บทคัดย่อ
ห้องสมุดดิจิทัล หมายถึงห้องสมุดที่ต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแหล่งสารสสนเทศที่อยู่หลาย ๆ แหล่งและการเชื่อมโยงนั้นต้องไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้และสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางเป็นสากล คอลเลคชั่นที่เก็บไม่จำกัดเฉพาะเอกสาร แต่ยังครอบคลุมถึงวัสดุดิจิตอลอื่น ๆ ที่สร้างขึ้น ซึ่งไม่อยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบของห้องสมุดดิจิตตอล ได้แก่ 1. ส่วนเชื่อต่อ ผู้ใช้ (User interface) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนสำหรับผู้ใช้และส่วนสำหรับผู้ควบคุมโดยผู้ใช้สามารถใช้เว็บบราวเซอร์ในการติดต่อกับส่วนบริการผู้ใช้ได้
2. รีพอสิโทริ (Repository) คือที่เก็บและจัดการดิจิตอลออบเจ็กต์และข้อมูลต่าง ๆ
3. ระบบควบคุม (Handle system) คือระบบที่ทำหน้าที่แสดงดิจิตอลออบเจ็กต์
4. ระบบการค้นหา (Search system) คือระบบที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลก่อนการเข้าไปใช้ข้อมูล จาก รีพอสิโทริ ฐานข้อมูลสำหรับห้องสมุดดิจิตอล แบ่งได้เป็น 1. ฐานข้อมูลสื่อผสม (Multimedia database) ใช้ในการนำเสนอสารสนเทศที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ และประกอบด้วยสื่อหลาย ๆ แบบ 2.ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text database) เป็นลักษณะฐานข้อมูลที่บันทึกเรื่องราวทั้งหมดเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เครื่องอ่านได้ เมื่อต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลขึ้นมาอ่านได้เหมือนกับการอ่านหนังสือทั้งเล่ม 3.ฐานข้อมูลภาพลักษณ์ (Image database) เป็นฐานข้อมูลเต็มรูปชนิดหนึ่งผลิตได้จากการใช้เครื่องสแกนเนอร์อ่านเอกสารหรือสารสนเทศใด ๆ หรือใช้กล้องถ่ายรูป หรือวีดิทัศน์ภาพถ่ายต่าง ๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รูปแบบการจัดการฐานข้อมูลของห้องสมุดดิจิตตอล ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปวัสดุสิ่งพิมพ์และทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทรัพยากรทั้ง 2 ส่วนนี้อาจมาจากแหล่งภายนอก หรือ มาจากแหล่งภายในของห้องสมุดดิจิตอลเอง ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปวัสดุสิ่งพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการแปลงสารสนเทศจากวัสดุสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปของดิจิตอล โดยอาจจะสแกนแล้วแปลงเป็นตัวอักษรด้วยซอฟต์แวร์ประเภท Optical Character Recognition เพื่อให้สามารถนำข้อมูลออกมาใช้ในลักษณะของตัวอักษรได้ ส่วนทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสารสนเทศที่อยู่ในรูปดิจิตอลแล้ว แต่อาจมีการจัดเก็บในรูปแบบที่แตกต่างกัน ต้องทำการแปลงวัสดุอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่ห้องสมุดดิจิตอลนั้น ๆ จะสามารถรองรับได้
ที่มา : สงวน พงศ์กิจวิทูร เมธี พงศ์กิจวิทูร, ฐานข้อมูลสำหรับห้องสมุดดิจิทัล, วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 27, ฉบับที่ 3, เดือน กรกฎาคม - กันยายน 2543
|