เทคโนโลยีพัฒนาหรือหายนะ

                             

                               เทคโนโลยีพัฒนาหรือหายนะ

ณ ปัจจุบันพลวัตทั้งด้วยตัวของมันเองและผลตามของมันคือ  เทคโนโลยี  ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีจึงเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่น่าสนใจเท่าๆกับน่าสะพรึงกลัว  เชื่อได้ว่ามีการปิดบังเทคโนโลยีไว้โดยประเทศหรือองค์การที่เป็นเจ้าของเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน  ความปลอดภัยหรือเพื่อในการครอบงำผู้อื่นหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม  ทำให้การประจักษ์ในเทคโนโลยีเป็นไปด้วยความจำเป็นของเจ้าของเทคโนโลยี จึงไม่แปลกอะไรที่คนจำนวนมากจะแตกตื่นไปกับเทคโนโลยีต่างๆ  ซึ่งผสมผสานกันอย่างกลมกลืนสู่เทคโนโลยีสารสนเทศจนเกิดสิ่งที่เรียกก้นว่าโลกาภิวัฒน์  หลายคนมองว่านี่คือโลกหรือสังคมที่ไร้ขอบเขตเนื่องจากระยะทาง ระยะเวลาและสถานที่อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิสัมพันธ์หมดความหมายลงเรื่อยๆ  แบบแผนความสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงหรือเกิดแบบใหม่ขึ่น  เริ่มตั้งแต่จดหมายอิเล็กทรอนิค  e-mail,e-learning,e-library,e-book,eoffice  ฯลฯ  การค้าขายที่ต้องอาศัย  locatioืืืืn มาสู่ e-business  สินค้าตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบถูกนำมาขายบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แทน  ตัวอย่างของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมไม่ใช่สังคมในความหมายเดิม  องค์กรประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ  ธนาคาร  ตลาด  มหาวิทยาลัย  ได้เกิดองค์การที่มองไม่เห็นหรือ  องค์์การเสมือน  ซ้อนกับองค์การที่มองเห็นซึ่งทำหน้าที่ไม่ได้แตกต่าง  บางส่วนทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ

ทฤษฎีการบริหารการจัดการที่ใช้กันมาตั้งแต่หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงทุกวันนี้จะถูกกล่าวถึงในความหมายบนสมมุติฐานใหม่เนื่องจากหลักการต่างๆจะเปลี่ยนแปลง  เช่น  ความสัมพันธ์แบบสายการบังคับบัญชาจะลดลงและหายไป  แต่จะเกิดความสัมพันธ์แบบเครือข่าย  ระหว่างระบบแทนที่คนและองค์การในที่สุด

สิ่งเหล่านี้จะมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างทางสังคม  ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน  คือครอบครัวขึ้นไป  การพัฒนาของเทคโนโลยีทุกสาขาอันเป็นที่รู้กันดังกล่าวมานี้โดยผิวเผินแสดงการพัฒนาของเทคโนโลยี  แต่ถ้าพิจารณาให้ดีการค้นพบ การเรียนรู้  การรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้เกิดพร้อมกันโดยเสมอภาค  และไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องเผยแพร่เป็นวิทยาทาน  เพราะมันเป็นสิทธิทางปัญญา  และการรักษาความไม่เสมอภาคทางปัญญานี้เท่านั้นจึงจะทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด  และในการทำสงคราม  ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ  ต้องมีผู้พ่ายแพ้หรือถูกครอบงำทางเศรษฐกิจ  และผู้ที่ถูกทำลายล้าง

หากเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่พัฒนา  การพัฒนานั้นควรเป็นไปอย่างเสมอภาคทัดเทียมโดยไม่แตกต่างกันจนเกินไปใช่หรือไม่  หรือการพัฒนาของเทคโนโลยีจะนำไปสู่หายนะของมนุษย์ชาติกันแน่



แหล่งอ้างอิง : เมธี ฤทธิไธสง. \"เทคโนโลยีพัฒนาหรือหายนะ\". สีมาจารย์ วารสารวิชาการสถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ปีที่16,ฉบับที่32 (2544) หน้า13-16

โดย : นางสาว พจนีย์ เครื่องสาย, รภ.เพชรบุรีฯ, วันที่ 15 สิงหาคม 2545