บทคัดย่อ
"การอ่าน" คือ วัฒนธรรม เป็นนิยามของ Matthew Arnold นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ ในปัจจุบันวัฒนธรรมของเราตกอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วง ยิ่งไปกว่านั้นการที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะอนุบาลจนถึงมัธยมต่างพากันเข้าสู่การเรียนการสอนโดยอินเทอร์เน็ต ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงและเมื่อบวกกับความนิยมการอ่านที่ถดถอยลงไปเรื่อย ๆ เพื่อพยายามรักษาวัฒนธรรมการอ่านของเราไว้และเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อแก้เจตนาดีที่ชี้นำไปผิดทางของคนบางกลุ่ม นี่คือเหตุผล 10 ประการที่อินเทอร์เน็ตไม่สามารถแทนที่ ห้องสมุดได้
1. ราคาในการสืบค้น ถึงแม้เว็บเพจจะมีมากกว่าหนึ่งร้อยล้านเว็บจนจำไม่หมด แต่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ใช้โดยไม่คิดราคามีน้อยมาก ยิ่งถ้าต้องการค้นข้อมูลจาก Journal of Biochemistry, Physics Today หรือ Journal of American History คุณจะต้องจ่ายเงินเป็นร้อย ๆ ถึงพัน ๆ เหรียญ
2. เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร อินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ไม่ได้ทำรายการหนังสือไว้ ไม่ว่าคุณจะใช้ Hotbot , Lycos, Dogpile, Infoseek หรือเครื่องมือช่วยค้นอะไรก็ตามคุณก็ไม่อาจค้นข้อมูลที่ต้องการได้ครบ พวกเว็บไซต์ทั้งหลายก็มักไม่ได้ทำการ Update ข้อมูลรายวัน รายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งรายเดือน
3. ยังไม่การควบคุมคุณภาพ เราต้องการอินเทอร์เน็ตแต่สิ่งที่แถมมากับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และประวัติศาสตร์ ก็คือ กองขยะปฏิกูลดี ๆ นี่เอง ที่พวกวัยรุ่นมั่วแต่ศึกษาเรื่องเพศจากเว็บไซต์ลามกต่าง ผิดกับห้องสมุดที่ซึ่งบรรดาสิ่งพิมพ์ไร้สาระหรือเป็นพิษเป็นภัยเป็นสิ่งหายาก
4. ข้อมูลไม่ครบอาจเป็นภัย จริงอยู่ที่วารสารอิเล็กทรอนิกส์นำคุณประโยชน์มาให้ห้องสมุดอย่างมาก แต่เว็บไซต์ที่เป็นฉบับสมบูรณ์ (full text) ก็ไม่ได้ให้เนื้อหาครบถ้วนเสมอไป และสิ่งที่ขาดหายไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายเช่น ตาราง กราฟ และสูตรการคำนวณต่าง ๆ มักแสดงผลในรูปแบบที่ไม่สามารถอ่านได้
5. ผลประโยชน์มาก่อนในอินเทอร์เน็ต มีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการประมาณ 1.5 ล้านเรื่อง และจำนวนนี้มีน้อยกว่า 2 แสนเรื่องที่จะค้นหาได้บนอินเทอร์เน็ต ในจำนวนนี้ประมาณ 20,000 ชื่อเรื่องยังเป็นเรื่องที่ตีพิมพ์ขึ้นก่อนปี ค.ศ.1925 เพราะเรื่องเหล่านั้นไม่มีข้อจำกัดทางลิขสิทธิ์มาบังคับ ตัวแทนจำหน่ายจะให้ห้องสมุดแต่ละแห่งใช้หนังสืออิเล็กทรอนิส์ได้แห่งละ 1 copy ถ้าจะยืมหนังสือผ่านเว็บคนอื่นก็ไม่สามารถดูได้
6. สุขภาพของผู้อ่าน E-books ถ้าลองอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นานกว่าครึ่งชั่วโมงจะพบอาการปวดศรีษะและเมื่อยล้าสายตา
7. มหาวิทยาลัยขาดห้องสมุดไม่ได้ ได้มีการสำรวจความเป็นไปได้ในการมีห้องสมุดเสมือน (ที่ทรัพยากรทุกอย่างอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์) โดยใช้เวลาทำการศึกษา 2 ปี และทางออกคือ การมีห้องสมุดแบบเดิม พร้อมทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่แข็งแกร่งเป็นส่วนประกอบ
8. ต้นทุนในการสร้างห้องสมุดเสมือน ต้นทุนของการจัดเก็บทุกอย่างในรูปดิจิทัลนั้นสูงอย่างไม่น่าเชื่อ แค่ต้นทุนในการขอลิขสิทธิ์ให้ และหนังสือหายากจะทำยังไงกับตัวเล่มหนังสือหายากและหนังสือที่มีคุณค่าราคาแพงต่าง ๆ เมื่อมันถูกจัดเก็บในรูปดิจิทัลแล้วทิ้งลงขยะไปหรือและภาวนาว่าไฟฟ้าจะไม่ดับ
9. อินเทอร์เน็ต : กว้างไกล ทันสมัย แต่ไม่ลึกซึ้ง เมื่อมองอินเทอร์เน็ตในแนวลึกแล้ว จะพบแต่การเพิกถอนยกเลิกรายการเก่า ๆ เพื่อแทนที่ด้วยรายการใหม่กว่า ทั้ง ๆ ที่เรื่องที่เก่ากว่านั้นอาจมีประโยชน์มากและจำเป็นสำหรับนักศึกษาที่จะต้องใช้ค้นคว้า การจะค้นข้อมูลเก่านั้นแพงมาก
10. อินเทอร์เน็ตพบพาได้ทุกที่ แต่หนังสือพกพาได้ทุกทาง
เว็บไซต์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่มันเป็นความน่าเศร้าใจอย่างยิ่งที่มีคนพยายามจะทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามาแทนที่ห้องสมุดมากกว่าจะเป็นอุปกรณ์ประกอบห้องสมุดคือตัวแทนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเราตั้งแต่เสาไม้สลักของเหล่าอินเดียแดงจนถึงความรู้ทั้งหมดทั้งปวง ถ้าเรามองว่าห้องสมุดกลายเป็นสิ่งพ้นสมัย โบราณคร่ำครึ นั่นก็เป็นสัญญาณของจุดจบแห่งจิตสำนึกที่มีต่อประเทศชาติ สิ่งที่เหลืออยู่ในวัฒนธรรมของเราจะถูกโยนลงถังขยะแห่งประวัติศาสตร์
ที่มา : แปลและเรียบเรียงโดย ปาจรีย์ พิพัฒน์ชูเกียรติ, วารสาร โดมทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2544), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
|