ท่าดอกบัว

ปัทมอาสนะ - ท่าดอกบัว
Padma-asana
The Lotus Posture

"วางเท้าขวาไว้บนต้นขาซ้าย และเท้าซ้ายบนต้นขาขวา ให้ส้นเท้าตั้งขึ้น วางมือบนต้นขาหงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้เรียกว่า ปัทมอาสนะ ที่สามารถทำลายโรคร้ายได้ทุกชนิด ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำท่านี้ได้ เว้นเสียแต่ผู้มีปัญญาเท่านั้น" จากหนังสือหัตถโยคะปฏิบัติ 1.46-49

ความหมาย
ปัทมา หมายถึง ดอกบัว ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์สำคัญในแนวคิดแบบอินเดีย โดยการเปรียบธรรมชาติของมนุษย์ว่าเหมือนดอกบัวซึ่งไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากโคลนตมที่หล่อเลี้ยงตัวเองอยู่ ท่านี้นับว่าเป็นท่านั่งที่ได้รับการอ้างอิงกับการฝึกโยคะและสมาธิ

วิธีปฏิบัติ
นั่งบนพื้น ยื่นขาไปข้างหน้า
งอเข่าขวา ใช้มือทั้งสองจับเท้าขวาไปวางบนต้นขาซ้าย ให้ส้นเท้าเข้าใกล้สะดือให้มากที่สุด
งอเข่าซ้าย ใช้มือทั้งสองจับเท้าซ้ายไปวางบนต้นขาขวา ให้ส้นเท้าเข้าใกล้สะดือให้มากที่สุด
เข่าทั้งสองข้างควรอยู่บนพื้น ให้ส้นเท้าตั้งขึ้น กระดูกสันหลังตรงแต่อย่าเกร็ง
อาจสลับตำแหน่งขาได้เมื่อรู้สึกไม่สบาย

คำแนะนำ
เมื่อนั่งท่าปัทมอาสนะ สามารถวางมือได้ 3 แบบ ดังนี้
วางมือซ้อนกัน บนส้นเท้า ฝ่ามือหงายขึ้น ท่านี้เหมาะสำหรับการทำสมาธิ
วางฝ่ามือคว่ำบนหัวเข่า
วางฝ่ามือหงายบนหัวเข่า นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ จรดกันเป็นวงกลม นิ้วที่เหลือกางออก ท่านี้สำ หรับการทำปราณญามะ (การหายใจแบบโยคี)

ท่าปัทมอาสนะช่วยให้ผ่อนคลาย และมีสมาธิดี ท่านี้ช่วยให้เกิดสมดุลทางด้านร่างกาย และจิตใจอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อสามารยืดเข่าออกไปได้ขณะทำท่าปัทมอาสนะโดยไม่รู้สึกอึดอัด ท่านี้ก็จะมีประโยชน์ในการช่วยผ่อนคลายระบบประสาท และสร้างสมาธิที่ดี

ระยะเวลา / การทำซ้ำ
ระยะเวลาในการคงท่านี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ หากอยู่ในช่วงฝึกอาสนะธรรมดา อาจคงท่านี้ไว้ค่อนข้างนาน หรือจนกว่าจะรู้สึกเมื่อยขา เมื่อถึงช่วงฝึกท่านี้เพื่อสร้างสมาธิ ให้คงท่านี้ไว้เท่ากับระยะที่ตั้งใจทำสมาธิ

ความหลากหลายของท่า
หากท่าปัทมอาสนะยากเกินไป คุณอาจลองท่าอัตปัทมอาสนะ หรือท่ากึ่งดอกบัว (อัต หมายถึง ครึ่ง) คุณสามารถวางเท้าเพียงข้างเดียว (แทนที่จะวางทั้ง 2 ข้าง) ไว้บนต้นขา เปลี่ยนอิริยาบถเป็นครั้งคราวเพื่อให้หัวเข่าได้ยืดเส้นบ้าง ผู้ที่ไม่สามารถทำท่าปัทมอาสนะได้เลย ให้ลองท่าบทโคนะแทน




โดย : นางสาว Chomkwan Suppasuk, ripw Klongluang patumtani 13180, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545