ท่องไปกับโลกหุ่นยนต์ |
หุ่นยนต์ ( robot)
เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้น เพราะมัน สามารถทำงานได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และทำงานที่เสี่ยงอันตรายได้ ดังจะได้เห็นโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งมีการนำแขนยนต์มาใช้ในงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์แทนแรงงานมนุษย์ การใช้เครื่องเบิกเงินอัตโนมัติ ( ATM ) ใน การติดต่อ ระหว่างธนาคารกับลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
ดังรูปแรก คือ
หุ่นยนต์นักปิงปองติดใยประสาทคอมพิวเตอร์ตัวนี้ เคลื่อนไหวโดยรับคำสั่งจากมนุษย์
|
|
|
|
ด้วยความสามารถของมนุษย์นี้เองที่ทำให้ Karel Capek นักเขียนบทละครคนหนึ่งให้คำจำกัดความของ หุ่นยนต์ ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1920 ว่าเป็นทาส ผู้ถูกใช้แรงงาน ( forced labor )
ในอดีต
..หุ่นยนต์ต่างๆ มีหลักการทำงานแบบเดียวกันคือ ทำงานตามโปรแกรมที่ถูกตั้งไว้ ไม่มีสิทธิ์คิดเอง เมื่อพบปัญหาที่แปลกไปจากโปรแกรมที่ตั้งไว้ก็เป็นอันทำงานไม่ได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดติดปัญญาเทียม ( artificial intelligence ; AI )
นักวิทยาศาสตร์ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีโปรแกรมที่ซับซ้อนติดปัญญาเทียมและเชื่อมโยงด้วยวงจรอิเล็คทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว ( microchip ) ที่เรียกว่า ใยประสาทคอมพิวเตอร์
( neurocomputing ) โดยมีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับใยประสาทของมนุษย์ เมื่อหุ่นยนต์เจอปัญหารที่ซับซ้อนก็สามารถวิเคราะห์และหาคำตอบได้โดยทันทีโดยผ่านใยประสาทของคอมพิวเตอร์นี้ นอกจากนี้ใยประสาทของคอมพิวเตอร์นี้สามารถทำให้หุ่นยนต์แสดงอากัปกิริยาเลียนแบบการกระทำของมนุษย์ที่มีปัญญาเทียมในตัวมันรับรู้ได้อีกด้วย
ดังรูปที่ 2 คือ
หุ่นยนต์ที่สามารถมีอากัปกิริยาต่างๆ ที่คล้ายมนุษย์ไได้
|
|
จากเทคโนโลยีการสร้างหุ่นยนต์แต่ละชนิดบวกกับการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ ก็ได้เข้ามารับใช้งานต่างๆ มากมาย โดยหุ่นยนต์แต่ละชนิดแต่ละขนาด ก็ถูกเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับงาน
จนมาถึงทุกวันนี้
หุ่นยนต์มิได้มีเพียงตัวแสดงตัวหนึ่งที่ได้รับบทบาทเด่นใน ภาพยนตร์เรื่องดังอีกต่อไป มันได้รับบรรจุให้เป็นพนักงานและทำงนต่างๆ มากมาย ตามแต่มนุษย์จะบัญชา
|
โดย : นาย ปฏิเวธ เรืองประกอบกิจ, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 24 พฤศจิกายน 2544 |