ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักระบาดในฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเรียน อายุระหว่าง 5-14 ปี แต่อาจพบได้ในทุกกลุ่มอายุ
ยุงลายอาศัยอยู่ตามบ้านเรือนและโรงเรียน ออกหากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นตุ่มน้ำ แจกัน ถ้วยรองขาตู้ กะลา กระถางแตก และ ยางรถยนต์ เป็นต้น

อาการของผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก

ุ มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน มีไข้สูงตลอดเวลาประมาณ 2-3 วัน
ุ หน้าแดง กระหายน้ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ุ ต่อมา 3-4 วัน ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการซึม ตัวเย็น ปัสสาวะน้อย กระวนกระวายและอาจมีเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นสีดำ มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นต้น
ุ ในรายที่เป็นมาก อาจจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติและเสียชีวิตได้




ทำอย่างไรถ้าสงสัยเป็นไข้เลือดออก

ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ห้ามให้ยาลดไข้ประเภทแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น ควรใช้ ยาพาราเซตามอล จากนั้นควรรีบพาไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย



ุ ระวังอย่าให้ยุงกัดเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางวัน
ุ ให้เด็กนอนกางมุ้ง
ุ อย่าให้เด็กอยู่ในบริเวณที่มืดหรืออับลม
ุ ใช้ยากันยุง
ุ ปิดฝาตุ่มน้ำกิน น้ำใช้ ให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายไปวางไข่
ุ ใส่ยาฆ่าลูกน้ำ หรือเกลือ ในถ้วยน้ำรองขาตู้กับข้าว เพื่อกำจัดลูกน้ำ
ุ แจกันดอกไม้ ขวดเลี้ยงต้นไม้ควรใช้กระดาษนิ่ม ๆอุดรอบก้านดอกไม้เพื่อกันยุงลงวางไข่
ุ ถังหรือที่ใส่น้ำในห้องส้วม ควรทำความสะอาดบ่อย ๆ และใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำ
ุ ทำลายเศษภาชนะที่น้ำขังได้ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น กระป๋อง กะลา โอ่ง ไห ยางรถยนต์ เพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ยุงลาย
ุ ใส่ปลากินลูกน้ำในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้ เช่น ปลาหางนกยูง

การดูแลเด็กที่มีอาการไข้แล้วชัก

การดูแลเด็กที่มีอาการไข้แล้วชัก ก่อนอื่นเมื่อพบว่าชักต้องจับเด็กให้นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งหรือตะแคงเฉพาะศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อเปิดทางให้อาหารหรือสิ่งที่อาเจียนสามารถไหลออกมาได้ จะได้ไม่สำลักเศษอาหารลงไปในหลอดลมและปอด ที่สำคัญเมื่อดูแลให้ทางเดินหายใจเป็นไปได้สะดวกและป้องกันการสำลักเศษอาหารแล้วต้องรีบลดไข้ให้เร็วที่สุดโดยใช้น้ำเช็ดตัว ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนหรือเย็นมากเกินไปการเช็ดตัวต้องเช็ดให้ทั่วโดยเฉพาะตามซอกรักแร้ ซอกคอ หน้าผาก ข้อพับแขนและขา ขณะเดียวกันควรให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอลทันที อาการชักจะหายไปในเวลาอันสั้นโดยเฉพาะเมื่อไข้ลดลง จากนั้นควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาต่อไป








โดย : นางสาว ปิยะมาศ แสงเรืองเกียรติ, โรงพยาบาลกระบี่, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544