พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับภารกิจ

 

        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับภารกิจของสถาบันราชภัฏ

          

            การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-commerce หมายถึง การค้าทุกประเภท ที่กระืืืทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การค้าบนเว็บ การค้าโดยผ่านเครื่องโทรสาร ด้วยการส่งเอกสารขายตรงไปยังโทรสารและลูกค้าส่งใบสั่งซื้อมาทางโทรสาร หรือการขายทางโทรทัศน์ แล้วให้ลูกค้าโทรเข้าไปซื้อของ

               รูปแบบของ E-commerce

              1. การค้าระหว่างองค์การธุรกิจกับองค์การธุรกิจ (Business to Business) เป็นการค้าขนาดใหญ่ ส่งสินค้าจำนวนมาก ชำระเงินผ่านทางธนาคาร

              2.การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Customer) เป็นการค้าปลีกไปยังคนทั่วโลก หรือคนในประเทศของตน ส่วนใหญ่จะชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

               3.การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Customer to Customer) เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน

               วัตถุประสงค์ของ E-commerce

                1.ลดต้นทุน เช่น ลดค่าพิมพ์แคตตาล็อค ลดค่าออกใบเสร็จรับเงิน ลดเวลาการตัดสต็อค ลดเวลาในการบันทึกบัญชี

                 2.ประหยัดเวลา เนื่องจากทุกอย่างสามารถทำงานได้เองโดยผ่านเครือข่ายอัตโนมัติ ทำงานได้รวดเร็ว

                  3.เพิ่มประสิทธิภาพ ลูกค้าเป็นผู้ป้อนข้อมูลสั่งซื้อเองจึงทำได้รวดเร็ว และถูกต้อง ข้อมูลนำไปออกใบเสร็จรับเงิน และบันทึกบัญชีได้ทันที

                  4.ขยายตลาด การเชื่อมโยงของระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเสนอขายสินค้าไปสู่ตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

                   สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจ E-commerce

                    เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ จะต้องมี "ข้อสนเทศ" หรือ "ข่าวสาร" หรือ "Information" เพราะผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข่าวสารได้จากเว็บไซด์ ทั้งข้อมูลด้านสินค้า ราคา คุณภาพ เจ้าของสินค้าจะต้องให้รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสินค้าและผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ใส่ลงไปในเว็บไซด์ให้มากที่สุด

                    ในเวลานี้ การค้าแบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามามีบทบาทต่อการค้า ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศมาก ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมกับสำนักงานสถาบันราชภัฏในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้รับงบประมาณให้จัดการฝึกอบรมอาจารย์ของสถาบันราชภัฏทั้ง 41 แห่ง สถาบันละ 3 คน เพื่อเตรียมการเป็นผู้สอน ด้านพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับบุคลากรในท้องถิ่น และขยายผลไปยังตำบลต่างๆเืพื่อประชาชนของแต่ละตำบลมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตำบล สามารถคิดต้นทุนการผลิต กำหนดราคาขาย วางแผนการตลาด และสร้างเว็บไซด์ของตำบล เพื่อให้คนทั่วไปได้รู้จักและขยายวงกว้างออกไปเป็นระบบสากลต่อไปในอนาคต ดังนั้นสถาบันราชภัฏทุกแห่งจึงจำเป็นต้องเตรียมบุคลากร  ด้วยการขยายผลฝึกอบรมอาจารย์และนักศึกษาของสถาบันเพื่อให้มีความรู้ในเรื่อง E-commerce เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือประชาชนในตำบลต่างๆของจังหวัดในพื้นที่ที่เป็นเขตความรับผิดชอบของสถาบันราชภัฏนั้นๆ ต่อไป      



แหล่งอ้างอิง : วันทนีย์ แสนภักดี.\"พาณิชอิเล็กทรอนิกส์กับภารกิจของสถาบันราชภัฏ\"วิทยาการจัดการปริทรรศน์.4,4(ตุลาคม 2544):102-105.

โดย : นางสาว ฤทัยทิพย์ ประชาสุข, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 14 สิงหาคม 2545