ดับบลิวแลน-ไอพีเวอร์ชั่น 6
ดับบลิวแลน-ไอพีเวอร์ชั่น 6 เทคโนโลยีที่ไทยต้องการ

ดับบลิวแลน (WLAN - Wireless LAN) หรือเครือข่ายประจำพื้นที่แบบไร้สาย จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ ยิ่งของสังคม ที่ต้องการความสะดวกในการสื่อสารทุกรูปแบบ แบบเคลื่อนที่ติดตัวผู้ใช้ไปทุกหนทุกแห่ง ทั่วโลก เช่นกัน ความเจริญก้าวหน้าการยอมรับนวัตกรรมใหม่มาใช้กันอย่างแพร่หลาย จะต้องผ่านขบวนการวิวัฒนาการ ที่การเริ่มต้น ที่บางทีการใช้ในวงจำกัด มีการขยายต่อไปในระดับเมือง ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และมีใช้พร้อมกันทั่วโลก ดับบลิวแลน หรือเครือข่ายประจำพื้นที่แบบไร้สาย กำลังเริ่มทดลองใช้ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นมีความพร้อมทุกด้าน ในด้านเทคโนโลยี เงินทุน ผู้ให้บริการ และผู้บริโภคญี่ปุ่น ที่มีความกระตือรือร้นในการยอมรับเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาจสอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ รูปแบบของการดำเนินชีวิต (life style) และภาวะเศรษฐกิจ โดยอดีตที่ผ่านมา พบว่า ขบวนการในการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ (Adoption Process) ใช้ระยะเวลาเร็วมาก เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก้าวหน้าไปไกลมากตามไปด้วย นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังมีสายตาที่ยาวไกล สามารถมองศักยภาพในการให้บริการกับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่าง เทคโนโลยีเครือข่ายประจำพื้นที่แบบไร้สาย จะนำไปใช้ในสนามบิน สถานีรถไฟ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ในตึกสูง ศูนย์การค้า หมู่บ้านจัดสรร บนขบวนรถไฟ ฯลฯ เป็นต้น สถานที่ดังกล่าว จะมีประชากรไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสังคมญี่ปุ่น เกือบจะเป็นสังคมเคลื่อนที่อย่างเต็มตัว ศักยภาพในการใช้เครือข่ายประจำพื้นที่อย่างไร้สาย จะมีมากยิ่งขึ้น และถ้าหากการทดสอบพบว่า เครือข่ายดังกล่าว เพิ่มประสิทธิภาพในโทรคมนาคม โอกาสที่ผู้ประกอบการในญี่ปุ่น จะเพิ่มเสริมบริการเพิ่ม ต่อไปได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการที่กำลังทดสอบอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทางโทรคมนาคม และที่สำคัญคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนั้น มียูเซ็น บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในวงการบันเทิง และอิเล็กทรอนิกส์ คือ โซนี่ ก็เข้ามาร่วมด้วยกับ แจแปนเทเลคอม และผู้ประกอบการของยุโรปสองรายได้แก่ โนเกีย และอีริคสัน เทคโนโลยีที่ใช้ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ โดยใช้ 5 G H2 band ใน IH'02 และ 2.4-GH2 band ใน 2H'02 ของเอ็นทีเทคโนโลยีจะเป็น advanced wireless access สำหรับอีริคสันจะทดลองใช้กับ PDA (personal digital asistance) ของ Hamdspring โดยผ่านเทคโนโลยี Biuetooth ซึ่งอาจจะมีขีดจำกัดของจำนวนที่ใช้ PDA มีจำนวนน้อยแต่ในทาง ที่กลับกัน ถ้าการให้บริการประสบความสำเร็จ โอกาสของการเจริญเติบโต ของ PDA ในญี่ปุ่นจะมีเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวเป็นทวีคูณ ขณะเดียวกัน เพื่อพร้อมในการรองรับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ไปพร้อมกับการใช้บริการ โทรคมนาคมอย่างอื่น ญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีทาง IP (Internet Protocal) รุ่นใหม่คือ IPv6 (version 6X หรือรุ่นหก จากเดิมเป็นรุ่น 4 หรือ IPv4 เนื่องจากรุ่น 4 มีขีดจำกัดดในการให้ address และในยุคใหม่ คือยุคอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ ที่กำลังเสริมด้วย เครือข่ายประจำพื้นที่แบบไร้สาย จำเป็นต้องเพิ่ม ความสามารถในการรองรับของ address ที่จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นอย่างมาก รุ่นที่ 4 ใช้ 32-bity address ที่จะให้ชื่อ address ได้รวมกันประมาณสี่พันล้าน แต่ถ้าใช้รุ่น 6 จะเป็นขนาด 128-bot address แทบจะเรียกได้ว่า แทบจะไม่มีขีดจำกัด (ประมาณ 340 sextrillion) เชื่อกันว่าจะแก้ปัญหาการขาดแคลนได้ การพัฒนาระบบโทรคมนาคม จะต้องปรับปรุง เพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ และต้องมีสายตา อันยาวไกลที่จะมองออกว่า ประเทศไทยยังขาดอะไร เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ และจะต้องสามารถมองออกถึงศักยภาพต่างๆ ของการนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เริ่มใช้ IPv6 แล้ว ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีการให้บริการถึง 31 ราย และในเกาหลีถึง 12 ราย นอกจากนั้นแล้ว IPv6 ยังเพิ่มสมรรถนะในการรักษาความปลอดภัย คุณภาพของการให้บริการ ประสิทธิภาพของการบริหารข้อมูล และความสามารถในการจัดรูปแบบของตัวเอง ถ้าต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ลองเข้าไปดูใน www.apnic.net ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยต้องการทั้ง WLAN และ IPv6




แหล่งอ้างอิง : ดับบลิวแลน-ไอพีเวอร์ชั่น 6 เทคโนโลยีที่ไทยต้องการ. [online] available URL : http://www.thaitelecom.com/News/Techfocus/Techfocus-Generate.pl?2545/07/2-09-19-0002. 14/08/2545

โดย : นาย ชวลิต กิ่งบัวหลวง, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 14 สิงหาคม 2545