เลียนแบบระบบชีววิทยา

เลียนแบบระบบชีววิทยา ด้วยโปรแกรม Gepasi

      ปัจจุบันนักวิทยศาสตร์และวิศวกรชีวเคมีต่างก็ให้ความสำคัญและพยายามที่จะจัดการกระบวลการสร้างและสลายของเซลล์โดยอาศัยศาสตร์ด้านชีววิทยาโมเลกุลสมัยใหม่ เพื่อที่จะเข้าใจถึงการทำงานของเซลล์ในระดับเครือข่าย หรือที่เรียกว่า เน็ตเวิร์ก มากกว่าที่จะศึกษาการทำระบบของเซลล์แบบแยกส่วนอย่างในอดีต จึงทำให้เกิดการวิเคราะห์ระบบชีววิทยาของเซลล์ ในหลายระดับชั้นด้วยเทคนิคที่ทันสมัย เพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการสร้างเซลล์ พันธ์วิศวรรมที่ทำหน้าที่เป็นดั่งโรงงานสังเคราะห์ชีวภัฑ์ให้กับมนุษย์ตามที่ต้องการได้ รายระเอียอต่างๆของศาสตร์ด้านวิศวกรรม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในแทบทุกสาขาวิชา และในวิถีชีวิตของคนเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีนักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้พยายามช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาและค้นคว้าองคืความรู้ใหม่ทางวิศวกรรมกระบวนการสร้างและสลายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงประยุกต์กันอย่างจริงจัง และในที่สุดก็เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยของศาสตร์ชั้นสูงดังกล่าวไว้ผู้เขียนจึงได้เอามาแนะนำเอาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นทั้งให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีใหม่ทั่วไป และใช้กับนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจะได้นำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของโครงการวิจัยได้อีกทางหนึ่ง

       ซอฟต์แวร์ที่จะนำมาเสนอนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Gepasi จัดเป็นฟรีแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://gepasi.dbs.aber.ac.uk/softw/gep3dwld.html ปัจจุบันได้พัฒนามาจนกระทั่งเป็นเวอร์ชัน3 แล้ว โดยทั่วไป Gepasi เป็นโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัมนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการจำลองและการเลียนแบบของระบบชีววิทยาทั่วไปโดยเฉพาะ กล่าคือ สามารถใช้เลียนแบบถึงจนลพลศาสตร์ของปฏิกริยาชีวเคมี และใช้เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ตลอดจนสามารใช้ในการหาสภาวะที่เหมาะสมของแบบจำลอง

       Gepasi เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสดวกแก่ผู้ใช้เป็นอย่างยิ่งสามารถแปลงสมการทางเคมีของปฏิกรยาชีวเคมีให้เป็นรูปแบบทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย และสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้เพื่องานวิจัยโดยตรง แต่เพราะว่ามีความสดวกและเข้าใจง่าย จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้เป็นสื่ออุปกรณ์ในด้านการเรียนการสอนได้ดียิ่งอีกด้วย เหมาะสำหรับอาจารย์ที่ต้องรับผิดชอบสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่สามารถประยุกต์เอาซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาช่วยทำให้ารเรียนไม่น่าเบื่อและมีความสนุสนานต่อผู้เรียนได้

 

 



แหล่งอ้างอิง : สาโรจน์ ศิริศันสนียกุล. เลียนแบบระบบชีววิทยา ด้วยดปรแกรม Gepasi. ส่งเสริมเทคโนโลยี. 29,164 (สิงหาคม-กันยายน 2545) : 103-106.

โดย : นาย เสน่ห์ ศรีฤทธิ์, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545