อเถอะ !!??


อย่างที่สอง "ประเมินความพร้อมในการแข่งขัน" โดยพิจารณาจาก
"ความเร็ว"
ที่องค์กรของท่านต้องใช้ในการพัฒนาสินค้า ใหม่ หรือจัดทำหรือแพ็คสินค้า
เพื่อจัดส่งให้แก่ลูกค้า และก็ต้องดูด้วยว่า องค์กรของท่านจัดลำดับความ
สำคัญให้กับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหนด้วย ไม่ใช่ว่า ถ้าทำก็เร็วอยู่แล้ว แต่ยังไม่ใช่
เรื่องเร่งด่วนหรือ สำคัญ ก็เลยไม่ได้ลงมือทำสักที ซึ่งผลมันก็คือ ทำไม่เร็วนั่น
แหละ


ในภาคปฏิบัตินั้น ก็คงจะพิจารณาแค่ขีดความสามารถในการปรับตัวแค่
ภายในองค์กรของเราเพียงอย่างเดียงไม่ได้ แต่คงจะต้องดูด้วยว่า องค์กร
อื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาห-กรรมเดียวกับเรานั้น เขาสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าเรา
แค่ไหน? และถ้าเขาเหล่านั้นทำได้เร็วกว่าเรา ..อะไรล่ะที่ทำให้เขาเหล่านั้นทำ
ได้เร็วกว่า? แล้วคนอื่นที่อยู่วงนอกหละมองว่า เรา ทำได้เร็วกว่าคู่แข่งหรือ
ไม่? (ให้คนอื่นช่วยมองเพื่อป้องกันเรามองเข้าข้างตัวเอง !!)


นอกจากนี้ก็ต้องหันกลับไปมองดูว่า ขณะนี้องค์ของเราได้มีการใช้
ประโยชน์จาก
อินเทอร์เน็ตมากน้อยขนาดไหน? โดยเฉพ าะอย่างยิ่งการใช้อินทราเน็ต หรือ
อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร ถ้าใช้งานอยู่ มันช่วยให้การทำงานภายในดีขึ้น
มากน้อยแค่ไหน? ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการได้มากหรือไม่? และที่ผ่าน
มาได้มีการใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมก ันมากน้อยเพียงใด? เพื่อให้การพัฒนาสิน
ค้าและบริการมีคุณภาพที่ดีขึ้น


หรือหันไปมองผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา ไม่ว่าจะเป็นตัวลูกค้าเอง หรือผู้ขาย
วัตถุดิบ หรือผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้เราสสที่ผ่านมาเราเ คยใช้ระบบอิน
เทอร์เน็ต หรือใช้ระบบเอ็กซ์ทราเน็ตติดต่อกันมากน้อยเพียงใด? และถ้ายังไม่เคย
ทำ ท่านจินตการได้หรือไม่ว่า หากมีแล้วมันจะช่วยให้ความสัมพันธ์ หรือการ
ติดต่อธุรกิจระหว่างกันรวดเร็วขึ้น ดีขึ้ น ประหยัดขึ้น ได้มากน้อยขนาดไหน?
แล้วถ้าคิดได้ว่า มันน่าจะดีขึ้นมาก แล้วทำไมองค์กรของท่านจึงไม่ลงมือทำ?
ติดขัดในเรื่องใด? หรือมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ที่ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน!!??


เพราะท่านลองน ึกดูสิว่า ถ้าระบบการจัดซื้อของท่านเป็นไปอย่าง
อัตโนมัติ คือ ซื้อเฉพาะเมื่อจำเป็น และซื้อในจำนวนพอดี โดยการติดต่อสั่งซื้อนี้
ทำได้โดยผ่านระบบอิน-
เทอร์เน็ตผ่านไปยังซัปพลายเออร์ที่ติดตั้งระบบนี้เช่นก ัน ซึ่งหากทำได้อย่างนี้
เราจะลดสินค้าคงคลังได้มากเพียงใด? และประหยัดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้
มากน้อยขนาดไหน?


อย่างที่สาม "สำรวจจุดอ่อนของธุรกิจ" เราลองจินตนาการดูสิขอรับว่า ถ้า
เราดัดแปลงสินค้า ของเราบางส่วนให้มันง่ายต่อการขนส่ง หรือจัดส่งได้รวด
เร็วขึ้น และประหยัดค่าขนส่งได้มากขึ้นนั้น เราสามารถทำได้หรือไม่?


หรือหากไม่คิดในเรื่องของการขนส่ง อาจจะต้องพิจารณาว่า กิจกรรม
ออนไลน์ที่มีอย ู่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าเราได้หรือไม่? และหากนำ
มาใช้มันจะ "เพิ่มคุณค่า" หรือ "สร้างประสบการณ์ใหม่" ในการใช้สินค้าของเรา
ให้แก่ลูกค้าหรือไม่? และหากมันเป็นไปได้จริง เราเองมีปัญญาที่จะ
ดำเนิ นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เองหรือไม่?


