เทคโนโลยี แบบ oel

 การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการใช้งานนั้นคือจอภาพ เนื่องจากว่าจอภาพนั้นเป็นอุปกรณ์ Hardware ทางด้าน Out Put ที่สำคัญในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และจอภาพที่กำลังได้รับความสนใจ และมีการโปรโมตกันอย่างกว้างขวาง ก็คงจะเป็นจอภาพแบบ LCD ที่มีอยู่มากมายหลายรุ่นในตลาดขณะนี้

          สำหรับจอภาพของ ACER ก็เป็นที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ทั่วโลกมาเป็นเวลานานสำหรับจอภาพที่ได่รับมาทำการทดสอบในครั้งนี้นั้นเป็นจอภาพ ACER ในรุ่น AL1713 ซึ่งทาง ACER นั้นออกมาเพื่อที่จะเพิ่มความหลากหลายในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD ขนาด 17" นั้นเอง จอภาพ ACER AL1713 นั้นเป็นจอภาพแบบ TFT LCD ขนาด 17" สามารถที่จะแสดงภาพที่ความละเอียดสูงสุดได้ที่ 1280x1024 ที่ระดับสี 16.7 ล้านสี จอภาพสามารถ ที่จะให้แสงสว่างได้ที่ระดับ 300cd/m2 ที่ระดับ Contrast Ratio 450:1 มีความเร็วในการตอบสนองต่อการแสดงภาพที่ 25ms ในส่วนของค่า Viewing Angle นั้นจอ ACER AL1713 มีค่าที่แนวนอนที่ 140องศา และแนวตั้งที่ 130องศา ตัวจอภาพสามารถต่อเชื่อมโดยตรงกับสายไฟ เนื่องจากว่ามี ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าติดตั้งไว้ในตัวจอภาพ ซึ่งใช้พลังงาน 35W ในขณะที่ใช้งาน ในส่วนของช่องต่อเชื่อมกับสายสัญญาณภาพนั้นจอ ACER AL1713 มี เพียงช่องต่อแบบ S-Sub 155pin เพียงอย่างเดียว การออกแบบ และความสวยงานของการดีไซด์นั้น จอภาพ ACER AL1713 ออกแบบมาได้ดูเรียบง่ายมี ทั้งหมดด้วยกัน 2 สี นั้นคือ สีดำ และสีขาว ปุ่มปรับเปลี่ยนเมนูการใช้งานจอภาพ และปุ่มเปิด/ปิดจอภาพถูกจัดวางไว้กลางจอภาพด้านล่าง ซึ่งสามารถที่จะทำ การปรับค่าต่างๆ ได้ง่าย ในส่วนของเรื่องความร้อนในระหว่างการใช้งานนั้น จอภาพ ACER AL1713 มีความร้อนเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะทำการเปิดใช้งาน ติดต่อกันเป็นเวลานาน การติดตั้งจอภาพนั้นสามารถที่จะทำการติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากมีการรองรับมาตรฐานของ Plug&Play จึงทำให้สามารถที่จะทำการใช้ งานได้เลยทันทีที่ทำการต่อกับสายไฟ และสายสัญญาณแบบ D-Sub 15pin กับกราฟิกการ์ด

