สัมผัสบำบัด

สัมผัสบำบัด…แนวคิดใหม่ในวิธีการรักษาอาการป่วย
การค้นพบใหม่ทางการแพทย์
สัมผัสบำบัดเป็นศาสตร์ที่มีการนำมาใช้ในกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยกว่า 20 ปีมาแล้ว วิธีนี้คือการใช้สัมผัสถ่ายทอดกำลังใจ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใยไปสู่ผู้ป่วยประกอบกับการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นและมีกำลังใจสูงขึ้นอีกด้วย
อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นคือสาเหตุของความเครียดและความกังวลในผู้ป่วยจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ความเครียดนั้นคือปัจจัยเสี่ยงของโรคสารพัด เพราะทำใหัภูมิคุ้มกันในร่างกายลดน้อยลงในขณะเดียวกันก็ทำให้ความดันน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ด้วยผลวิจัยทางคลีนิกจากสถาบัน The Touch Research Institute ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งไมอามี สหรัฐอเมริกา (University of Miami School of Medicine)
ด็อกเตอร์ Tiffany Field ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัมผัสบำบัดได้ค้นพบว่า “สัมผัสบำบัด”หรือ Touch Therapy มีผลในการลดระดับความกังวลใจช่วยลดระดับฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ทุเลาลง
รักษาลูกรักด้วยสัมผัสแห่งความรักอันอบอุ่นของแม่
ความกลัว ความเหงา ความกังวบใจบ้วยเป็นอาการทางจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อลูกป่วย และสิ่งเหล่านี้นี่เองคือบ่อเกิดของความเครียดที่เป็นส่วนหนึ่งในการลดภูมิคุ้มกันในร่างกายของลูก
จากการวิจัยทางการแพทย์ พบว่าแม่มีส่วนช่วยให้ลูกหายเร็วขึ้นจากอาการป่วยต่างๆโดยสัมผัสบำบัดที่มาจากมือคุณแม่จะเป็นสื่อถ่ายทอดกำลังใจความรัก ความอบอุ่น และความห่วงใยถึงลูกรัก วิธีการรักษาโดยการใช้สัมผัสบำบัดซึ่งให้ผลเร็วกว่าปกติจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวลูกในระยะยาว ดังนั้นไม่ใช่แค่เพียงการรักษาทางยาที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นที่ลูกต้องการแต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และการถ่ายทอดความห่วยใยของแม่ด้วยสัมผัสอันอบอุ่นซึ่งเปรียบเสมือนยาชูกำลังใจ เพื่อให้อาการป่วยของลูกรักหายเร็วยิ่งขึ้น
ดูแลด้วยสัมผัสใกล้ชิดเมื่อลูกรักไม่สบาย
นอกเหนือจากการสัมผัสบำบัด ยังมีวิธีการรักษาและเยียวยาทางกายและจิตใจซึ่งมีประสิทธิภาพเช่นกันดังนี้
 ถ้าลูกมีไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย แต่หากลูกยังมีไข้สูงหรือหายใจไม่สะดวกให้รีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเกิดอาการช็อกขึ้นได้
 หากลูกมีไข้ขึ้นสูงมากและมีอาการชัก ควรให้ยาลดไข้โดยการเหน็บทางทวารเพื่อป้องกันการสำลัก ให้ลูกนอนตะแคง ถ้าไม่มีไม้กดลิ้นให้ใช้ด้ามช้อนใส่ในปาก แล้วนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
 พยายามให้ลูกดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆเพื่อจะได้ถ่ายปัสสาวะ ระบายความร้อนออก น้ำอุ่นยังช่วยลดอาการคัดจมูกและเจ็บคอได้ดี
 ห่มผ้าให้ลูกอบอุ่นอยู่เสมอ และให้นอนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวกใช้หมอนหนุนใต้ที่นอนเพื่อยกศีรษะลูกให้สูงขึ้นจะได้หายใจสะดวก
 ใช้ยาทาระเหยทาที่หน้าอก หลังและคอ ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบให้ทาตรงเสื้อหรือที่นอนของลูก











โดย : นาย ชัชวีร์ โหราพงศ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544