http://www.dentalcouncil.or.th/history/index.asp
ทันตแพทยสภา
ทันตแพทยสภาก่อตั้งในปี พ.ศ.2537 ตามกฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ทันตแพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพในทางการทันตแพทย์
2. ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก
3. ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
4. ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
5. ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการทันตแพทย์และการทันตสาธารณสุข
6.ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการทันตแพทย์และการทันตสาธารณสุข
7.เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทย
1. รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
2. วินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ในการที่ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมถูกกล่าวหา
หรือถูกกล่าวโทษว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม คือ
(1) ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
(2) ว่ากล่าวตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาต
3. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาทันตแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพทันตกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา
4. รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพทันตกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพทันตกรรม
5. รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
6. ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพทันตกรรม
7. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทันตแพทยสภา
พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 ได้ให้ความหมาย วิชาชีพทันตกรรม ดังนี้
1. เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์ และ
2. การกระทำนั้นเกี่ยวกับเรื่องใดหรือเรื่องหนึ่งต่อไปนี้ คือ
2.1 การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด หรือการป้องกันโรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟันโรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกร และกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร
2.2 การกระทำทางศัลยกรรม และการกระทำใด ๆในการบำบัดบูรณะและฟื้นฟูสภาพ อวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวกับขากรรไกร
2.3 การทำฟันในช่องปาก
|