ให้ลูกน้อยนอนอย่างไรดี


การนอนของลูกน้อย สมัยก่อนพ่อแม่ไม่ชอบให้ลูกน้อยนอนหงาย เพราะกลัวลูกจะหัวแบนไม่สวย จึงจับลูกนอนคว่ำตลอด ผลคือได้ลูกหัวทุยแต่แต่ขาแบะ เพราะถ้านอนคว่ำต้องมาดัดขากันใหม่โดยใช้รองเท้าพิเศษ ซึ่งมีเหล็กกำกับให้ขาเบนเข้า นอกจากนี้ในต่างประเทศพบว่าถ้านอนคว่ำอาจทำให้เด็กหายใจไม่ออก หรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้ ท่านอนที่ถูก คือเปลี่ยนท่าไปเรื่อยๆ นอนหงายบ้าง ตะแคงบ้าง แลห้ามนอนคว่ำบนเบาะนิ่มๆ หรือในเปลผ้า ซึ่งจะห่อตัวเด็กทำให้เคลื่อนคอไม่ได้ จมูกจะถูกอุดหายใจไม่ออก
ลูกอ่อนควรนอนห้องเดียวกับพ่อแม่ เพื่อให้เฝ้าระวังอาการว่ามีปัญหาการหายใจ มีเสมหะอุดตันหรือไม่ จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
รูปแบบของการนอนของเด็ก คือ ในสัปดาห์แรกเด็กจะนอนทั้งวันทั้งคืน แต่พออายุ 1 เดือน จะเปลี่ยนแปลงเห็นชัดเจนคือ ตื่นมากขึ้น นอนน้อยลง การหลับตื่นสลับกันอย่างนี้ แบ่งเป็น 6 รอบต่อวัน โดยที่เด็กจะนอนตอนแรกตื้นๆ ใกล้จะหลับ คล้ายๆ จะเข้าภวังค์ก่อน ต่อมาจึงนอนหลับสนิท หายใจช้าลงและอาจไม่สม่ำเสมอ แขนขาไม่กระดุกกระดิก ไม่สะดุ้งตื่นเวลามีเสียงดัง ตามด้วยการนอนหลับตื้นขึ้นมีตาแกว่งไปมาเร็วๆ ไปในแนวนอน เรียกว่า การนอนระยะอาร์อีเอ็ม ถ้าได้ยินเสียงดังหรือกระทบตัวจะตื่นขึ้น ต่อมาก็เข้าระยะใกล้ตื่นร้องไห้แต่ยังไม่ตื่นเต็มที่ แล้วจึงตื่นเต็มที่ หิวอยากนม พออิ่มก็จะสบายใจเล่นสักพักซึ่งเป็นเวลาที่เราสามารถเล่น คุยกับลูก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และเมื่อลูกเริ่มโยเย ง่วงนอนใหม่ ก็รีบอุ้มนอน อย่าเห่กล่อมมากให้เสียนิสัย และอย่าวางเร็วในระยะเข้ภวังค์ต้องให้นอนสนิทแล้วจึงค่อยวาง
ในเดือนแรกแม่ลูกควรนอนในห้องเดียวกัน เพื่อเฝ้าระวังอาการลูกและสะดวกในการให้นมหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ได้เรียนรู้ความต้องการของลูกจากเสียงร้องท่าทางอย่างใกล้ชิด ไม่แนะนำให้นอนคว่ำตลอดเวลา ควรเปลี่ยนท่านอนเรื่อยๆ กันขาแบะหรือศีรษะแบนไปข้างใดข้างหนึ่ง



โดย : นางสาว กาญจนา โสทธิสงค์, วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544