ทดสอบการใช้งาน
          ในการทดสอบการใช้งานจอภาพ ACER AL1713 นั้นได้ทำการทดสอบในการใช้งานในส่วนของการทำงานด้านเอกสารเพื่อทดสอบการแสดงแสงและ การให้ภาพตัวอักษร ซึ่งก็พบว่าจอภาพ ACER AL1713 ซึ่งเป็นจอภาพขนาด 17" เมื่อทำการปรับความละเอียดที่ 1024x768 ซึ่งเป็นความละเอียดมาตรฐาน ของจอภาพขนาด 17" ซึ่งในการใช้งานพบว่าจอภาพ ACER AL1713 นั้นสามารถที่จะให้ระดับแสงที่สบายสายตาในการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ซึ่ง เป็นผลดีต่อผู้ใช้งานโดยตรง ในอีกส่วนการทดสอบได้ทำการทดสอบในการใช้งานด้านมัลติมีเดีย โดยการแสดงภาพจาก VCD และ DVD ในการทดสอบ ความเร็วในการแสดงภาพการให้แสง และสี ซึ่งจอภาพ ACER AL1713 ก็สามารถที่จะทำได้ดีพอสมควร การใช้งานในการเล่นเกม นั้นก็สามารถที่จะแสดง ภาพได้รวดเร็วไม่มีการขาดช่วงในการแสดงภาพ นั้นก็เป็นการทดสอบการใช้งานด้านการแสดงภาพ และอีกส่วนคือการทดสอบภายนอกระหว่างการทำงานนั้น คือเรื่องของความร้อนในการใช้งาน ซึ่งจอภาพ ACER AL1713 ก็มีการแพร่ความร้อนออกมาไม่มากนัก ฐานตั้งที่มั่นคงสามารถที่จะปรับระดับได้เล็กน้อยแต่ ก็สามารถที่จะทำให้การใช้งานั้นสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นระหว่างการทำงาน

สรุป
          สำหรับจอ LCD ของ ACER AL1713 17นิ้ว นั้นสามารถที่จะรองรับการทำงานได้หลากหลาย แบบเป็นอย่างมากเนื่องมากจากมีขนาดการแสดงผลที่ หญ่เหมาะสม ซึ่งในตอนนี้นั้นมาตรฐานในการใช้งานจอภาพจะอยู่ที่ขนาด 17นิ้ว เป็นมาตรฐาน สำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเลือก ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ ใช้งานค่อนข้างสูงนั้นจอภาพแบบ LCD ขนาด 17 นิ้ว นั้นเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการช่วยรักษาสายตา การประหยัดพลังงานยังสามารถที่ช่วยใน การเพิ่มเนื้อที่บนโต๊ะคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย

 การประหยัดพลังงานในการใช้จอภาพ

ประโยชน์จากการประหยัดพลังงาน

1. จอภาพที่มีโหมดการประหยัดพลังงาน เมื่อใช้งานในโหมดดังกล่าวต้องใช้พลังงานไม่เกิน 30 วัตต์

             2. ปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานน้อยลง ส่งผลให้โหลดความร้อน (heat load) รวมของสำนัก                 งานน้อยลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของระบบปรับอากาศ
            3. ปริมาณการแพร่กระจายของรังสีจากปืนยิงอิเลคตรอนของจอภาพต่ำลงเมื่อเข้าสู่โหมดการประหยัดพลังงาน

         APM (Advance Power Management) 

ยกตัวอย่างเช่น เช่น Windows 95 ได้ออกแบบส่วนของการจัดการพลังงาน ซึ่งเรียกว่า APM (Advance Power Management) ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้การใช้พลังงานของคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ APM ถูกควบคุมโดยตรงจาก OS โดย OS จะส่งคำสั่งไปควบคุมฮาร์ดแวร์อีกทีหนึ่ง โดยนัยรวมแล้ว APM จึงเหมือน DPMS
APM ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์และทำงานร่วมกับฟังก์ชัน Power Management ของ BIOS
 

เคล็ดลับการใช้จอภาพคอมพิวเตอร์เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

1. ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ เพราะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า
2. ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน
3. ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานกว่า 15 นาที
4. ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
5. ควรตั้งระบบ Screen Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอตรวจสอบดูว่าระบบประหยัดพลังงานไฟฟ้าในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่
6. เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงาน
7. ควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25
8. คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่ และประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

ตัวเลขน่าคิดเพื่อการประหยัดพลังงาน

  • ถ้าเปิดชุดคอมพิวเตอร์จอภาพ 15 นิ้ว ทิ้งไว้วันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟ 8.4 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟเดือนละประมาณ 21 บาท ถ้าเปิดทิ้งไว้เช่นนี้ 1 ล้านเครื่อง จะสิ้นเปลืองค่าไฟเดือนละ 21 ล้านบาท หรือ 252 ล้านบาทต่อปี
  • คอมพิวเตอร์ขนาดจอ 17 นิ้ว 120 วัตต์ ใช้งาน 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์จะใช้ไฟ 9.6 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟประมาณเดือนละ 24 บาท

