ไปดาวอังคาร..ไม่ยากอย่างที่คิด |
ไปดาวอังคาร...ไม่ยากอย่างที่คิด
การเดินทางดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์มาแต่ใหนแต่ไรนับแต่อดีต หลายครั้งก็ทำให้เราได้เรียนรู้และพบสิ้งใหม่ๆอออยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นการเดินทางเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ที่เหมาะสมกับการดำลงชีวิตแต่ปัจจุบันในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทำให้การเดินทางของมนุษย์สะดวกสะบายและรวดเร็วมากขึ้น ขอบเขตการเดินทางของมนุษย์ก็เริ่มขยายออกไปเรื่อยๆจากเดิมเป็นแค่การเดินทางข้ามทวีป เารก็สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญออกไปสำรวจนองอวกาศโดยเริ่มที่ดวงจันทร์ และเริ่มวางโครงการเดินทางไปยังดวงดาวอื่นที่อยู่ไกลออกไป
คงจะไม่เกินจริงไปนักหากจะกล่าวว่าในอนาคตอันใกล้คนธรรมดา (ที่พอจะมีสตางค์) ก็สามารถเดินทางไปท่องอวกาศกับเขาได้ด้วนเหมือนกันไม่จำกัดแต่นักบินอวกาศที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา
ที่ว่าจะไม่เกินจริงก็มีบริษัทเอกชนรวมไปถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่เริ่มทำการศึกษาและออกแบบยานอวกาศและวิธีการเดินทางท่องไปในอวกาศกันแล้วในปัจจุบัน ที่สำคัญก็คือท้ายที่สุดแล้วพวกเขาหวังที่จะให้มันเป็นการเดินทางในเชิงพาณิชย์ไม่ต่างอะไรจากเครื่องบินโดยสารในปัจจุบัน
ตัวอย่างก็เช่นนักวิจัยและวิศวกรจากมหาวิทยาลัย Purdue ที่กำลังออกแบบยานอวกาศรุ่นใหม่ให้เป็นเหมือนโรงแรมเคลื่อนที่ในอวกาศเพื่อการเดินทางไปสู้ดาวอังคารซึ่งเป็นเป้าหมายที่อยู่ในความสนใจของใครหลายคนในตอนนี้
แต่การเดินทางในเชิงพาณิชย์คงต้องอาศัยเงินจากผู้โดยสาร แน่นอนว่าหากสามารถบรรทุกผู้โดยสารไปได้มากเท่าไหร่ ความเป็นไปได้ที่จะไม่ขาดทุนก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง
"แรงโน้มถ่วง" จึงเป็นคำตอบที่จะทำให้การเดินทางไปดาวอังคารในเชิงพาณิชย์มีความเป็นไปได้มากขึ้น
Cycler คือชื่อยานต้นแบบที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของดวงดาวเป็นตัวขับเคลื่อนให้ยานสามารถเดินทางไปยังจุหมายปลายทาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของมัน เพื่อเร่งความเร็วให้มากขึ้น ทำให้เราไม่ต้องเร่งเชื้อเพลิงติดตัวขึ้นไปเป็นจำนวนมากนั้นเอง
เส้นทางการเดินทางของยานอวกาศลำนี้อาจจะไม่เป็นเส้นตรงจากโลกไปสู้ดาวอังคารเลยเสียทีเดียว เนื่องด้วยต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ทั้งหลาย คือเมื่อยานถูกเร่งความเร็วเข้าไปใกล้กับดาวเคราะห์ดวงนั้น เส้นทางของยานอวกาศก็จะเปลี่ยนไปเป็นเส้นโค้งรูปตัว U โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์นั้นคอยเหวี่ยงยานอวกาศให้กลับออกมาในทิศทางที่เราต้องการ
ซึ่งผลพลอยได้ก็คือความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่งมากอย่างไรก็ตาม เนื่องจากคาบการโครจรและรูปแบบการโครจรที่ต่างกันเป็นอุปสรรคที่สำคัญนในการหาเส้นทางระหว่างดาวอังคารกับโลกเนื่องจากวงโครจร
ของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปเกือบจะวงกลม ในขณะที่ดาวอังคารเป็นรูปไข่หรือวงรี
ดังนั้นระยะทางระหว่างโลกกับดาวอังคารจึงขึ้นอยู่กับดาวอังคารว่ากำลังโครจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งใดนั่นเอง และหากว่าเราต้องการให้ระยะทางและเวลาในการเดินทางระหว่างโลกกับดาวอังคารนั้นสั้นที่สุด เราคงจะได้ตารางการเดินทางที่มีความเป็นไปได้ไม่บ่อยนัก วึ่งอาจจะเป็น เดือน ปี หรือหลายปีต่อครั้งก็เป็นได้
ทางทีมผู้ออกแบบคาดว่ายาน Cycler น่าจะเปิดให้บริการเที่ยวปฐมฤกษ์ได้ราวปี
ค.ศ.2018 โดยผู้โดยสารเที่ยวแรก 50 คน
้
|
โดย : นางสาว ณัทธมน สุทธโสม, โรงเรียนอรัญประเทศ, วันที่ 22 มีนาคม 2545 |