ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์
|
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความมาตรฐานใหม่ "ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์"
มาตรฐานใหม่ "ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์" เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลุ่มบริษัทชั้นนำด้านการรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต จับมือหน่วยงานในการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรม เห็นพ้องตรงกันเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่ ในการตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอกสารที่ส่งผ่านทางเวบไซต์
สมาคมเวิลด์ ไวด์ เวบ (The World Wide Web Consortium) หรือดับบลิว 3 ซี หน่วยงานกำหนดมาตรฐานในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนายทิม เบอร์เนอร์ส ลี นักประดิษฐ์เวบ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีการตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในการแบ่งปันเอกสาร กรอกเอกสาร ค้าขายภาพ หรือสื่ออื่นๆ
กระนั้น ดับบลิว 3 ซี เตรียมนำซอฟต์แวร์ "มาตรฐานระเบียบการและความสัมพันธ์ในลายเซ็นเอ็กซ์เอ็มแอล" (XML-SignatureSyntax and Processing standard) มาใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ของบริษัทต่างๆ อาทิ ไมโครซอฟท์, ไอบีเอ็ม, เวอริไซน์ และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอีกจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจสอบไคร์พโทกราฟี (cryptography) หรือศาสตร์เกี่ยวกับการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล
เทคนิคดังกล่าว ช่วยให้ผู้รับข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต สามารถระบุตัวผู้ส่ง และมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ
"ไมโครซอฟท์ ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้มาโดยตลอด และเรามีความภูมิใจที่จะประกาศว่า ลายเซ็นเอ็กซ์เอ็มแอล ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิช่วล สตูดิโอ ดอท เน็ต และ ดอท เน็ต เฟรมเวิร์ค" นายโรเบิร์ท วาห์บี ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริการเวบเอ็กซ์เอ็มแอล ของไมโครซอฟท์ กล่าว
บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ ได้นำเอาเทคโนโลยีเกี่ยวกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ มาใส่ไว้ในเครื่องมือการเขียนโปรแกรมของวิช่วล สตูดิโอ ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
นายวาห์บี กล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการของไมโครซอฟท์ มีความเชื่อมั่นในเรื่องการเก็บรักษาความลับมากขึ้น
ในปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ พยายามผลักดันให้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ จะมีศักยภาพนำไปใช้งานในธุรกิจหลากหลายประเภท ที่มีการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่กระแสการยอมรับเทคโนโลยีนี้ เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากเทคโนโลยีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แบบเก่า ยังขาดความยืดหยุ่น
สำหรับเทคโนโลยีใหม่นี้ ไปไกลกว่าเทคโนโลยีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตรงที่จะยอมให้ลายเซ็นดังกล่าวใช้งานร่วมกับข้อมูลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการเซ็นเท่านั้น
การประยุกต์ใช้งาน
นอกจากนี้ เทคโนโลยีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถนำ มาใช้กับงานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการส่งผ่าน ไปยังผู้รับหลายๆ คน
ตัวอย่างเช่น การยื่นขอจำนองหลักทรัพย์ ซึ่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกส่งไปยังผู้รับหลายๆ ระดับ โดยที่แต่ละระดับ จะสามารถเปิดอ่าน ข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น โดยขั้นตอน เริ่มจากผู้ยื่นขอจำนอง เซ็นลายเซ็น อิเล็กทรอนิกส์ในแบบฟอร์ม ซึ่งอยู่ในรูปงานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนจะส่งต่อไปยังนายหน้า ซึ่งจะเปิดอ่าน ดำเนินการตามขั้นตอน ลงชื่อด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนจะส่งต่อไปยังธนาคาร เป็นขั้นตอนสุดท้าย
มาตรฐานใหม่นี้ สามารถใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง ไม่เฉพาะแค่ตัวอักษรในลายเซ็นเท่านั้น หากยังรวมไปถึงกราฟฟิก และภาพ ที่บันทึกในรูปแบบการบีบอัดข้อมูล อย่างเช่น "บิทแมพ" หรือ "เจเป็ก" ซึ่งใช้ในงานส่งข้อมูลภาพอิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่ ลายเซ็นเอ็กซ์เอ็มแอลนั้น ได้รับการจัดทำขึ้นสำหรับทำงานคู่กับซอฟต์แวร์เอ็กซ์เอ็มแอลที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ สามารถนำเอาเทคโนโลยีการตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ไปใส่ในโปรแกรมใหม่ๆ ที่พวกเขาพัฒนาขึ้น
ลายเซ็นเอ็กซ์เอ็มแอล ถือเป็นซอฟต์แวร์อินเทอร์เน็ตรุ่นล่าสุด ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้การจัดพิมพ์ข้อมูลบนเวบไซต์ มีความยืดหยุ่น และได้รับการยอมรับมากกว่าซอฟต์แวร์ถอดรหัสที่ใช้กันอยู่ใน เอชทีเอ็มแอล หรือภาษาเขียนโปรแกรม ซึ่งใช้ในการเขียนเวบไซต์ส่วนใหญ่
สำหรับโครงการจัดทำมาตรฐานลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือ คณะทำงานเอ็กซ์เอ็มแอล ซิกเนเจอร์ เป็นการร่วมมือกันระหว่างดับบลิว 3 ซี และหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ อินเทอร์เน็ต เอนจิเนียริง ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
|
|
แหล่งอ้างอิง : http://www.thaitelecom.com/News/Techfocus/Techfocus-Generate.pl?2545/03/5-06-31-0001
|
|
โดย : นาย ณรงค์ อินตาพวง, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545
|