เครื่องนวดข้าวด้วยเท้าเหยียบ |
เครื่องนวดข้าวถ้าเป็นคนในภาคกลางแล้วถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะชาวนาในภาคนี้แทบทุกครัวเรือนมีเครื่องนวดข้าวซึ่งแต่ละเครื่องนั้นก็ราคาแพงมากไม่น้อยกว่าเครื่องละ 50,000 บาทอีกทั้งระบบของเครื่องก็ยังเป็นแบบใช้ไฟฟ้าหรือใช้มอเตอร์ในการนวดข้าวก็ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ถือว่าเป็นหน้าเป็นตา เหมือนกับการมีรถไถนาแบบเดินตามหรือรถอีแต๋น เพราะบ่งบอกถึงฐานะทางด้านเศรษฐกิจ
แต่สำหรับเครื่องนวดข้าวที่วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดได้ประดิษฐ์ขึ้นมานี้ เป็นเครื่องนวดข้าวที่ใช้เพียงเท้าเหยียบก็เครื่องก็ทำงานได้ทันที อีกทั้งในด้านราคาก็ถูกด้วย ต้นทุนเพียงเครื่องละประมาณไม่เกิน 2.000-2.500 บาท และถ้าหากจะใช้วัสดุในท้องถิ่นราคาก็จะถูลงมากกว่านี้ ส่วนกรณีที่ต้องการปรับให้เป็นแบบใช้ไฟฟ้าหรือมอเตอร์ราคาก็ไม่แตกต่างกัน
|
|
|
|
วัสดุในการผลิต
จะใช้ไม้หรือแผ่นเหล็กสำหรับใช้ทำโครงของเครื่อง ซี่รถสามล้อถีบจำนวน 60 เส้น มูเล่ ขนาด 17 นิ้ว 2 ตัว แต่ถ้าจะเอาขนาดที่เล็กกว่านี้รอบหมุนจะจัดมาก ชุดเฟืองขับเฟืองตาม 2 ตัวตุ๊กตาลูกปืนเครื่องสีข้าว 2 ตัว เพลาขนาด 6 หุนและถ้าหากจะเอามอเตอร์ติดเข้าไปก็ตัดเฟืองขับเฟืองตามออกทั้ง 2 ตัว
ประสิทธิภาพในการทำงานนั้น เครื่องนวดข้าวด้วยเท้าจะนวดข้าวได้ประมาณนาทีละ 5-6 มัด แต่ถ้าหากใช้เฟืองขนาดเล็กลงมากเท่าไรรอบในการทำางานของเครื่องจะหมุนเร็วมาก ประสิทธิภาพในการนวดก็จะสูงไปด้วย ในเวลา 8 ชั่วโมงเครื่องนวดข้าวด้วยเท้าเครื่องหนึ่งจะสามารถนวดข้าวได้ไม่น้อยกว่า 200 ถัง แต่หากใช้คนนวดโดยมือแล้วในเวลาเท่ากันจะนวดข้าวได้ไม่ถึง 50 ถัง
|
|
ข้อเด่นของเครื่องนวดข้าวด้วยเท้า
นอกจาราคาถูกแล้ว ยังใช้วัสดุในท้องถิ่นประดิษฐ์ และใช้เทคโนโลยีแบบพื้นบ้านแล้วน้ำหนักของเครื่องก็ไม่มากสามารถยกเครื่องไปนวดตามลานข้าวหรือในที่นาก็ได้ ส่วนแรงงานที่ใช้จะใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไป ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย เครื่องนวดข้าวด้วยเท้านี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีอายุ ทั้งนี้เพราะในขณะที่นวดข้าวนั้นก็ได้ออกกำลังกายไปด้วย และถ้าหากจะนำเครื่องไปรับจ้างนวดแล้วก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ในครอบครัวไป ในครัว มีค่าจ้างที่ดีมาก เพราะในตอนนี้ที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีชาวบ้านมาซื้อเครื่องจากวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดไปแล้วจำนวนหลายเครื่อง โดยจะคิดค่าจ้างในการนวดข้าว 1 บาทต่อ 1 ถัง และเครื่องนี้ยังสามารถนวดข้าวที่เก็บเกี่ยวจากนาได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ลำต้นข้าวแห้งก่อนเหมือนการนวดข้าวด้วยมือ
|
โดย : เด็กชาย ปิยชาติ สู้ไชยชนะ, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 |