คหกรรม


ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น

นิยามศัพท์เฉพาะ

วัสดุ หมายถึง สิ่งที่จะนำมาใช้ผลิตสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเป็นของใช้ ของเล่น หรือใช้

ประโยชน์ในด้านอื่นๆ 1

ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ค้นคว้า ออกแบบ ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความ

สะดวกสบายในการดำรงชีวิต 2

วัสดุท้องถิ่น หมายถึง วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำมาผลิตหรือประดิษฐ์เป็น

สิ่งของต่างๆ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ 3

ความสำคัญของงานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นที่เป็นเครื่อง-

ใช้สอยมีความสำคัญทั้งทางตรงทางอ้อม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดซึ่งมี

ลักษณะความสำคัญที่แบ่งได้ 2 ประการคือ

1. ในด้านที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ คือชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้ใช้สอยผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น การนำดินเหนียวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ปั้นหม้อดินสำหรับหุงข้าว และปั้นชามดิน สำหรับใส่อาหาร ซึ่งถือว่าเป็นประดิษฐกรรมชิ้นแรกของมนุษย์ที่สร้างขี้นเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี
ควบคู่มากับวิวัฒนาการด้านอื่นของมนุษย์
--------------------
1 จุลจักร โนพันธุ์ และ อุดมศักดิ์ พลอยบุตร. งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช, 2537. หน้า 2.
2 สาคร คันธโชติ. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2528.
หน้า 6.
3 นิตยา เวียสุวรรณ และ เพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์. งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2541. หน้า 1.
เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความประณีต
คุณลักษณะของงานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น คือ ความงามอันเกิดจากการสร้างสรรค์
ด้วยมือ จึงเป็นสิ่งที่กลั่นกรองมาจากจิตใจ ถ่ายทอดความคิดและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์ออกมาให้เห็นคุณลักษณะที่ช่วยให้เกิดความชื่นชม และสุนทรียภาพแก่ผู้พบเห็น เช่น ผ้าทอชนิดต่างๆ จากไหมและฝ้าย ลักษณะเด่นของผ้า คือ ลวดลายของการทอ ได้แก่ ผ้าทอลายขิด และผ้ามัดหมี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่มีค่า เช่น กระเป๋าย่านลิเภา ชุดฝาชีหวาย เสื่อกระจูด เป็นต้น

