อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
  

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยปัจจัยที่ 7 ของชาวศิวิไลซ์

คำตอบว่าประเทศไทยมีอินเตอร์เน็ตใช้เมื่อใด?อาจไม่ชัดเจนเสียทีเดียวเพราะหากให้คำจำกัดความทั้ง 2 แบบแล้วจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจะต่างกันไปด้วย ศาสตราจารย์ จุริส ไรน์เฟลด์จากมหาวิทยาลัยวูลองกองของประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้แนะนำให้โครงการ IDP (The International Development Plan) พิจารณาและให้ความช่วยเหลือประเทศไทยมายังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งต่อมาติดตั้งระบบอีเมล์ขึ้นเพื่อต่อกับมหาวิทยาลัย เมลเบิร์นในออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงกลายเป็นประตู(Gateway)ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลีย ต่อมาความช่วยเหลือดังกล่าวได้ขยายจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปยังสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT)และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยนายโรเบิร์ด เอลซ์ วิศวกรชาวออสเตรเลียเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการรติดต่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และอาศัยความเป็นปรมาจารย์ด้านเทคนิคได้ทำการติดตั้งระบบอีเมลืให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้ติดต่ออีเมล์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นได้ และนั่นเป็นเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกภายใต้ความช่วยเหลือดังกล่าวมีชื่อว่า “Sritrang”(ศรีตรัง)

กระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน 2531 อีเมล์ฉบับแรกระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นก์เกิดขึ้นสร้างความตื่นเต้นให้กับบุคคลผู้ร่วมบุกเบิกในขณะนั้นเป็นอย่างมาก



แหล่งอ้างอิง : โคฟเวอร์ สตอรี่. “อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยปัจจัยที่ 7 ของชาวศิวิไลซ์”. เนคเทค. 9:46(พฤษภาคม-มิถุนายน

โดย : นางสาว น.ส.จุฑามาศ รักชาติ, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 14 สิงหาคม 2545