การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

Protection & Prevention

การค้นหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมไม่ได้สิ้นสุดเพียงค้นหาว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่จุดใดและอย่างไรเพราะการค้นหาข้อผิดพลาดจะไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อใดก็ตามที่เราแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบปัญหาและข้อผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นอีกทำให้เราต้องพยายามแก้ไขไม่ให้กระทบกับการใช้งานภายภาคหน้า เหตุการณ์เหล่านี้เราเรียกว่า Protection แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยครั้งแล้วต้องลงมือแก้ไขบ่อยๆทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเราควรจะหาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก กระบวนการทำงานเหล่านี้เราเรียกว่า Prevention

ดังนั้นกระบวนการผลิตของซอร์พแวร์ เราสามารถที่จะป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดังนี้

  1. Conduct Requirments Walkthroughs ควรทำข้อนี้ก่อนขั้นตอน coding เพื่อลดข้อผิดพลาดของโปรแกรมให้มากที่สุด
  2. Conduct Peer Code Reviews เมื่อทำขั้นตอน coding ก็ต้องมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นเพื่อลดข้อผิดพลาดเบื้องต้นก่อน
  3. Conduct Formal Code Reviews หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ ควรตรวจสอบโค้ดอีกครั้งตามมาตรฐานที่ได้กำหนดเพื่อลดข้อผิดพลาดจากการ coding ไม่ตรงกับที่ออกแบบไว้
  4. Document the results เมื่อมีการตรวจสอบแล้ว ควรสรุปและบันทึกข้อผิดพลาดเพื่อดูแลความคืบหน้าในการแก้ไขข้อผิดพลาดต่อไป
  5. Collect Metrics หลังจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วควรเก็บสถิติว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่จุดใดมากที่สุดและการแก้ไขแบบใดได้ผลดีที่สุด

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการค้นหาข้อผิดพลาดในซอพต์แวร์ โดยวิธีการ Inspection ซึ่งจะลดปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดจากการ coding รวมทั้งช่วยในการทดสอบซอพต์แวร์ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

สรุปได้ว่า ในกระบวนการผลิตซอพต์แวร์ใดๆควรจะคำนึงถึง การป้องกันปัญหาที่จะเกิดแต่เริ่มต้น และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ( Protection & Prevention ) ก่อนส่งถึงมือลูกค้าเพื่อให้ซอพต์แวร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงสุด 


ที่มา : โดย บงกช เพ็ชรนิจินดา PC MAGAZINE มกราคม 2548 VOL.11 NO. 1

โดย : นางสาว ชมพูนุช สุนทรมนูกิจ, สถาบันราชภัฏวไลอลงกรณ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548