ธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในยุคที่ 3

ไดนามิก-อีบิสซิเนส คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับการบริการโปรแกรมผ่านเว็บ (Web Services) อย่างไร บทความฉบับนี้ได้นำเสนอเนื้อหาวิวัฒนาการของอีบิสซิเนส ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หลักการ และตัวอย่างของไดนามิก-อีบิสซิเนส และสถาปัตยกรรมของการบริการเว็บ (Web Services)

วิวัฒนาการของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

แนวคิดหลักของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจโดยใช้ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง วิวัฒนาการของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้เคลื่อนตัวผ่านยุคสำคัญไปแล้ว 2 ยุค กล่าวคือในยุคแรก บริษัทต่าง ๆ นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะสแตติก (Static) โดยที่ข้อมูลต่าง ๆ ได้รับการออกแบบและกำหนดให้อยู่ในโครงสร้างนิ่งและไม่เปลี่ยนแปลง เว็บเหล่านี้ถูกจัด เก็บในฟอร์แมตของ HTML เป็นหลัก ข้อมูลที่เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ได้รับการติดต่อผ่านทางโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) เพื่อนำข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มาแสดงผลผ่านทางเบราเซอร์ ส่วนเว็บไซด์ในยุคที่ 2 เป็นยุคที่เว็บมี การเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูล และการประมวลผล ตัวอย่างเช่น มีการนำเสนอข้อมูลแบบแคตตาล็อกออนไลน์ ในช่วง หลายปีที่ผ่านมาเป็นยุคที่สองของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการสร้างเว็บที่มีโปรแกรมระบบการสั่ง สินค้าและระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ที่สามารถเชื่อมต่อทั้งส่วนกิจกรรมหน้าร้าน (Front-ends) กับส่วนที่เป็นกิจกรรม หลังร้าน (Back-ends) ของบริษัท บริษัทอนุญาตให้ลูกค้าสามารถเข้ามายังเว็บไซด์ของบริษัทเพื่อดูหรือตรวจสอบสินค้า ที่สั่งได้โดยตรง ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และอำนวยความสะดวกต่อลูกค้ามากขึ้น ในยุคที่สองนี้ กล่าวได้ว่า เป็นการทำธุรกิจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ขายเป็นสำคัญ (Vendor-centric) กล่าวคือ ผู้ขายสามารถดำเนิน กระบวนการภายในของตนเองอย่างอัตโนมัติ และเชื่อมโยงกระบวนการเหล่านี้กับอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการกับลูกค้าของ บริษัท

หลักการของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไดนามิก

เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคที่สามของการวิวัฒนาการของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขายได้ขยายคุณประโยชน์ของ การดำเนินการแบบอัตโนมัติไปสู่ลูกค้า ผู้ขายไม่เพียงนำเสนอข้อมูลไปยังลูกค้าโดยตรงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความสะดวก สบายให้กับลูกค้ามากขึ้นด้วยการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสาร เรียกใช้งานบริการและโปรแกรม จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ขายโดยตรง เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น กิจกรรมเหล่านี้ จะดำเนินการภายใต้การควบคุมของกฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่ได้กำหนดไว้
ตัวอย่างเช่น เมื่อแอพพลิเคชั่นของลูกค้าได้รับข้อมูลการปรับปรุงราคาสินค้าอัตโนมัติในรูปแบบ (Format) ที่ เหมาะสมจากแอพพลิเคชั่นของผู้ขายเข้าสู่ระบบของลูกค้า ข้อมูลราคาสินค้านี้สามารถส่งต่อไปยังลูกค้าของลูกค้าได้ ขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นของลูกค้าที่มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลราคาสินค้านี้ก็จะดำเนินการกับข้อมูลตามกฎเกณฑ์ทา ธุรกิจที่ได้กำหนดไว้ กฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่กล่าวถึงนั้น ได้ก่อให้เกิดชุดของตัวแปรที่มีผลต่อการทำงานของแอพพลิเคชั่น โดยตรง
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นตัวอย่างธุรกิจที่ใช้แอพพลิเคชั่นช่วยในการติดตามและควบคุมสินค้าคงคลัง เมื่อสินค้ามี จำนวนลดลง แอพพลิเคชั่นของระบบติดตามและควบคุมสินค้าคงคลัง จะดำเนินการตรวจสอบราคาสินค้านั้น ๆ จาก ซัพพลายเออร์ต่าง ๆ โดยใช้สัดส่วนหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ราคาและค่าใช้จ่ายต่ำสุด) แต่ใน ขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นของระบบติดตามและควบคุมสินค้าคงคลัง อาจจะทำการแบ่งแยกการสั่งซื้อสินค้าครั้งนี้ออก เป็นสองรายการ หากมีสภาวการณ์บางอย่างเกิดขึ้น โดยที่รายการสั่งซื้อแรกมีราคาสูงกว่า แต่ต้องการให้สามารถจัดส่ง ได้รวดเร็วที่สุด ทำให้สินค้าในรายการสั่งซื้อนี้ราคาสูง เพื่อจะนำมาชดเชยสภาวการณ์ขาดแคลน สำหรับในรายการสั่งซื้อ ต่อไปจะดำเนินการสั่งซื้อตามปกติไปยังซัพพลายเออร์ที่มีราคาถูกที่สุด ตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าแอพพลิเคชั่น ของระบบติดตามและควบคุมสินค้าคงคลัง จะตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ตามกฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่ได้กำหนดไว้นั่นเอง
ตัวอย่างทั้งสองข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเชื่อมโยงสารสนเทศของธุรกิจข้ามองค์กร ในยุคที่ 3 ซึ่งกล่าวได้ว่ามาถึงจุดที่เป็น "ไดนามิก-อีบิสซีเนส" ไดนามิก-อีบิสซิเนสจะมุ่งความสนใจไปยังการยกระดับโครงสร้าง พื้นฐาน และการบูรณาการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบเชื่อมโยงธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business (B2B)) โดยการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานบนอินเตอร์เน็ต และโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ไดนามิก-อีบิสซิเนสเกิดขึ้นโดยมีความมุ่งหวังว่าธุรกิจที่ดำเนินการผ่านทาง อินเทอร์เน็ตจะสามารถทำการติดต่อสื่อสารกันแบบอัตโนมัติ โดยเป็นการติดต่อกันระหว่างโปรแกรมกับโปรแกรม (P2P) หรือระหว่างแอพพลิเคชั่นกับแอพพลิเคชั่น (A2A)
    ต่อไปนี้เป็นหลักการพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการความยุ่งยากซับซ้อนของการบูรณาการดำเนินธุรกิจแบบ B2B

  1. การรวมหรือการบูรณาการของซอฟต์แวร์ต่างระบบกันนั้น จะต้องอนุญาตให้แต่ละระบบเหล่านี้มีความ เป็นอิสระจากกัน (Loosely Coupled)
  2. อินเทอร์เฟสทางด้านการบริการของซอฟท์แวร์ที่จะนำมาทำการบูรณาการ ควรจะเผยแพร่สู่สาธารณชน และเปิด โอกาสของการเข้าถึงได้ง่าย
  3. เมสเสจ (Message) ที่ใช้ติดต่อกันของการทำงานแบบโปรแกรมกับโปรแกรม (P2) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน เปิดบนอินเทอร์เน็ต
  4. แอพพลิเคชั่นสามารถสร้างได้จากการใช้ซอฟท์แวร์คอมโพเน้นท์ (Software Component) จากภายนอกองค์กร โดยยึดตามแนวทางการดำเนินธุรกิจหลักขององค์กร
  5. แหล่งซอฟต์แวร์คอมโพเน้นท์ (Software Component) ที่หาได้ง่าย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มคุณสมบัติ ส่วนตัวของกระบวนการทางธุรกิจ
  6. การนำซอฟต์แวร์จากภายนอกองค์กรกลับมาใช้ใหม่ ช่วยให้เกิดการลดต้นทุนและ/หรือช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการบริหารแก่ลูกค้า
  7. ซอฟต์แวร์สามารถขายเป็นบริการได้

การที่ไดนามิกอีบิสซิเนสเป็นจริงได้ ต้องมีสถาปัตยกรรมพื้นฐานและมาตรฐานอินเทอร์เน็ตแบบเปิดเป็นตัวสนับสนุน
    สถาปัตยกรรมของธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไดนามิก

การพัฒนาระบบธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจจะใช้สถาปัตยกรรมการบริการในลักษณะที่เรียกว่า "Service- Oriented Architecture" (SOA) เป็นแนวคิดเบื้องต้น ระบบและแอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ในโลกของธุรกิจที่ใช้งานใน ปัจจุบันเป็นแอพพลิเคชั่นและระบบย่อยที่ถูกสร้างขึ้นให้มีการทำงานที่ต้องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น (Tightly Coupled) การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในระบบย่อยหรือแอพพลิเคชันใด ๆ จะมีผลกระทบกับทั้งระบบ ซึ่งส่งผลให้การบำรุงรักษา มีต้นทุนที่สูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นข้อจำกัดในการเชื่อมต่อกับระบบของคู่ค้าอื่น ๆ SOA ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่ได้เกิดขึ้นมา นานแล้ว ซึ่งอยู่ใน่วนนหนึ่งของแนวคิดทางการออกแบบระบบแบบกระจายศูนย์ (Distributed computing concepts) SOA เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในขณะที่แนวคิดอื่น ๆ นั้นประสบความล้มเหลว การพัฒนา SOA นั้นทำบนมาตรฐานเปิด ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำ เช่น บริษัท ไอบีเอ็มและบริษัท ไมโครซอฟต์ เป็นต้น และบริษัทเหล่านี้ยังได้ร่วมมือกันรับรองมาตรฐานอย่างเช่น UDDI และ WSDL ซึ่งรายละเอียดจะได้กล่าวถึงต่อไป

SOA มีส่วนประกอบหลักสามส่วนคือ ผู้ให้บริการ (Service provider) ผู้ขอบริการ (Service requester) และ ตัวแทนของผู้ให้บริการ (Service broker) ซึ่งส่วนประกอบหลักทั้ง 3 ส่วนนี้ติดต่อถึงกันโดยใช้ฟังก์ชันพื้นฐาน คือ การประกาศ (publish), การค้นหา (find) และการเรียกใช้ (bind) ฟังก์ชันทั้งสามมีการทำงานดังนี้คือ ผู้ให้บริการ (Service provider) ทำการประกาศ (publish) บริการไปยังตัวแทนของผู้ให้บริการ (Service broker) หรือที่อาจเรียกว่า "ไดเรคทอรี่ของบริการ" ในขณะที่ผู้ขอบริการ (Service requester) จะทำการค้นหา (find) บริการที่ต้องการ และเมื่อพบ เห็นก็จะทำการเรียกใช้ (bind) ไปยังผู้ให้บริการนั้น สถาปัตยกรรม SOA

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์

แนวคิดของ SOA ที่กล่าวมา ถูกนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐานของไดนามิก-อีบิสซิเนส เพื่อทำความเข้าใจถึง วิธีการพัฒนาว่าต้องทำอย่างไร ปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาไดนามิก-อีบิสซิเนส ขึ้นอยู่กับมาตรฐานเปิดบนอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ กลยุทธ์ของไดนามิก-อีบิสซิเนส อาศัยเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดจากการทำงานของนักวิจัยและที่ปรึกษาจากบริษัท ต่าง ๆ

    ต่อไปนี้เราจะมาดูถึงเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาไดนามิก-อีบิสซิเนส