2. ในด้านที่เกี่ยวกับสังคม
2.1 เศรษฐกิจ
เป็นการนำเอาวัสดุ วัตถุดิบในท้องถิ่นมาดัดแปลง สร้างสรรค์ เพื่อสร้างสิ่งใช้สอย
สนองความต้องการในครอบครัวของตนเอง จากนั้นจะขยายวงกว้างไปยังครอบครัวอื่น จนกลายเป็นระดับท้องถิ่น ในภูมิภาค และระดับชาติ เป็นระบบการผลิตเบื้องต้น ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่นนั้นๆ เอง ทำให้คนในครอบครัวไม่เปลืองเงินทอง และสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัว และอาจเพิ่มรายได้มากขึ้น เมื่อถึงระดับตสาหกรรม งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น จึงถือรากฐานทางเศรษฐกิจเบื้องต้นแล้วแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมระยะหลัง
2.2 วัฒนธรรม
เป็นการแสดงเอกลักษณ์ ลักษณะเฉพาะตัวในการทำงานศิลปะพื้นบ้าน และการ
ดำเนินชีวิตที่มีขั้นตอน มีระบบ มีความสงบ ความงาม เป็นการสร้างความเจริญงอกงามทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และด้านสุนทรียภาพแม้ว่าประชาชนในภาคอีสาน จะมีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียว เช่นเดียวกับประชาชนในภาคเหนือก็ตาม แต่รูปแบบลักษณะของผลิตภัณฑ์ต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ถึงจะใช้ประโยชน์ในการใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกันก็ตาม เช่น กระติบข้าว และก่องข้าว 1
--------------------------------------------------------------------------------
1 กระติบข้าวและก่องข้าว เป็นภาชนะรูปทรงกลมมีฝาปิดสำหรับบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง
ไปกินตามทาง
2.3 อาชีพ
การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น เป็นงานที่สามารถประกอบเป็นอาชีพได้
ประกอบการได้ด้วยตนเอง เป็นงานที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือการทำงานเป็นหลัก ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายจากท้องถิ่น จึงไม่ต้องลงทุนมาก สามารถสะสมความคิดอ่าน ความชำนาญ และเทคนิควิธีการให้ก้าวหน้าขึ้นไป เช่น การสานหวด ซึ่งเป็นภาชนะใช้นึ่งข้าวเหนียว ของหมู่บ้านไหล่สูง และการทอเสื่อจากต้นกก ของหมู่บ้านแดง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี 1 จะทำกันเป็นอุตสาหกรรมใช้ในครัวเรือน และส่งจำหน่ายไปตามหมู่บ้านและชุมชนอื่น สามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวแต่ละครอบครัวได้ไม่น้อยผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น เป็นผลงานที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ตกแต่งหรือประดับ มีความสำคัญต่อชีวิตและสังคมของชุนชนไทย เพราะผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นแต่ละชิ้นมีระบบการผลิตแบบดั้งเดิม มีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์น้อย และเป็นสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว เช่น การนำเอากะลามะพร้าวมาทำกระบวยตักน้ำ การนำเอาไม้ไผ่มาสานเป็นตะกร้า ระบุงต่างๆ เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
1 สัมภาษณ์ (ราตรี คำแก้ว) 5 มิถุนายน 2541.
จุดมุ่งหมายในการจัดทำงานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นการนำวัสดุท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีจุดมุ่งหมายหลายประการ โดยจำแนกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. เพื่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ การทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นนั้นแต่ดั้งเดิมจะเกิดขึ้น
ควบคู่กับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เพื่อใช้สอยให้ตรงกับวัตถุประสงค์และความเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ การทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เช่น การนำไม้มาทำเป็นไถ คราด แอก การทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น การนำไม้ไผ่มาทำเป็น ลอบ ไซ ข้อง กระจู้ กระชัง ตะแกรง การทำเครื่องใช้ในครัว เช่น การนำไม้ไผ่มาสานหวด สำหรับนึ่งข้าวเหนียว สานกระติบสำหรับใส่ข้าว เป็นต้น
2. เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ การทอผ้าชนิดต่างๆ จากไหม และฝ้าย นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อ
กระโปรง กางเกง เป็นงานผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานลักษณะเด่นของผ้าคือ ลวดลายการทอ ได้แก่ ผ้าทอลายขิด และ มัดหมี่ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จากผ้านอกจากจะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มแล้ว ปัจจุบันยังนำผ้าพื้นเมืองจาก
หลายๆ ท้องถิ่น ไปทำเป็นกระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ ปลอกหมอน ผ้าหุ้มกล่องกระดาษทิชชู ผ้ารองจานและงานฝีมืออื่นๆ เพื่อจำหน่ายอีกด้วย
3. เครื่องประดับ เป็นเครื่องตกแต่งกาย ได้แก่ สร้อยคอ แหวน ต่างหู สร้อยข้อมือ
กำไล เข็มขัด เข็มกลัดติดเสื้อ โบติดผม ซึ่งใช้วัสดุตั้งแต่ดิน เครื่องเงิน เครื่องถม เปลือกหอย เช่น เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา เครื่องเงิน จากบ้านเขวา จังหวัดสุรินทร์ เครื่องถม จากจังหวัดนครศรีธรรมราช เปลือกหอย จากจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีใบตองแห้ง เปลือกข้าวโพด กะลามะพร้าว ก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับได้
4. เครื่องตกแต่ง จะใช้เป็นเครื่องตกแต่งภายในบ้าน ได้แก่ เครื่องแขวน แจกันดอกไม้
ตุ๊กตา กรอบรูป เครื่องตกแต่งฝาผนัง ฯลฯ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะนำวัสดุมาผลิตได้แตกต่างกัน เช่น กรอบรูปจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ของจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด และกรอบรูปจากกระดาษสา ของทางภาคเหนือ เครื่องแขวนจากใบลาน ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องแขวนจากเปลือกหอย ของจังหวัดภูเก็ต แจกันดินเผา ของจังหวัดราชบุรี และจังหวัดลำปาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำกาบไผ่ และฟางข้าว มาประดิษฐ์เป็นภาพตกแต่งฝาผนัง เช่น กรอบรูปนกยูงจากกาบไผ่ กรอบรูปภาพปะติดจากฟางข้าว เป็นต้น นอกจากวัสดุที่กล่าวมาแล้วยังมีวัสดุอีกหลายชนิด เช่น ผ้า กระดาษ รังไหม ไส้ต้นมันสำปะหลัง ใบตองแห้ง เปลือกข้าวโพด สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ ใช้ตกแต่งบ้านได้สวยงามเช่นกัน

รูปภาพที่ 6 เครื่องตกแต่งฝาผนัง กรอบรูปนกยูงจากกาบไผ่ ฝีมือของเด็กชายนิธิพัฒน์ บุญสุข ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 ปีการศึกษา 2542




โดย : นาง เพ็ญวดี ค้าสุวรรณ, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544