คุณค่าทางสาธารณะของ IT

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

คุณค่าทางสาธารณะของ IT

ด้วยงบ ประมาณที่จำกัดและภาวะการแข่งขันที่รุนแรงภายใต้ระบบการค้าเสรี ทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆโดยต้องตอบคำถามอย่างชอบธรรมในการลงทุน

ทั้งนี้การวิเคราะห์ปริมาณเพื่อวัดผลและต้นทุนได้แก่ ระยะเวลาคืนทุนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (EVA) เพื่อโน้มน้าว CEO ในการลงทุนด้าน ICT

อุปสรรคในการรวมผลได้ ผลเสีย และผลกระทบทางด้านอื่นๆ นอกจากด้านการเงินตัวอย่างต่อไปนี้

    1. อัตราส่วนลดใน NPV และ IRRนั้น ยากที่จะกำหนดในบริบทของภาครัฐ เพราะการใช้จ่ายของภาครัฐมาจากเงินภาษี
    2. การเลือกใช้ส่วนลดทางสังคมโดยวัดจากคุณค่าของสังคม เช่นการศึกษาที่ดีขึ้น
    3. การวิเคราะห์ผลได้และต้นทุน (CBA) โครงการรัฐพบปัญหา เช่น การรวมศูนย์การจัดการจัดซื้อสินค้าพัสดุของภาครั้ฐในตลาดหกลางแห่งเดียว
    4. ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ซึ่งทำให้ผู้วางแผน หรือมีอำนาจตัดสินใจประเมินศักยภาพการลงทุน
    5. แนวคิด เรื่อง “ คุณค่าทางธุรกิจของ IT ( Business Value of IT : BVIT ) ” มี่การพัฒนาขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนการมอง IT จากต้นทุนที่เป็นสิ่งสร้างคุณค่าต่อผลผลิตอย่างไรก็ตามภาครัฐไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร BVIT จึงต้องถูกละทิ้งไปสู่แนวคิดที่นับรวมผลรวมผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของการใช้จ่าย IT ในภาครัฐ

โดยสรุปแล้วกรอบและวิธีการในการวัดคุณค่าของ IT ของภาครัฐ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการจัดลำดับความสำคัญและการบริหารโครงการ โดย CIO ควรจะใช้กรอบการศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์โครงการ IT ภาครัฐ แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้ครอบคลุมมิติคุณค่า IT ของภาครัฐทั้งสาม โดยวิเคราะห์และบริหารโครงการภายใต้เสาหลัก และมีกระบวนการตรวจสอบว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จึงจำเป็นที่ผู้บริหารโครงการและผู้บริหาร IT ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเก็บรวบรวมตัววัดประสิทธิภาพพื้นฐาน ทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการให้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินสภาพปัจจุบันต่อไป


โดย : นางสาว อุไล สวยงาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ใมพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548