ที่ผ่านมาคู่แข่งของเราได้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อ
ช่วยเพิ่มคุณค่าหรือประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าบ้างหรือยัง? และถ้าเขา
ทำได้แล้ว เร าเป็นห่วงหรือไม่? ถ้า "ไม่" ทำไมถึง "ไม่" ห่วง? คำถามเหล่านี้
ท่านจะต้องตอบให้ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว โอกาสที่ท่านจะประเมินสถาน
การณ์พลาดมีความเป็นไปได้สูงมาก


หรืออาจจะมองในมุมกลับ คือ ลองนึกภาพ สิว่า การพัฒนาสินค้าหรือ
บริการในรูปแบบใดบ้างที่ทำออกมาแล้วจะ "ทำลาย" หรือเป็น "ภัยคุกคาม" ต่อ
ธุรกิจของเราได้? ถ้ามันเป็นไปได้ที่จะทำลาย "คุณลักษณะ" ของสิน ค้าหรือ
บริการนั้น หน้าตาเป็นอย่างไร? แล ะถ้ามันโผล่ออกมาแล้ว องค์กรของท่านมี
แนวทางในการปรับตัวอย่างไรบ้าง เพื่อเอาชีวิตรอด? และการปรับตัวที่ว่านี้
สามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้เลยหรือไม่? หรือคอยก่อน? หรือคิดว่า มันไม่คุ้มค่า
กับการลงทุนเพื ่อตอบโต้ !!??


ถามมาถึงตรงนี้ ก็อย่าลืมถามตัวท่านเองด้วยว่า องค์กรของท่านทำหน้า
ที่เป็น "ตัวกลาง" คือ เป็น ตัวแทนขาย ค้าส่ง หรือค่าปลีก หรือเป็นผู้จัด
จำหน่าย หรือไม่? หาก "ใช่" ล่ะก็ ท่านมีทาง ไหมที่จะใช้อินเทอร์เน็ตในการเพิ่มคุณ
ค่าในการให้บริการแก่ลูกค้า และถ้าท่านปรับตัวและเพิ่มคุณค่าที่ว่านี้ให้แก่
ลูกค้าแล้ว คุณค่าที่ว่านี้ มันเพียงพอหรือไม่ที่จะป้องกันไม่ให้ลูกค้าของท่าน
กระโดดข้า มโดย ใช้อิเทอร์เน็ตไปซื้อของจากผู้ผลิตโดยตรง?


หรือในอีกแง่หนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ปัจจุบันท่านขายสินค้าของท่าน
ผ่านตัวกลางหรือไม่? หรือว่าขายตรงให้แก่ผู้บริโภคโดย ตรง? แน่นอนหาก
ท่านไม่ได้ขาย ตรงไปที่ผู้บริโภค ท่านสามารถเปลี่ยนแนวทางขายไปขายผ่าน
เว็บได้หรือไม่? และถ้าได้ๆ ได้วาง แผนอย่างจริงจังที่จะทำการทดลองขาย
ผ่านเว็บแล้วหรือยัง?


อีกอย่างที่ต้องพิจารณาคือ ท่านมีประสบการณ์หรือไม่ ในการพัฒนาสิน
ค้าใหม่เพื่อใช้สำหรับขายผ่านเว็บโดยตรง? และสิน ค้าที่ท่านขายอยู่ใน
ปัจจุบันนี้ มีเป้าหมายขายลูกค้ารุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ที่เล่นอินเทอร์เน็ต? และถ้าไม่
เคยมีลูกค้ารุ่นใหม่เลย มันเป็นไปไ ด้หรือไม่ที่ท่านจะขยายฐานลูกค้าไปยัง
ลูกค้ากลุ่มใหม่นี้?


อย่างที่สี่ "การลงมือทำให้สำเร็จ" คำ ถามที่เราถามๆ ตัวเองมาทั้งหมดนี้
ในองค์กรของท่านใครเป็นผู้ที่รับผิดชอบที่ต้องตอบคำถามเหล่านี้? แล ะถ้า
ท่านรู้ตัวว่า คือ "ใคร" แล้วเขาคนนั้น รู้ตัวเองหรือไม่ว่า มีหน้าที่ๆ ต้องให้คำ
ตอบและต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เป็นจริง?


ครับ ว่ากันว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจโดยการนำเอา อิน
เทอร์เน็ตมาใช้งานนั้น มันจะต้องเริ่มจากผู้นำสูงสุดขององค์การที่จักต้องมี
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เสียก่อน หรืออย่างน้อยแม้ไม่ใช่ผู้นำสูงสุด ก็อาจ
จะเป็นผู้ที่อำนาจในการกำหนดนโยบาย หรือตัดสิ นใจให้การเปลี่ยนแปลงนั้น
เกิดขึ้นได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์เหล่านี้จักต้องใช้ระบบเผด็จการหน่อยๆ
คือ ต้องสั่งตูมลงมาจากเบื้องบน ไม่ใช่ให้ลูกแถวข้างล่างเสนอขึ้นไป


ฉะนั้น ปัญหาเรื่องความพร้อม ขององค์กรในการปรับตัวเข้าสู่งระบบการ
ค้าใหม่นี้ จึงอยู่ที่ "ผู้บริหารสูงสุด" ของแต่ละองค์กรเป็นสำคัญ ซึ่งผู้นำในยุค
ใหม่ที่ดีนั้นจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น ผมก็อยากประชาสัมพันธ์ให้
ไปซื้อหน ังสือเล่มใหม่ของผมมาอ่าน คือ "e-Company.Com : กลยุทธ์ ทาง
รอด และความสำเร็จ" ซึ่งพิมพ์โดยซีเอ็ดยูเคชั่นฯ ในเล่มนี้ได้รวบรวมไฮไลต์
ต่างๆ เกี่ยวกับการทำการค้าบนเว็บให้ประสบความเร็จไว้มากมายทีเดียว...
ซึ่งล้วนแต่เป็นแก่นที่ได้รับบทเรียนมาจากการปฏิบัติ



แหล่งอ้างอิง : วัชรพงศ์ ยะไวทย.วัดความพร้อมรบ e-Business ขององค์กร.[online]http://www.thaitelecom.com/News/Techfocus/Techfocus-Generate.pl?2543/08/7-13-16-0002.txt

โดย : นาย วิชัย วิวาสุข, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545