การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธี
เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง ประหยัดไฟ และยืดอายุการใช้งาน ควรศึกษาคู่มือก่อนการใช้งาน
ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยและการใช้งานที่ทนทาน
1. ห้ามตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน การตั้งตู้เย็นใกล้เตาไฟ หรือถูกแสงแดดส่องถึงจำทำให้ตู้เย็นต้องทำงานอย่างหนัก
2. ควรตั้งตู้เย็นในที่ซึ่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรตั้งตู้เย็นในที่อับชื้น ตำแหน่งที่ตั้งตู้เย็นควรมีระยะด้านบน 300 มม. ด้านข้าง 20 มม. ด้านหลัง ห่างจากผนัง 100 มม. เพื่อสะดวกในการปิดเปิดตู้ และระบายอากาศได้ดี
3. ระมัดระวังอย่าให้สายไฟชำรุด ในการติดตั้งตู้เย็นต้องระมัดระวังอย่าให้สายไฟชำรุด อันเนื่องมาจากตัวตู้ทับสายไฟ หรือสายไฟถูกปาด ถ้าสายไฟเกิดชำรุด ต้องแจ้งให้ช่างเปลี่ยนโดยด่วน
4. อย่าเสียบปลั๊กตู้เย็นร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ปลั๊กของตู้เย็นควรแยกออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และควรมีอุปกรณ์ตัดตอนป้องกันวงจรไว้ด้วย
การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อประหยัดพลังงาน
เมื่อเริ่มเสียบปลั๊กตู้เย็น ให้หมุนลูกปิดปรับอุณหภูมิไปยังตำแหน่ง COLD หลัง จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นให้หมุนลูกบิดไปยังระดับอุณหภูมิที่ต้องการ
หมายเหตุ ภาวะปกติให้บิดไปที่เลข 3
สภาวะที่ต้องการทำน้ำแข็งอย่างรวดเร็วให้บิดไปที่ตำแหน่ง COLD
OFF ไม่ทำงาน , 1-2 เย็นเล็กน้อย , 3 ปานกลาง , 4-5 เย็นมาก , COLD เย็นจัด
การละลายน้ำแข็ง
ถ้าน้ำแข็งหนาจนปกคลุมปุ่มสีแดงในช่องทำน้ำแข็ง ท่านควรทำการละลายน้ำแข็งได้แล้ว
1.การละลายน้ำแข็งให้ใช้นิ้วกดปุ่มตรงกลางของลูกบิดปรับอุณหภูมิความเย็น
2.บางรุ่นให้ทำการปรับลูกบิดไปที่ OFF และเมื่อน้ำแข็งละลายหมดแล้ว ระบบทำความเย็นจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ แต่มีบางรุ่นหลังจากละลายน้ำแข็งเสร็จแล้ว ให้บิดลูกบิดกลับไปที่หมายเลขที่ท่านต้องการ ควรนำถาดออกเทน้ำทิ้งและเช็ดให้แห้งก่อนใส่เข้าจุดเดิม มีบางรุ่นน้ำที่เกิดจากการละลายน้ำแข็งจะไหลลงถาดน้ำด้านล่างและระเหยไปเองโดยอัตโนมัติ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการระเหยน้ำควรถอดออกมาล้างอย่างน้อยเดือนละครั้ง
คำเตือน
1. เมื่อกระแสไฟฟ้าเกิดขัดข้อง เช่นไฟตก หรือไฟดับให้รีบถอดปลั๊กตู้เย็นทันที เมื่อกระแสไฟฟ้าเป็นปกติแล้ว จึงจะเสียบปลั๊กตู้เย็น การเสียบปลั๊กตู้เย็นอีกครั้งหลังจากที่ถอดปลั๊กแล้ว ควรทิ้งช่วงระยะเวลาให้ห่างอย่าง น้อย 5 นาที
2. ห้ามเก็บสี , ยา , สารเคมีและสารไวไฟ ไว้ในตู้เย็นอย่างเด็ดขาด เพราะพวกสารเคมีและสารไวไฟมีจุดวาบไฟต่ำ อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ นอกจากนี้สารระเหยจากยาบางชนิดยังทำให้อาหารที่เก็บไว้มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป
3. ห้ามใช้น้ำมันหรือยาฉีด เช็ดตู้เย็น การใช้น้ำยาฉีดหรือสารเคมีอื่น ๆ ฉีดเช็ดตู้เย็นอาจทำให้ตู้เย็น เกิดรอยด่าง
4. อย่าแช่ขวดเบียร์, ขวดน้ำอัดลมลงในช่องแช่แข็ง เพราะความเย็นจะทำให้น้ำในขวดแข็งตัว และจะทำให้ขวดแตกได้
5. ห้ามใช้มีดหรือของมีคม งัดแซะน้ำแข็งออกจากช่องแช่แข็งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้แผงความเย็นชำรุดได้ หากเกิดความเสียหายดังกล่าว ทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบ เพราะเกิดจากผู้ใช้เอง
6. ห้ามใช้น้ำราดช่องแช่แข็ง เพราะจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วจากระบบไฟฟ้าได้
7. การเติมน้ำทำน้ำแข็งไม่ควรเติมเกิด 3/4 หรือ 4/5 ของถาด การเอาน้ำแข็งออกให้บิดถาดที่ปลายทั้งสอง น้ำแข็งจะหลุดออกอย่างง่ายดาย อย่าโค้งงอที่ตัวถาดอันจะทำให้ถาดแตกได้
วิธีการทำความสะอาดตู้เย็น ( อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง )
1.ใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำสบู่บิดพอหมาด ๆ แล้วเช็ดตัวตู้ , และที่วางของบนหลังตู้
2.ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาด ๆ เช็ดให้หมดคราบสบู่
3.ใช้ผ้าแห้งเช็ดตัวตู้ให้แห้งอีกครั้ง
เมื่อตู้เย็นขัดข้องก่อนเรียกใช้บริการควรตรวจสภาพความเรียบร้อยด้วยตนเองก่อนดังนี้
ปัญหา การตรวจเช็ค
ตู้เย็นไม่ทำงาน - ตรวจดูว่ามีไฟที่เต้าเสียบหรือไม่
- เสียบปลั๊กแน่นหรือไม่
- ฟิวส์หรือเบรคเกอร์ตัดตอนหรือไม่
เย็นไม่ดี - ตรวจดูว่าปรับอุณหภูมิภายในตู้อยู่ในตำแหน่ง
ต่ำไปหรือไม่
- ใส่ของร้อน ๆ ไว้ในตู้เย็นหรือไม่
- ใส่ของมากเกินไปหรือไม่
- ขอบประตูมีช่องว่างทำให้ความเย็นออกหรือไม่
- เปิดประตูตู้เย็นบ่อยและนานเกินไปหรือไม่
อาหารที่แช่ในห้องล่างเป็นน้ำแข็ง - ตรวจดูปุ่มปรับอุณหภูมิว่าอยู่ในตำแหน่งสูงสุด
หรือไม่
ในตู้เย็นเกิดหยดน้ำเกาะ - ท่อน้ำทิ้งตันหรือไม่
- ใส่ของที่มีความร้อนมากหรือมีไอน้ำมากในตู้เย็น
หรือไม่
ตู้เย็นมีเสียงดัง - พื้นที่ที่ตั้งตู้เย็นแข็งแรงเพียงพอหรือไม่
- ตั้งตู้เย็นได้ระดับหรือไม่
- หลังตู้เย็นแตะโดนกำแพงหรือไม่
ที่มา. คู่มือแนะนำการใช้ตู้เย็นฮิตาชิ
|