ที่ผู้ผลิตสินค้าไทยต้องปรับตัวให้สามารถต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งในหลายๆ ประเทศได้ สินค้าจำพวกอาหารก็เช่นกัน มีการกำหนดมาตรฐานของอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับอันตรายเมื่อรับประทานอาหาร ระบบประกันคุณภาพต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมายเช่น ระบบ GMP, HACCP, ISO เป็นต้น แต่กลไกสำคัญของการประกันคุณภาพในเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคที่สำคัญคือ ผลการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนกับอาหารหรือสินค้าที่โรงงานผลิตขึ้น ดังนั้นความถูกต้องแม่นยำของการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เราจะมั่นใจในระบบและประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการของเราอย่างไรการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการจะถูกต้องและแม่นยำนั้น มีปัจจัย หรือ ตัวแปรต่างๆ มากมาย แต่หากจะพูดโดยภาพรวมแล้วอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ
1. วิธีที่ใช้ทดสอบหรือตรวจวัดเชื้อจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
2. วิธีที่ใช้ทดสอบหรือตรวจวัดเชื้อจุลินทรีย์นี้ได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพมากเพียงใด
การจัดการ และการควบคุมห้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพ และยังคงความถูกต้องแม่นยำอาจสามารถหาแนวทางได้จาก EN45003, EN45001 หรือ ISO/IEC Guide 25 โดยจะแนะนำให้ผู้สนใจสามารถจัดตั้งห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ให้เป็นที่ยอมรับและถูกต้อง โดยจะกล่าวถึง Quality Assurance และ Quality Control
Quality Assurance คือ แนวปฏิบัติ หรือแผน หรือระบบที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นการผลิต หรือการบริการที่มีคุณภาพ (ตามความต้องการของลูกค้า)
Quality Control คือ เทคนิคที่ใช้ หรือกิจกรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สินค้าที่ผลิตขึ้น หรือการบริการมีคุณภาพ
ที่มา : โครงการเผยแพร่ความรู้ผลงานทางวิชาการผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เดลินิวส์ วันที่ 10 มกราคม 2545 หน้าที่ 10
|