กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย

          จุดเริ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย

            เริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 "คณะกรรมการเทคโนโลยีีีีสารสนเทศแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กทสช"

            กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่

             1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์    เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีการวางนดยบายและกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ

              2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคลโดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี

               3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  เพื่อรองรับแนวนโยบายพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนและการกระจายสารสนเทศให้เท่าเทียมกันและทั่วถึงทั้งประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้

               4.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล  เพื่อวางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคล เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ กำหนดสิทธิให้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลที่อาจถูกนำไปประมวลผลเผยแพร่ในทางมิชอบซึ่งจะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ

               5.กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในยุคคอมพิวเตอร์  เป้นการกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล ระบบเครือข่าย

                6.กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  


ที่มา : เยาว์ รักษ์สถาปัตย์.\"กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย\"Industrial.8,90.(พฤศจิกายน 2544):133-136

โดย : นางสาว นางสาวทัศนัย ประชาสุข, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545