สมุนไพรไทย |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea lamk
ชื่อท้องถิ่น
ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) ยะหา (ปัตตานี)
ลักษณะของพืช
ขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อยประมาณ10 คู่ ใบเรียวปลายใบมนหยักเว้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียว ใต้ใบซีดกว่าด้านบน และมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นสีเหลือง ฝักแบนหนาขี้เหล็กปลูกไม่ยาก ใช้เมล็ดปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย
คุณค่าด้านอาหาร
ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็ก มีรสขม ต้องคั้นน้ำหลายๆครั้งก่อน จึงนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมใช้ทำแกงกะทิ หรือทานเป็นผักจิ้ม ช่วยระบายท้องได้ดี ทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารได้หลายอย่างคือ วิตามินเอ และวิตามินซีค่อนข้างสูง ในดอกมีมากกว่าในใบ ใบขี้เหล็กบ่มรวมกับผลไม้ ช่วยให้ผลไม้สุกเร็ว
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ส่วนทั้งห้า(ราก ต้น ใบ ดอก ผล) เพื่อเป็นการอนุรักษ์ต้นควรใช้ใบและดอก
รสและสรรพคุณยาไทย
ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร
|
|
ประโยชน์ทางยา
พบสารชื่อว่าบาราคอล (barakol) อยู่ในใบอ่อนและดอกตูม และยังพบว่าสารอัลคาลอยด์(alkaloid) ที่อยู่ในใบขี้เหล็กมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับได้ ขี้เหล็กเป็นยารักษา
อาการท้องผูก ใช้แก่นขี้เหล็กราว 1 กอบ (ประมาณ 50 กรัม) หรือทั้งห้าส่วน (ราก ต้น ใบ ดอก ผล)ประมาณ 4-5 กำมือ (20-25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารหรือก่อนอน
อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ใช้ใบแห้งหนัก30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยาแช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้า ขี้เหล็ก) ทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน
|
|
|
กลุ่มสามใบเถา
นางสาวจารุพรรณ คำสุข เลขที่ 8
นางสุรารักษ์ หมกแดง เลขที่ 65
นางอังคณา เพชรมณี เลขที่ 76
|
โดย : นางสาว jarupun comsook, โรงพยาบาลกระบี่, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544
|