  • XML (The Extensible Markup Language 1.0) เป็นภาษา Markup ที่เป็น text-based ซึ่งทำให้เป็น มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ และกำหนดมาตรฐานของ XML คือ World Wide Web Consortium (W3C) ความแตกต่างระหว่าง XML กับ HTML คือ HTML ถูกนำมาใช้ในการสร้าง เว็บเพจ ที่สามารถแสดงผลได้โดยโปรแกรมเบราวเซอร์ แต่ XML จะใส่ tags ได้อย่างอิสระ แล้วทำการส่ง XML ชุดนี้ไป ประมวลผลยังแอพพลิเคชั่นใด ๆ ที่สามารถใช้ข้อมูลใน XML นี้
  • SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็น XML-based โปรโตคอล (lightweight protocol) สำหรับ การแลกเปลี่ยนข้อมูลในสภาวพแวดล้อมแบบกระจายศูนย์ (decentralized, distributed environment) SOAP ได้ กำหนดเมเสจจิ้งโปรโตคอล (Messaging Protocol) ระหว่างผู้ขอบริการ (requestor) กับผู้ให้บริการ (provider) เช่น ผู้ขอบริการสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ให้บริการโดยใช้ RMI (Remote Method Invocation) ตามวิธีการของ โปรแกรมแบบออปเจ็ค บริษัทไมโครซอฟท์, ไอบีเอ็ม, โลตัส, ยูสเซอร์แลนด์ (UserLand) และ ดีเวลลอปเปอร์เมนเตอร์ (DeveloperMenter) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานของ SOAP ขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีบริษัทอีก 30 กว่าบริษัทเข้าร่วมและ จัดตั้งเป็น W3C XML Protocol Workgroup ขึ้น SOAP ได้กำหนดรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสารแบบกระจายขึ้นโดย การพัฒนา SOAแม้ว่า SOA จะไม่ได้กำหนดเมจเสจจิ้งโปรโตคอล (Messaging Protocol) ไว้ แต่ SOAP ได้ถูกกำหนด ให้เป็น Services-Oriented Architecture Protocol เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมันได้ถูกใช้ในการพัฒนา SOA อย่างแพร่ หลายแล้วนั่นเอง จุดเด่นของ SOAP ก็คือเป็นโปรโตคอลที่เป็นกลาง กล่าวคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของและเป็นโปรโตคอล ที่ทำงานกับโปรโตคอลอื่นหลายชนิด ดังรูปที่ 3 การพัฒนาก็อนุญาตให้ทำได้อย่างอิสระตามแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการ แบบจำลองทางวัตถุ (Object model) และภาษาโปรแกรมของผู้ที่ทำการพัฒนา
  • WSDL (Web Services Description Language) เป็นภาษาที่ใช้อธิบายคุณลักษณะการใช้บริการของ Web Services และวิธีการติดต่อกับ Web Services โดยใช้ภาษา XML, WSDL เกิดจากการรวมแนวคิดของ NASSL (The Network Accessible Service Specification Language), WDS (Well-Defined Services) ของบริษัทไอบีเอ็ม, SDL (The Service Description Language) และ SCL (the SOAP Contract Language) ของบริษัทไมโครซอฟท์ ปัจจุบัน WSDL เป็นภาษา ที่อยู่ในการดูแลของ W3C (World Wide Web Consortium) ซึ่งยังไม่เป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ เวอร์ชันที่ใช้งานอยู่ใน ปัจจุบันคือ WSDL 1.1 (รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ WSDL สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.w3c.org/TR/wsdl)
  • UDDI (Universal Description, Discovery, and Integration) เป็นมาตรฐานที่ให้ชุดพื้นฐาน APIs (Application Programming Interface) ของ SOAP ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นตัวแทนของผู้ให้บริการ (Service broker) UDDI เป็นมาตรฐานที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็ม บริษัทไมโครซอฟต์ และบริษัทอารีบา (Ariba) ปัจจุบันมีบริษัทที่ร่วม กันกำหนดมาตรฐานของ UDDI มากกว่า 70 บริษัท ซึ่งมาตรฐานของ UDDI ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับ B2B interoperability (รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UDDI สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://uddi.org)

จุดกำเนิดของ Web Services

เราได้ทราบถึงรายละเอียดของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาสถาปัตยกรรม Service-Oriented ทำให้เกิด แบบจำลองของ Web Services ขึ้น
เราได้ทราบเกี่ยวกับ UDDI ว่าเป็นวิธีการมาตรฐานสำหรับจัดเก็บและรวบรวมบริการต่าง ๆ ที่ให้บริการในรูปของ Directory service และทราบเกี่ยวกับ WSDL ว่าเป็นมาตรฐานที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของการเรียกใช้บริการของ Web Services และวิธีการติดต่อกับ Web Services แต่ UDDI จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยผู้ให้บริการ (Service provider) จำนวน มาก เสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมของตนเอง แล้วเราจะต้องประกาศ (publish) บริการเหล่านี้ไปบน อินเทอร์เน็ต การให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของผู้ให้บริการ (Service providers) บนอินเทอร์เน็ตนี้ รู้จักกันใน นามของ "Web Service" กล่าวคือ Web Service คือซอฟต์แวร์คอมโพเน้นท์ (Software Component) ที่สามารถนำ มาสร้างเป็น แอพพลิเคชันสำหรับให้บริการการทำงาน ๆ หนึ่งให้แก่ผู้ร้องขอบนอินเทอร์เน็ต หรือสามารถที่จะนำ Web Service แต่ละตัวมาประกอบกันตามกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อร่วมกันทำงานในลักษณะ Interoperability รวมกันเป็น "Web Services" ซึ่งสามารถจำลองภาพการทำงานของ Web Services ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของ SOAP, UDDI และ WSDL


แหล่งอ้างอิง : ธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในยุคที่3.[online] สืบค้นได้จากhttp://www.ku.ac.th/e-magazine/march45/it/web3.html.

โดย : นางสาว ชะอ้อน เครือหวัง, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545