เส้นทางเทคโนโลยีโทรทัศน์
เส้นทางเทคโนโลยีโทรทัศน์ 


     


 

          เริ่มที่ยุคแรก สัญญาณภาพขาว-ดำ และเสียง (Black-White Vidio,Audio) จะผสม (mixing)เข้ากับความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ในแถบความถี่ (Band) VHF หรือ UHF แล้วส่งเข้าเครื่อง รับโทรทัศน์ของผู้ชมทางบ้าน ซึ่งคุณภาพของภาพค่อนข้างหยาบ  ไม่มีสี ไม่มีเสียง การเคลื่อนไหวเร็วกว่าภาพปกติจริง เนื่องจากจำนวนภาพ (Frame) ต่อเวลาน้อย สาเหตุเกิดจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีของอิเล็กทรอนิกส์ในสมัยนั้น 

        ต่อมาเข้าสู่ยุคของโทรทัศน์สีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของวิวัฒนาการการทำให้สถานีโทรทัศน์ขาว-ดำ เดิมส่งสัญญาณโทรทัศน์สี ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์สี ของผู้ชมทางบ้าน โดยมีข้อแม้ทางเทคนิคว่าเครื่องรับโทรทัศน์ที่เป็นขาว-ดำเดิม ต้องรับภาพสัญญาณขาว-ดำ จากเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์สีได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไข เครื่องรับขาวดำเดิมใดๆทั้งสิ้น  ยุคนี้ระบบโทรทัศน์ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ทั้งด้านความคมชัด ความถูกต้องของสี เสียง โดยสามารถรับชมระบบมาตรฐานต่างๆ ได้ทั่วโลก ที่เรียกว่า Multi System ซึ่งทุกระบบนี้เป็นระบบ Analog ซึ่งมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นได้ จึงมีการพัฒนาระบบ Digital ขึ้นมา เป้นผลให้คุณภาพของสัญญาณภาพ เสียง มุมมอง สูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคในการผลิตสัญญาณภาพ ที่เรียกว่า animation graphic picture สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวที่คล้ายกับธรรมชาติได้เหมือนจริง

                            ระบบ Digital ดีกว่า ระบบ Analog อย่างไร

             ส่วนของเทคนิคการผลิตรายการ

              * ทำให้การผิดเพี้ยนระหว่างการถ่ายโอน (Transfer) การตัดต่อ (Edit) สัญญาณภาพเสียง แทบไม่มีในทุกกระบวนการ (Process)

              * ลดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ภาพ-เสียง

              * ใช้เวลาในการถ่ายโอน ( Transfer) การตัดต่อ (Edit) น้อยลง

              * สามารถใช้เทคนิคพิเศษทั้งภาพทั้งเสียงในทุกกระบวนการการผลิตรายการ

               ส่วนของเทคนิคการรับส่งสัญญาณ

               * ทำให้ความผิดเพี้ยนในการรับส่งสัญญาณเกิดขึ้นน้อย หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้

                * ใช้กำลังส่ง (Tx.Power) น้อยลง

                * ในการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม สามารถเพิ่มจำนวนของช่องสัญญาณโทรทัศน์ (TV.Channel) ต่อช่องสัญญาณดาวเทียม (Trasponder) ได้มากขึ้น

                 * นอกจากสัญญาณภาพ เสียงแล้ว ยังสามารถส่งสัญญาณข้อมูล (Data) แนบไปได้ด้วยตามต้องการ 

              



แหล่งอ้างอิง : สมชาติ ทัศวิล.\"เส้นทาง...เทคโนโลยีโทรทัศน์\"ครบรอบ 14 ปี 11สทท.(มิถนายน-กรกฎาคม 2545):69-71.

โดย : นางสาว ฤทัยทิพย์ ประชาสุข, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545