เทคโนโลยีจีพีเอส

การใช้เทคโนโลยีจีพีเอสสำหรับนักโทษทัณฑ์บน
เทคโนโลยีการระบุตำแหน่งหรือจีพีเอส (Global Positioning System) ได้เข้ามามีบทบาทในหลายกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ในช่วงแรกนั้นกระทรวงกลาโหมอเมริกันเป็น ผู้ริเริ่มนำระบบจีพีเอสมาใช้ในการสำรวจและค้นหาตำแหน่งคลังอาวุธของศัตรูเพื่อการทำลายในช่วงสงคราม ต่อมาได้มีการใช้งานมากขึ้นโดยนำไปใช้ในการสำรวจเส้นทางการเดินเรือ หรือการสร้างแผนที่เพื่อการระบุตำแหน่งที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาเทคโนโลยีนี้ได้แพร่หลายจนกลายเป็นระบบ ที่เข้าไปผสมผสานในอุปกรณ์ต่างๆ อีกมากมาย เช่น นาฬิกาที่ได้ติดตั้งระบบระบุตำแหน่งนี้ไว้เพื่อการติดตามค้นหาตำแหน่งของผู้ที่สวมใส่นาฬิกานั้นๆ หรือแม้กระทั่งการติดตั้งไว้ในรถแท็กซี่ที่สามารถส่งข้อมูลตำแหน่ง ที่อยู่ของรถแท็กซี่คันนั้นๆ ให้ทางศูนย์กลางรถแท็กซี่ทราบเพื่อการให้ บริการรถแท็กซี่แก่คนที่ต้องการใช้บริการที่สะดวกรวดเร็วและเพื่อความปลอดภัยของรถแท็กซี่เองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือถูกขโมย มาจนถึง ปัจจุบันเทคโนโลยีระบุตำแหน่งยังได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทในการติดตาม นักโทษที่อยู่ในช่วงของการคุมประพฤติอีกด้วย

อุปกรณ์ค้นหาตำแหน่งนี้ได้มีการทดลองใช้กับนักโทษทัณฑ์บน ซึ่งก็คือนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังแต่ยังคงอยู่ระหว่างการคุมประพฤติ โดยให้นักโทษสวมกำไลข้อเท้าระบบจีพีเอสจำนวน 1,200 คนทั่ว อเมริกา ซึ่งการใช้ระบบระบุตำแหน่งดังกล่าวเป็นหลักประกันได้ว่า นักโทษทัณฑ์บนเหล่านั้นจะถูกจับตามองทุกขณะไม่ว่าจะเดินไปไหนมาไหนก็ตาม ความจริงเคยมีข่าวนักการเมืองของไทยไปถูกจับที่อเมริกาและถูกบังคับให้ใช้กำไลข้อเท้าแบบนี้เช่นกัน

การทำงานของระบบระบุตำแหน่งจีพีเอสจากกำไลข้อเท้านั้นจะต้องทำงานประสานกัน ทั้งกล่องและกำไลข้อเท้า ดังนั้นจอห์นจะต้องพกกล่องอุปกรณ์จีพีเอสนี้ติดตัวไปด้วยทุกครั้งและห้ามอยู่ห่างจากกล่องอุปกรณ์เกิน 100 ฟุตเนื่องจากถ้าเขาอยู่ห่างเกิน 100 ฟุตจะทำให้ระบบไม่สามารถตรวจจับคลื่นที่กำไลข้อเท้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของนักโทษทัณฑ์บน นอกจากนี้ยังมีการจำกัดพื้นที่หรือบริเวณที่ไม่ให้นักโทษทัณฑ์บนเข้าไป เช่น โรงเรียน สนามเด็กเล่น และพี้นที่ที่สงสัยว่านักโทษทัณฑ์บนจะเข้าไปทำความผิดได้อีก เป็นต้น ซึ่งถ้าจอห์นฝ่าฝืนระบบก็จะแจ้งสัญญาณไปที่เจ้าหน้าที่คุมประพฤติทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถจับตัวเขากลับเข้าไปอยู่ในห้องขังได้

สำหรับหลักการทำงานของระบบระบุตำแหน่งจีพีเอสนี้จะส่งสัญญาณระบุสถานที่และตำแหน่งที่นักโทษได้ไปรวมทั้งถ้าเกิดมีการฝ่าฝืนของนักโทษทัณฑ์บนก็จะมีเสียงเตือนไปที่เครื่องติดตามตัวหรือเพจเจอร์ของเจ้าหน้าที่คุมประพฤติและเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะโทรศัพท์ไปยังเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ "โอเดสซา (Odessa)" ทางตะวันตกของเมือง "แทมปา (Tampa)" ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ส่วนกลางจะคอยเก็บข้อมูลไว้ทุกๆ 10 นาที นอกจากนี้เจ้าหน้าที่คุมประพฤติยังสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของนักโทษทัณฑ์บนที่ฝ่าฝืนกฎได้โดยการคลิกเมาส์และกดแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่านักโทษทัณฑ์บนที่ฝ่าฝืนกฎได้เดินทางหรือทำ กิจกรรมอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งถ้าเกิดกรณีนักโทษทัณฑ์บนเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น โรงเรียน เป็นต้น ทางกล่องอุปกรณ์ที่อยู่นักโทษก็จะส่งสัญญาณเตือนไปที่เจ้าหน้าที่คุมประพฤติทันทีเช่นเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง : การใช้เทคโนโลยีจีพีเอสสำหรับนักโทษทัณฑ์บน.[online]เข้าถึงได้จาก http://technology.co.th.14/5/2545

โดย : นางสาว นันธิดา ฟุ้งเฟื่อง, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ, วันที่ 15 สิงหาคม 2545