จับตาคอมแพคหวนสู่เจ้าบัลลังก์พ

ทั้งนี้ ในอดีต คอมแพคพยายามสร้างและขยายอาณาจักรของตนเองด้วยการกว้านซื้อกิจการ “แทนเด็ม” และ “ดิจิตอล” ซึ่งทั้งคู่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตชิปสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับไฮเอนด์ จึงทำให้ ณ ขณะนั้น “คอมแพค” เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ครอบคลุมและสนองตอบความต้องการของตลาดได้ทุกประเภท
เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ยังได้รายงานว่า Michael Capellas ซีอีโอคอมแพคได้ออก Memo ภายในระบุว่า

“…คอมแพคต้องเลิกคิดได้แล้วว่า บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ชั้นนำ แต่ในทางตรงกันข้าม คอมแพคจะต้องปรับกระบวนท่าหันมาดำเนินธุรกิจการขายบริการแทน…”

ปรับจุดยืน – อย่างไรก็ตาม การปรับนโยบายของคอมแพคครั้งนี้ ชวนให้น่าสงสัยว่า เพราะเจ้านโยบายใหม่ของ Capellas ที่ประกาศยกเลิกสายการผลิตชิปและหันมาเน้นย้ำในธุรกิจเซอร์วิส หรือบริการ ซึ่งกำลังจะทำให้ “คอมแพค” กลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์แทนนี่แหละ - - คือสาเหตุที่แท้จริงสำหรับอาการป่วยของคอมแพคในครั้งนี้

ทั้งนี้ ลองมานึกดูง่ายๆ กันก็ได้ว่า ในด้านของฮาร์ดแวร์ “ไมเคิล เดลล์” อาจจะสามารถบอกคุณถึงสิ่งที่กำลังซื้อขายได้จากห้องพักของเขาเอง แต่หากเป็นธุรกิจซอฟต์แวร์จะตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพราะซอฟต์แวร์ด้วยตัวของมันเองนั้นก็แสนจะยุ่งยากและเรื่องมากอย่างที่สุด ทั้งต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์ ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคบริการมากมายอย่างที่สุดเพื่อจะปรับจุดยืนให้ได้ตามที่ต้องการ และที่สำคัญ - - การแข่งขันในโลกธุรกิจซอฟต์แวร์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเป็นบริษัทต้นตำรับซอฟต์แวร์แบบที่เรียกว่า software-oriented company ซึ่ง ณ วันนี้ ไอบีเอ็มได้กระทำและเห็นได้ชัดในแนวทางดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นไปยัง Windows 2000, Linux และระบบ Unix ที่ไอบีเอ็มพัฒนาขึ้น ตลอดจน AIX

ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจเลยที่หนึ่งในคำถามที่เกิดขึ้นในใจของแทบทุกคนก็คือ: ถ้าเช่นนั้นแล้วซอฟต์แวร์ด้านไหนล่ะที่คอมแพคได้ชื่อว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ “Expert” ที่สุด ในเมื่อจุดแข็งที่สุดของคอมแพคก็คือ Tru64 ซึ่งเป็นหนึ่งในเวอร์ชั่นของยูนิกซ์ซึ่งใช้กับชิปอัลฟาของดิจิตอล แต่ชิปนี้ก็ถูกประกาศยกเลิกการผลิตไปเสียหมดแล้ว ซึ่งก็ทำให้มีเหตุผลเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะทำให้เชื่อว่าอาจจะยังมีคนต้องการชิป Tru64 อยู่บ้าง อย่างไรก็ดี คอมแพคได้ส่งสัญญาณในการสนับสนุนลีนุกซ์ แต่ก็แทบจะมองไม่เห็นทางเลยว่า ลีนุกซ์จะทำให้คอมแพคผงาดในโลกธุรกิจซอฟต์แวร์ได้เหมือนกับไอบีเอ็มหรือฮิวเล็ตต์-แพคการ์ด แม้ว่าแน่นอนที่สุด คอมแพคจะรู้เรื่องดีในการโหลดวินโดวส์บนพีซีแต่ก็ไม่ใช่ธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูงเลย

เป็นเวลานานมาแล้วที่คอมแพคได้ต่อสู้ชนิดปากกัดตีนถีบเพื่อที่จะก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำตลาดพีซี จะมีก็เพียงความผิดครั้งเดียวที่วางเป้าหมายการตลาดพลาดไป ทำให้วันนี้ คอมแพค ต้องออกแรงอย่างหนักและอาจจะหนักกว่าเดิมหลายเท่าเมื่อปรับกลยุทธ์มาในทิศทางที่ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับความถนัดที่มีอยู่เดิม

หรือว่า คอมแพคนั้นอาจจะต้องการหวนกลับไปสู่สภาพเวอร์ชั่น Texas ของไอบีเอ็ม แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เรื่องนี้จะโทษใครที่ไหนได้ล่ะ ในเมื่อถ้าจะมองความจริงกันแล้ว ตัวบิ๊กบลู “ไอบีเอ็ม” เองก็ประสบความสำเร็จในแผนการปรับองค์กรสู่ธุรกิจเซอร์วิสที่ทำไปเมื่อหลายปีก่อน และในที่สุดก็ได้ผลเมื่อต้นปีนี้เอง อันจะเห็นได้จากหุ้นของไอบีเอ็มที่พุ่งขึ้น 33% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมา

แต่ความจริงที่จริงยิ่งกว่า ณ ขณะนี้ก็คือ หุ้นของคอมแพคร่วงระนาวไม่เป็นท่า และทำท่าจะไม่หยุด โดยขณะนี้มูลค่าการซื้อขายหุ้นคอมแพคร่วงไปแล้วกว่า 14 เหรียญ หรือคิดเป็น 8.7% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งที่ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน หุ้นของคอมแพคมีการซื้อขายที่ระดับสูงถึง 25-30 เหรียญต่อหุ้น แต่ในวันนี้คงเป็นไปได้ยากที่เราจะเห็นมูลค่าใกล้เคียงเช่นนั้นอีก


ที่มา : เซอร์กิต.\"จับตาคอมแพคหวนสู่เจ้าบัลลังก์พีซี\".[online]available.URLhttp://technology.mweb.co.th/highlight/7182.html 20/08/44

โดย : นาย ชาตรี กล่อมสุวรรณ์, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีฯ, วันที่ 15 สิงหาคม 2545