เมื่อไม่นานมานี้ในแวดวงของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านพลังงานและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เกิดข้อถกเถียงกันในเรื่องการใช้พลังงานจากเอทานอลที่ผลิตจากข้าวโพดในเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างผลดีและผลเสียเมื่อเปียบเทียบกับการใช้พลังงานจากฟอสซิลอย่างเช่นน้ำมันเบนซินหรือดีเซลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) สหรัฐอเมริกา นามว่า David Pimentel ได้ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาถึงผลดีและผลเสียของการใช้เอทานอลจากข้าวโพดว่าน่าจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าการใช้พลังงานจากฟอสซิลแบบเดิม เหตุผลที่นำมาสนับสนุนก็คือพลังงานที่ใช้ในการผลิตเอทานอลนับตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว จนกระทั่งกลั่นออกมาเป็นเอทานอลนั้นมากกว่าพลังงานที่จะได้จากตัวเอทานอลเองถึง 70 % และถ้าเราผลิตเอทานอลเพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินหรือดีเซลแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้พลังงานแบบเดิมแถมยังเพิ่มของเสียจากการผลิตและใช้เอทานอลอีกด้วย
ซึ่งเหตุผลอันนี้ค่อนข้างแตกต่างจากการศึกษาของ US Department of Agriculture ที่บอกว่าพลังงานที่เราจะได้จากเอทานอลนั้น มากกว่าพลังงานที่ใช้ในการผลิตเอทานอลนับตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยวข้าวโพด จนกระทั่งกลั่นออกมาเป็นเป็นเอทานอลอยู่ถึง 25 %
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของศาสตร์ท่านดังกล่าวยังระบุว่าการปลูกข้าวโพดนั้นเวลาที่ใช้ในการทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลงนั้นมากกว่าเวลาที่ธรรมชาติจะต้องใช้ในการฟื้นฟูคุณภาพดินถึง 12 เท่าตัว แต่ถ้าเราลองมองไปถึงผลการศึกษาของ National Ethanol Vehicle Coalition แล้วเราจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตและเผาไหม้เอทานอลนั้น จะถูกดูดกลับเข้ามาในกระบวนการสังเคราะห์แสงของข้าวโพดเองอยู่แล้ว
ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบกันกับการใช้พลังงานจากฟอสซิลที่ไม่มีกระบวนการดังเช่นในพืช ก็จะเห็นว่าการใช้พลังงานจากเอทานอนจะทำให้ปริมาณสัสมของก๊าวคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นช้ากว่าการใช้พลังงานจากฟอสซิลแน่นอน
ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มสนับสนุนได้เสนอทางเลือกอื่น ๆ ของการผลิตเอทานอล ตัวอย่างเช่นการผลิตเอทานอลจากของเสียจากผลิตภัณฑ์ไม้ กากน้ำตาลซูโครส ของเหลือจากกระบวนการผลิตมันฝรั่ง หรือแม้แต่ของเสียจากกากอาหารและเครื่องดื่ม
|