ไอทีกับบรรณารักษ์

 

ไอทีกับบรรณารักษ์

      ไอที (IT) เป็นคำย่อมาจากคำเต็มว่า Information  Technology ตรงกับคำในภาษาไทยว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ (ในวงการบรรณารักษ์จะใช้คำว่าเทคโนโลยีสารนิเทศ) ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล การสืบค้น การรับส่งข้อมูล เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล บันทึกและค้นคืน จากความหมายเราจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม  ในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพทำให้สารสนเทศแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของโลกอย่างไร้พรมแดนหรือที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ เกิดสังคมใหม่ขึ้นมาเรียกว่าสังคมสารสนเทศ ปัจจุบันสารสนเทศที่เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอยู่ในรูปของสื่อผสม ซึ่งมีทั้งตัวเลข ตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สารสนเทศดังกล่าวสามารถผลิตขึ้นได้จำนวนมากและสะดวกรวดเร็ว ในอดีตจึงไม่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

ผลกระทบต่อการดำเนินงานห้องสมุดด้านต่างๆ

1. ด้านการบริหารและการจัดการห้องสมุด ห้องสมุดจะต้องปรับโครงสร้างการบริหารใหม่

2. ด้านลักษณะสารสนเทศที่เผยแพร่

3. ด้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

4. ด้านผู้ใข้ห้องสมุด ผู้ใช้จะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสวงหาสารสนเทศ

5. สำหรับบรรณารักษ์เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้การทำงานเทคนิคของบรรณารักษ์เป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ

     บรรณารักษ์ไทยยุคใหม่จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างดี เพื่อที่จะสามารถอ่าน แปลเนื้อหาสาระที่เป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานของตนได้ดี นอกจากนี้ควรมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีทักษะในการสืบค้นสารสนเทศและสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้

 


ที่มา : มารศรี ตรีทศายุธ. ไอทีกับบรรณารักษ์. [Online]. available.URL : http://humannet.chandra.ac.th/article/itbunruk.htm.

โดย : นางสาว รจนา จันมนตรี, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ, วันที่ 13 สิงหาคม 2545