การปลูกกระดูกข้ามคน


การปลูกกระดูกข้ามคน

ร่างกายมนุษย์มีกระดูกเป็นโครงร่าง ถ้ากระดูกเป็นโรคเช่น เนื้องอก จะทำให้กระดูกเสียไปบางส่วน จึงต้องใช้กระดูกจากส่วนอื่นของร่างกายมาทดแทน
ในเด็กแพทย์ไม่สามารถใช้กระดูกจากตัวเด็กเองมาทดแทนได้เนื่องจากกระดูกเด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และในคนแก่กระดูกอาจจะบางมาก หรือ
ในรายที่ต้องใช้กระดูกจำนวนมากในการรักษา จึงไม่สามารถใช้กระดูกจากตัวผู้ป่วยเองได้ ศัลยแพทย์จึงต้องหากระดูกมาทดแทนให้ซึ่งโดยมากมักมาจาก
ผู้ป่วยที่เสียชีวิต และไม่เป็นโรคติดต่อ ซึ่งเรียกว่า" การปลูกกระดูกข้ามคน "
ปัจจุบันการปลูกกระดูกมีหลายวิธีซึ่งได้ผลต่างๆดังนี้
1.การใช้กระดูกจากผู้เสียชีวิตโดยตรง อาจจะมีการอักเสบเฉพาะที่รุนแรงในบางครั้ง
2.กระดูกสดที่ไปแช่ในอุณหภูมิต่ำมาก คือ-70 องศาเซลเซียส เพื่อลดปฏิกิริยาต่อต้านจากตัวผู้ป่วย และสมบัติทางกลศาสตร์ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีผลทำให้
เอนไซม์ชนิดย่อยโปรตีนเสียไปซึ่งต้องระวังในการนำไปใช้เพราะจะแห้งเปราะ และรับน้ำหนักไม่ดี
3.การขจัดเอาน้ำออกจากกระดูก และนำไปบรรจุพลาสติกผนึกด้วยความร้อนเพื่อไม่ให้อากาศเข้า รวมทั้งฆ่าเชื้อโดยใช้ก๊าซ เอทีลีนออกไซด์ และใช้รังสี
4.ใช้ขบวนการเคมี แยกเอาแร่ธาตุแคลเซียมออกจากกระดูกและใส่สารเคมีบางอย่างเพื่อลดปฏิกิริยาต่อต้านจากตัวผู้ป่วย แต่ความแข็งแรงของกระดูกจะลดลง
การทำงานของกระดูกปลูก คือเป็นตัวเหนียวนำให้มีการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกระดูกขึ้นใหม่รอบๆบริเวณที่วางกระดูกปลูกทั้งโดยวิธีสร้างกระดูก
แทนที่ และกระตุ้นการสร้างกระดูกโดยรอบ
วิธีการสร้างกระดูกแทนที่คือ
กระดูกปลูกจะทำหน้าที่เป็นตัวโครงให้กระดูกใหม่สร้างขึ้นแทนที่
วิธีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ คือ
กระดูกปลูกทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้กระดูกของผู้ป่วยในบริเวณใกล้
เคียงสร้างกระดูกขึ้นโดยรอบกระดูกปลูก
การปลูกกระดูกข้ามคนนี้จึงเป็นประโยชน์ในแง่ที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสีย หรือ บาดเจ็บเพิ่มจากการผ่าตัด ซึ่งถ้ามีการผ่าตัดเอากระดูกจากตัวผู้ป่วยเองไปทดแทน หมายถึง
จะต้องมีการผ่าตัด และ แผลผ่าตัดเพิ่มด้วย และจะต้องมีการเสียเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ



โดย : นางสาว ปถมาภรณ์ ลือสัตย์จา, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 12 พฤศจิกายน 2544