เขื่อนที่สำคัญในประเทศไทย |
เขื่อนที่สำคัญของประเทศไทย
1. เขื่อนภูมิพล (เขื่อนยันฮี)
เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ กั้นลำน้ำปิง สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่ที่ อ. สามเงา จ. ตาก
2. เขื่อนเจ้าพระยา
เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กั้นลำน้ำเจ้าพระยา ที่ ต. บางหลวง อ. สรรพยา
จ. ชัยนาท เปิดใช้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
3. เขื่อนศรีนครินทร์ (เขื่อนเจ้าเณร)
เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำแควใหญ่ ในเขต อ. ศรีสวัสดิ์ฯ จ. กาญจนบุรี สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2515
4. เขื่อนสิริกิติ์ (เขื่อนผาซ่อม)
เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม อ. ท่าปลา จ. อุตรดิตถ์ เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2515
5. เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนพองหนีบ)
เป็นเขื่อนดิน สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ตั้งอยู่ที่ ต.โคกสูง อ. น้ำพอง จ. ขอนแก่น สร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2509
6. เขื่อนวชิราลงกรณ์
เป็นเขื่อนทดน้ำ ใช้ประโยชน์ในทางเกษตร กั้นลำน้ำแม่กลองที่ ต. ม่วงชุม อ. ท่าม่วง จ. กาญจนบุรี สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2512
7. เขื่อนสิรินธร (เขื่อนลำโดมน้อย)
เป็นเขื่อนคอนกรีต กั้นแม่น้ำลำโดมน้อย ต. คันไร่ อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2514
8. เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)
กั้นลำน้ำพอง ต. ทุ่งพระ อ. ดอนสาน จ. ชัยภูมิ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2516
9. เขื่อนแก่งกระจาน
เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ท้องที่ ต. สองพี่น้อง อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2509
10. เขื่อนปราณบุรี
กั้นแม่น้ำปราณบุรี ในเขตพื้นที่ อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2518
11. เขื่อนกิ่วลม
เป็นเขื่อนคอนกรีต กั้นแม่น้ำวัง ที่ อ. เมือง จ. ลำปาง สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2514
12. เขื่อนลำปาว
เป็นเขื่อนดินกั้นลำน้ำปาว และห้วยยาง ที่เขตติดต่อ อ. สหัสขันธ์ อ. ยางาตลาด และ อ. เมือง จ. กาฬสินธุ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511
13. เขื่อนน้ำอูน
เป็นเขื่อนดิน กั้นแม่น้ำอูน ในพื้นที่ อ. พังโคน จ. สกลนคร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2516
14. เขื่อนลำพระเพลิง
เป็นเขื่อนดิน กั้นแม่น้ำลำพระเพลิงในเขตพื้นที่ อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2510
15. เขื่อนลำตะคอง
เป็นเขื่อนดิน กั้นแม่น้ำลำตะคอง ในเขต อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512
16. เขื่อนน้ำพุง
กั้นลำน้ำพุงบนเทือกเขาภูพาน อ. กุดบาก จ. สกลนคร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2508
17. เขื่อนพิมาย
กั้นแม่น้ำมูล ในเขต อ. พิมาย จ. นครราชสีมา สร้างเสร็จในเมื่อ พ.ศ. 2493
18. เขื่อนห้วยหลวง
กั้นลำน้ำห้วยขวาง ในเขต จ. อุดรธานี
19. เขื่อนมะขามเฒ่า
กั้นลำน้ำตะคอง ใน อ. เมือง จ. นครราชสีมา
20. เขื่อนคนชุม
กั้นลำน้ำคนชุม และลำน้ำตะคอง เขตท้องที่ ต. หนองจะบก อ. เมือง จ. นครราชสีมา
21. เขื่อนบ้านข่อยงาม
กั้นลำน้ำตะคอง ที่ ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา จ. นครราชสีมา
22. เขื่อนบ้านกันผม
กั้นลำน้ำตะคอง ที่ ต. หนองยาง อ. จักราช จ. นครราชสีมา
23. เขื่อนบ้านทุ่ง
กั้นลำน้ำบริบูรณ์ ที่ ต. บ้านปรุใหญ่ อ. เมือง จ. นครราชสีมา
24. เขื่อนกระเสียว
เป็นเขื่อนเก็บน้ำเพื่อใช้ในการชลประทาน และบรรเทาอุทกภัยให้แก่พื้นที่ในเขตโครงการสามชุก อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี
25. เขื่อนพระรามหก
เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย กั้นแม่น้ำป่าสัก ที่ ต. ไก่ขัน จ. พระนครศรีอยุธยา ทำพิธีเปิดเมื่อพ.ศ. 2467
26. เขื่อนนครนายก
กั้นแม่น้ำนครนายก ที่ท่าหุบ อ. เมือง จ. นครนายก เพื่อทดน้ำส่งในเขตโครงการนครนายก เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งที่สองของประเทศไทย
27. เขื่อนบางลาง
กั้นแม่น้ำตานี จ. ปัตตานี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์
28. เขื่อนบ้านคูระ
กั้นแม่น้ำตาปี ต. แม่ลาน อ.โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี
29. เขื่อนเพชร
เป็นเขื่อนทดน้ำกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ส่งทดน้ำในเขตโครงการเพชรบุรี ในเขตพื้นที่ ต. ท่าคอย อ. ท่ายาง
จ. เพชรบุรี
30. เขื่อนห้วยเสน่ง
เป็นเขื่อนส่งน้ำให้เขตโครงการห้วยเสน่ง กั้นห้วยเสน่งที่บ้านถนน อ. เมือง จ. สุรินทร์
31. เขื่อนน้ำงึม
กั้นแม่น้ำโขง เขต จ. หนองคาย เป็นโครงการกักเก็บน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในราชอาณาจักรลาว ดำเนินงานโดย คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียตะวันออกไกลขององค์การสหประชาชาติ
|
โดย : นาย อิสสระ เรืองพงศรีสุข, โรงดรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 |