ใยอาหาร

ใยอาหารประกอบด้วยโพลิแซคคาไรด์เป็นส่วนใหญ่ แต่จะแตกต่างจากแป้งตรงพันธะเคมีที่จับกับน้ำตาลหน่วยย่อยๆ ร่างกายไม่มีเอนไซม์ที่จะย่อยใยอาหาร ดังนั้นลำไส้เล็กจึงมีการดูดซึมน้ำตาลหน่วยย่อย ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของใยอาหารได ใยอาหารประกอบด้วยกลุ่มสารต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ละลายน้ำ ใยอาหารกลุ่มนี้จะไม่ถูกย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ลิกนิน เซลลูเลส เฮมิเซลลูโลส ตัวอย่างอาหารเช่น รำข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ข้าวกล้อง
กลุ่มที่ละลายน้ำ ใยอาหารกลุ่มนี้จะ จะเกิดการหมัดโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ได้แก่ เพคติน กัม มิวซิเลจ และเฮมิเซลลูโลสบางชนิด ตัวอย่างอาหาร เช่น แอปเปิ้ล ส้ม แครอท ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต อาหารทั่วไปจะมีทั้งใยอาหารที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ใยอาหารหลายชนิดจะดูดน้ำและอุ้มไว้ในลำไส้เล็ก เมื่อร่างกายได้รับใยอาหารมากพอ คุณสมบัติการอุ้มน้ำของใยอาหารจะช่วยขยายปริมาตรและทำให้อุจจาระนิ่ม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้สะดวก ไม่เกิดอาการท้องผูก จึงไม่ต้องใช้แรงเบ่งอุจจาระคนที่กินใยอาหารน้อย จะมีอาการท้องผูก เวลาอุจจาระต้องใช้แรงเบ่งเพราะอุจจาระไม่นิ่ม ต้องใช้ความดันมากในการขับอุจจาระ ซึ่งจะทำให้ผนังลำไส้โป่งพองได้

ที่มา : โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อมวลชน สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,
เดลินิวส์ วันที่ 3 มกราคม 2545 หน้าที่ 13






โดย : นางสาว aree dangpun, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 10 พฤษภาคม 2545