เทคโนโลยีไฮเปร์ธรีดดิ้ง

 

 

เทคโนโลยีใหม่ของอินเทลมีชื่อว่า ไฮเปร์ธรีดดิ้ง(Hyper-Theading) สามารถแก้ปัญหา การคุยโทรศัพท์เวลาที่มีสายซ้อนเข้ามา แล้วเราต้องเลือกคุยสายใดสายหนึ่ง

วิธีการทำงานของไฮเปอร์ธรีดดิ้ง ไฮเปอร์ธรีดดิ้งใช้ประโยชน์จากการที่ระบบปฏิบัติการและเซิร์ฟเวอร์แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน มักพยายามแบ่งงานที่มาจากแอพพลิเคชั่นที่ต่างกันออกเป็นกลุ่มของคำสั่งย่อยๆ ที่แยกจากกันอยู่ แล้วแทนที่จะนำคำสั่งทั้งหมดมารวมเอาไว้เป็นก้อนเดียว ถ้าหากเป็นการทำงานของเซิร์ฟเวอร์แบบมัลติโปรเซสเซอร์แล้ว งานเหล่านี้จะถูกนำไปประมวลผลในโปรเซสเซอร์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ระบบประเภทนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเซิร์ฟเวอร์แบบโปรเซสเซอร์เดี่ยวอย่างมาก แต่ถ้าหากมีการใช้เทคโนโลยีไฮเปอร์ธรีดดิ้งแล้ว ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นจะมองเห็น อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ หนึ่งตัวเสมือนว่ามีโปรเซสเซอร์นี้สองตัวแยกจากกันอยู่ ดังนั้นโปรเซสเซอร์จึงสามารถประมวลผลงานสองงานได้พร้อมๆ กัน เทคโนโลยีไฮเปอร์ธรีดดิ้งไม่ได้บังคับให้ต้องคอมไพล์ซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่ แถมเทคโนโลยีตัวนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการ 32 บิต แบบมัลติเทรดส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อีกด้วย ขณะนี้ อินเทลกำลังดำเนินการพัฒนาเพื่อทำให้ไฮเปอร์ธรีดดิ้งใช้ประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ อย่างเต็มที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ ไดเรกทอรี่ ระบบรักษาความปลอดภัย อี-คอมเมิร์ซ ซีอาร์เอ็ม ระบบทำงานร่วมกัน ดาต้าเบส ERP/SCM ฯลฯ เป็นต้น

ไฮเปอร์ธรีดดิ้งมีประโยชน์ต่อธุรกิจดังต่อไปนี้ ธุรกิจของคุณจะทำงานได้เร็วกว่า ซึ่งสร้างความได้เปรียบในเรื่องการแข่งขันได้เป็นอย่างดีใช้ทรัพยากรในระดับซีพียูได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ระบบรองรับการทำงานของพนักงาน ได้มากขึ้นกว่าเดิม เทคโนโลยีไฮเปอร์ธรีดดิ้งที่ใช้กับสถาปัตยกรรม Intel NetBurst ให้ผลการทำงานที่โดดเด่นและมีสมรรถนะที่สามารถรองรับภาระการทำงานในลักษณะอี-บิสิเนส และเซิร์ฟเวอร์ในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ได้อย่างดีเยี่ยม

                    



แหล่งอ้างอิง : เอกรัศมี อวยสินประเสริฐ. เทคโนโลยีไฮเปอร์ธรีดดิ้งของอินเทล ไม่หยุดแค่เพียงกิกะเฮิร์ตซ์อีกต่อไป . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttp://technology.mweb.co.th. 23/4/2545.

โดย : นางสาว นงเยาว์ สังวาสี, ราชภัฎเพชรบุรีฯ, วันที่ 15 สิงหาคม 2545