อาหารฉายรังสี:อีกทางเลือกหนึ่งของอาหารที่ปลอดภัย

การฉายรังสี เป็นเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้อาหารปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่า การฉายรังสีจะสามารถกำจัดอันตรายอันเกิดจากอาหารเป็นพิษได้ และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอาหารที่เราซื้อนั้นจะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยทั่วไปการฉายรังสีจะสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล แคมไพโลแบคเตอร์ และซาโมเนลลา ซึ่งเชื้อต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นทำให้เกิดการเจ็บป่วยในมนุษย์
การฉายรังสีอาหารมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 องค์การอนามัยโลกได้รับรองความปลอดภัยของอาหารฉายรังสีจำนวนมาก ประมาณ 37 ประเทศที่ยอมรับอาหารฉายรังสี ซึ่งมีมากกว่า 40 ชนิด สมาคมแพทย์สหรัฐอเมริกา หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ก็รับรองกระบวนการดังกล่าว




ผู้บริโภคหลายคนคิดว่าอาหารที่ฉายรังสีแล้วจะทำให้เกิดสารกัมมัน ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น การฉายรังสีอาหารเป็นกระบวนการที่อาหารผ่านสนามพลังงานที่มีรังสีแกมม่า และพลังงานรังสีแกมม่าจะคล้ายกับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือไมโครเวฟ แต่จะมีคลื่นที่สั้นกว่า และมีพลังงานมากกว่า รังสีแกมม่าจะปล่อยพลังงานเข้าไปในอาหารในลักษณะที่คล้ายกับคลื่นไมโครเวฟ และอาหารก็จะไม่ถูกทำให้เป็นสารกัมมัน ขณะเดียวกันก็ไม่มีรังสีตกค้างที่ทำให้เกิดโรค ดังนั้น อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ข้อดีของการฉายรังสีก็คือ ใช้ได้ทั้งอาหารที่เป็นของแข็งและของเหลว
ปริมาณรังสีที่ใช้จะมีผลแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การใช้รังสีปริมาณที่ต่ำ โดยปกติจะใช้สำหรับขยายระยะเวลาการเก็บอาหารให้นานขึ้น ช่วยชะลอการสุกของผลไม้ ส่วนปริมาณรังสีที่สูง จะใช้ในการกำจัดปริมาณแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ผ่านการฉายรังสี จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงนับว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค



โดย : นางสาว นฤมล องค์บริรักษ์กุล, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย อ.เมือง จ.ภูเก็ต, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544