ระบบ IT กับงานวิศวกรรม
ในระบบโครงสร้างของวิศวกรรม การตรวจสอบสภาพเขื่อน อาคาร หรือสะพาน เพื่อหาจุดบกพร่องของวัสดุที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นเหล็กที่ขึ้นสนิม หรือความแข็งแรงของคอนกรีต ด้วนการนำระบบไอทีมาช่วยเป็นสิ่งจำเป็นที่ไทยยังไม่คุ้นเคย
ดร.ศุภสิทธ์ ศิริศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Infrastructure Monitioring and Management System หรือ IMMS ผู้ให้บริการคำปรึกษาด้านวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม กล่าวว่าสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างเขื่อน อาคาร สะพาน รวมถึงระบบท่อก๊าซ และท่อน้ำมันในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมองข้าม แต่การเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาช่วยในการตรวจสอบ ยังเป็นเรื่องใหม่ของเมืองไทย
ในการตรวจสอบสภาพวัสดุคอนกรีต หรือเหล็กของสะพานด้วยการนำระบบไอทีเข้ามาใช้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี Accoustic Emission หรือ AE ซึ่งเป็นการนิยมใช้ในอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรป เพื่อตรวจสอบหารอยแตกร้าวของวัสดุ รอยรั่วหรือผุกร่อนที่เกิดจากสนิมของเหล็ก หรือท่อก๊าซ ท่อน้ำมันในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ข้อดีของเทคโนโลยี AE คือ มีขั้นตอนการตรวจสอบรอบรั่วที่รวดเร็ว ทำให้ประหยัดงบประมาณ จากเดิมที่ตรวจสอบก๊าซ หรือถังบรรจุน้ำมันต้องถ่ายของเหลวภายในออกให้หมดแล้วทำความสะอาด ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาวางแผนถึง 4 เดือน ซึ่งเทคโนโลยี AE สามารถตรวจสอบได้ทันที โดยไม่ต้องถ่ายของเหลวออกและสามารถทราบผลการวิเคราะห์ภายใน 4 วัยเท่านั้น
IMMS เริ่มนำเทคโนโลยี AE เข้ามาทำตลาดประมาณปี 2001 โดยนำมาใช้ตรวจสอบสะพานพระรามหก สมัยที่การทางรถไฟรับงานจากกรมทางหลวง ที่สะพานมีปัญหาเพราะจากทีเคยรับแรงวิ่งของรถยนต์ที่วิ่งบนสะพานแล้ว และยังต้องรับแรงของรถไฟด้วย ทำให้พฤติกรรมของสะพานหรือตัวเชื่อมไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ
รวมถึงมีการใช้ระบบ GIS เพื่อหาตำแหน่งของสะพานว่ามีการเคลื่อนไหวตามแรงที่ได้รับหรือไม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้การบริหารงานมีความสะดวกสบายมากขึ้น การใช้โปรแกรม Dasy Lab+ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเก็บข้อมูลจากเครื่อง Acquisition ประเมินข้อมูลความแม่นยำ และโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง Sap2000 ที่สามารถวิเคราะห์ได้ทั้ง 2 มิติ 3 มิติในการเพิ่มความรวดเร็วและถูกต้อง
อย่างไรก็ตามการนำเอาเทคโนโลยีไอทีมาใช้ช่วยในเรื่องความถูกต้องจะสามารถช่วยลดขั้นตอนระยะเวลา รวมถึงทำให้ลดต้นทุนในสภาพรวมอีกด้วย