กำเนิดนาฬิกา |
|
เดิมทีเดียวการบอกเวลาอาศัยปรากฏการณ์จากธรรมชาติ ดังเช่นระยะเวลาหนึ่งวันกำหนดจากการที่โลกหมุนรอบตังเองครบหนึ่งรอบ โดยสังเกตจากดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออกเคลื่อนตัวสูงขึ้นสู่ท้องฟ้าเรื่อยๆจนเลยลับขอบฟ้าด้านตะวันตก แล้วจึงโผล่ขึ้นมาใหม่ เป็นอันครบรอบนับเวลาได้หนึ่งวัน คนสมัยก่อนจึงรู้เวลาด้วยการสังเกตตำแหน่งต่างๆ ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งบอกเวลา เช้า สาย
เที่ยง บ่าย เย็น
ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์นาฬิกาขึ้นใช้ เชื่อกันว่านาฬิกาแดดเป็นวิธีจับเวลายุคแรกสุดของโลกแบบหนึ่ง มีใช้มานานกว่า 5,000 ปีแล้วในอียิปต์
|
|
เงาของแสงแดดที่ส่องต้องแผ่นโลหะบนหน้าปัด จะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ รอบหน้าปัดตัวเลขแต่ละชั่วโมง เวลาจะเปลี่ยนไปตามเงาแดดซึ่งเคลื่อนที่นั้น
ต่อมามีนาฬิกาทรายและนาฬิกาน้ำ เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นนาฬิกาทรายมาแล้ว คงไม่ต้องอธิบายซ้ำ ส่วนนาฬิกาน้ำนั้น หลักการคือน้ำจะไหลเข้าและออกจากถัง ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงหรือทุ่นที่ลอยขึ้นลงจะแสดงเวลาที่เปลี่ยนไป นาฬิกาของจีนมีใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14
อุปกรณ์จับเวลาที่เป็นจักรกลเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 15-17 โดยการประดิษฐ์ลานและลูกตุ้มนาฬิกาให้ทำหน้าที่หมุนเฟืองนาฬิกา นาฬิกาจักรกลที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้จะมีเข็มบอกเงลาบนหน้าปัดตัวเลข และทำให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถพกติดตัวได้ ปัจจุบันนาฬิกาแขวนหรือตั้งกับที่และนาฬิกาพกจำนวนมากเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาศัยการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอของผลึกควอตซ์มาจับเวลาได้อย่างงแม่นยำ
|
โดย : นางสาว จุฑารัตน์ ทิมทอง, ศรีสำโรงชนูปภัมภ์, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544
|