ท่านเคยเห็นเจ้าเครื่องจักรหน้าตาประหลาดที่มีท่อยาวๆเหมือนงู บางเครื่องดูคล้ายทรัมเป็ตแต่ก็ไม่เห็นทางที่จะเป่าได้ ท่านคิดว่ามันเป็นอะไรหล่ะ เจ้าเครื่องพวกนั้นเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นแรกๆ เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ใช้การได้ดีเครื่องแรกเป็นสิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งในรายการบัญชีหางว่าวของสิ่งประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน
แต่ก่อนหน้าเอดิสัน ก็มีคนอื่นๆ ที่พยายามสร้างเครื่องจะกรที่พูดได้ ในค.ศ. 1857 ลีออน สก็อตต์ ชาวอเมริกันเช่นกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่า โฟนอโตกราฟ (Phonotograph) ขึ้น เครื่องนี้มีเข็มที่ติดอยู่กับไดอะแฟรม เมื่อมีคนพูดหรือเล่นเครื่องดนตรี ไดอะแฟรมจะสั่น การสั่นสะเทือนนี้จะทำให้เข็มเคลื่อนไหวไปด้วยเส้นต่างๆ ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของเข็ม จะถูกเก็บหรือบันทึกไว้บนกระบอกที่เคลือบด้วยเขม่า กระบอกนี้หมุนรอบตัวเองได้ แต่เครื่องโฟนอโตกราฟของสก็อตต์ บันทึกได้เพียงเส้นที่คดโค้งไปมาเท่านั้น ไม่มีทางจะแปรเส้นสายเหล่านั้นให้กลับเป็นเสียงได้ และแล้วในปีค.ศ. 1877 เอดิสันก็มาจัดการกับปัญหานี้
ขณะนั้น เอดิสันกำลังหาทางปรับปรุงโทรเลขให้ดีขึ้น เขาต้องการหาวิธีบันทึกข้อความในโทรเลขไว้ เขาทราบว่าเครื่องจักรจะทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์ เอดิสันจึงติดหัวเข็มเข้ากับเครื่องโทรเลขเพื่อให้สัญลักษณ์จุดและขีดต่างๆ ตอกลงบนแถบกระดาษ เขาค้นพบว่า เมื่อเขาปล่อยแถบกระดาษวิ่งผ่านเครื่องมืออย่างรวกเร็ว เขาจะได้ยินเสียง
เอดิสันรู้ว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน ตอนนี้เขาต้องการจะเปลี่ยนการสั่นสะเทือนนั้นให้กลับกลายเป็นเส้นบนกระดาษ เอดิสันคิดว่า ถ้าเขาสามารถทำให้หระบวนการนี้ย้อนกลับด้วยความเร็วทีเหมาะสม เขาก็จะทำเกิดเสียงที่เหมือนกับที่บันทึกไว้เดิมได้
เอดิสันติดเข็มสองอันเข้ากับไดอะแฟรมสองแผ่นที่อยู่ติดกับกระบอกที่หมุนรอบตัวเอง กระบอกนี้ห่อด้วยแผ่นดีบุกบางๆ เมื่อเอดิสันตะโกนเข้าไปในไดอะแฟรม เข็มที่ติดอยู่กับไดอะแฟรมจะทำให้เกิดรอยบนแผ่นดีบุก ต่อมาก็หมุนกระบอกนั้นอีกครั้ง คราวนี้ร่องรอยบนกระดาษดีบุกจะทำให้เข็มอีกอันหนึ่งสั่น การสั่นสะเทือนนี้จะปรากฎที่ไดอะแฟรมแผ่นที่สอง เสียงที่เอดิสันตะโกนเข้าไปนั้นถูกบันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว
เอดิสันและคนอื่นๆ ได้ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้หลายประการด้วยกัน ในค.ศ. 1895 ชาวเยอรมันผู้อพยพเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ชื่อ เอมิล แบร์ลีนเนอร์ ได้ใช้จานโลหะที่เคลือบด้วยขี้ผึ้งแทนกระบอก ขณะที่จานนี้หมุนไป เข็มจะทำให้เกิดร่องบนขี้ผึ้ง แล้วก็เอาจานนั้นไปจุ่มในน้ำกรด น้ำกรดจะกัดกร่อนเนื้อโลหะเฉพาะส่วนที่ถูกเข็มขูดเอาขี้ผึ้งหลุดออกไป
จานเหล่านี้หรือแผ่นเสียงผลิตได้ในราคาถูกกว่ากระบอกแบบเดิม และยังสามารถทำแผ่นสำเนาได้เป็นจำนวนมากจากแผ่นเสียงต้นแบบแผ่นเดียว ก่อนจะถึงค.ศ. 1901 อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
|