เมื่อลูกรักไม่สบาย |
|
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับคุณแม่เมื่อลูกรักของท่านไม่สบาย
1. ภาวะง่วงซึมเบื่ออาหาร มีไข้ เป็นอาการแสดงเริ่มแรกของอาการเจ็บป่วยหลายๆประเภท
2. ถ้าภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นให้พาไปนอน ถ้าอาการไม่ทุเลาให้พาไปพบแพทย์
3. อาการเจ็บป่วยบางชนิดเป็นโรคติดต่อ ต้องแยกเด็กออกเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ
ข้อควรปฏิบัติ
* * การวัดอุณหภูมิ
วัดได้ทั้งทางปาก ทวารหนักและรักแร้ อย่าวัดอุณหภูมิทันทีหลังรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มใดๆ หรือเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
วิธีวัด
1.ให้ล้างปรอทในน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
2.ถ้าวัดทางปากให้ใส่ส่วนที่เป็นกระเปาะไว้ใต้ลิ้นและให้เด็กหุบปาก (แต่ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก)
3.เอาออกหลังจากใส่ไว้ 2 นาที อ่านตัวเลขจดไว้
4.สลัดปรอทลง ล้างในน้ำเย็น เช็ดให้แห้ง และจุ่มไว้ในน้ำยาฆ่าเชื้อ
การแปลผลค่าปรอท
อุณหภูมิร่างกายปกติประมาณ 37 องศาเซลเซียส แต่ค่าของอุณหภูมิอาจขึ้นลงได้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เช่น ในเด็กอุณหภูมิจะสูงขึ้นเมื่อตื่นเต้น หรือในทารกที่ร้องให้ไม่หยุด ดังนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ได้หมายความว่าเด็กป่วยเสมอไป แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 37.8 องสาเซลเซียส แสดงว่ามีไข้ ถ้าขึ้นถึง 40องสาเซลเซียสแสดงว่าไข้สูงแล้ว
การลดอุณหภูมิ
ทำได้โดยการเช็ดตัวลดไข้ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย หรือให้รับประทานยาลดไข้ และให้ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้มากๆ
อาการอื่นๆที่ควรดูแล
**อาการอาเจียน
ขณะที่ลูกมีอาการอาเจียน อย่าตกใจกลัว หากระโถนมารองไว้ เมื่ออาเจียนเสร็จให้บ้วนปากด้วยน้ำ และเช็ดตัวให้มารดาควรอยู่กับบุตรเผื่ออาเจียนออกมาอีก และควรงดน้ำ 2-3ชั่วโมง ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วยควรพาไปพบแพทย์
|
|
อาหารสำหรับผู้ป่วย
ในเด็กเมื่อป่วยมักจะเบื่ออาหาร และอาหารบางชนิดมักจะย่อยยากสำหรับในภาวะป่วย และถ้าจะให้ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับอาหารตรงกับโรค ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำทั่วไป
1. ถ้ามีไข้สูงควรให้ดื่มน้ำและน้ำหวานบ่อยๆ หรือเป็นนมก็ได้ แต่ต้องเป็นชนิดไขมันต่ำ
2. ถ้าหิวไม่ว่ามีไข้หรือไม่อาจจะให้ โจ๊ก ขนมปังปิ้ง ไข้ต้มนุ่มๆ สังขยา ไอศกรีม หรือคุกกี้ เด็กที่ฟื้นจากไข้ควรจะให้เนื้อ ปลา และผัก
รายที่เป็นโรคหวัดธรรมดาและเบื่ออาหาร อาหารเหลวๆมีน้ำมากๆจะช่วยให้เด็กทานได้มากขึ้น เมื่อฟื้นจากไข้ความอยากรับประทานอาหารจะกลับคืนมาเอง ควรปล่อยให้เขาเลือกรับประทานเอง ไม่ควรบีบบังคับให้รับประทานทุกวัน
การให้ยา
หากให้ยาผิดอาจเป็นอันตรายได้มาก จึงต้องให้ยาด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรให้ยาเองหากแพทย์ไม่ได้สั่ง
ข้อควรจำ
1.เมื่อมีความชัดเจนในอาการที่ป่วย
2.ตรวจดูว่ายาที่ให้นั้นถูกต้องหรือไม่และเก็บฉลากยาไว้เสมอ
3.เวลาและขนาดที่ให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งหรือไม่
4.ยาที่ไม่ละลายควรบดและเติมน้ำหวาน หรือน้ำผึ้ง ให้ยาแล้วควรจดขนาดและเวลาไว้ด้วย
ควรให้ยาโดยปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด.
|
โดย : นางสาว พรทิพย์ อ่อนแก้ว, โรงพยาบาลอ่าวลึก จ.กระบี่, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 |