เครื่องมือควบคุมขั้นพื้นฐาน

จอมอนิเตอร์ ส่วนมาก จะมีตัวควบคุม ระบบดิจิตอล และเมนู บนหน้าจอ แต่ถึงแม้ จะมาพร้อม คุณสมบัติ ในการควบคุม ทั้งหลาย คล้ายๆ กัน ตั้งแต่ ปรับความกว้าง, ปรับเลื่อน ขึ้นลง, ปรับความสว่าง, ปรับสี เป็นต้น แต่ รูปแบบการใช้งาน และ Interface เพื่อการควบคุม กลับมีความยากง่าย แตกต่างกัน

โดยทั่วไป หน้าจอ CRT ที่มีจำหน่ายทั่วไป มีชุดอุปกรณ์ พื้นฐาน ในการปรับ ความคมชัด, ความสว่าง, ขนาดของภาพ และที่ตั้งของภาพ หน้าจอส่วนมาก ยังรวมถึง อุปกรณ์ควบคุม รูปทรงเรขาคณิต ( อาทิ รูปทรงกลม รูปเหลี่ยมแบบต่าง ๆ) , ระดับความเข้ม ของสี ( ความร้อนแรง หรือ เย็นตา ของสีบนพื้นขาว) รวมทั้งความกลมกลืน ของสี ( การปรับให้ลำแสงสีแดง, เขียว, ฟ้า ผสมผสาน กันได้ อย่างกลมกลืน สวยงาม) ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณสามารถ ควบคุมได้ ผ่านเครื่องมือ ที่มีอยู่ บนหน้าจอทั้งสิ้น สิ่งสำคัญ นั่นคือ คุณจะต้อง ทดสอบ ดูด้วยว่า เครื่องมือเหล่านี้ อยู่ในจุดที่เหมาะสม และใช้งาน ได้ง่ายเพียงใด จอภาพบางรุ่น อาจมาพร้อม กับ Software เพื่อให้คุณ ปรับแต่ง คุณสมบัติ ได้โดยตรง แต่บางรุ่น คุณอาจจะต้อง จัดการกันแบบ Manual ซึ่งอาจจะยุ่งยาก มากกว่า

เครื่องมือสุดท้าย ที่เรา คิดว่าสำคัญ แต่พบได้ เฉพาะจอภาพ บางรุ่นเท่านั้น นั่นคือ การกำจัด สนามแม่เหล็ก บนหน้าจอ ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ผู้ใช้ ละเลยกัน ในจอภาพ ราคาถูก บางรุ่น จะไม่พบ คุณสมบัติ ตรงส่วนนี้ ซึ่งอาจเกิดปัญหา ขึ้นมาได้ หากคุณ วางจอภาพ ไว้ใกล้กับ แหล่งที่มี สนามแม่เหล็กอยู่ อย่างเช่น วางไว้ใกล้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขนาดใหญ่ อย่างแอร์, หรือวางใกล้กับ เครื่องเสียง และโทรทัศน์ ซึ่งมีผล อาจทำให้หน้าจอ มีการแสดงผล ที่ผิดพลาด เกิดขึ้น ซึ่งหากมี เครื่องมือ ในการกำจัด สนามแม่เหล็ก หรือปุ่ม Flicker แล้ว คุณก็จะสามารถ แก้ไข ปัญหานี้ ได้อย่างรวดเร็ว

คุณสมบัติพิเศษ

สีสัน : ตั้งแต่ ที่ imac เปิดตัวออกมา พร้อมกับสีสัน ทำให้ ทางฝั่ง PC ต้องหัน มาเติมสีสัน ให้กับผลิตภัณฑ์ ของตน เช่นเดียวกัน ไม่เว้น แม้แต่หน้าจอ ที่เริ่มพัฒนา ให้มีสีสัน มากกว่าเดิม ที่จะเน้น แต่สีขาวนวล เท่านั้น อย่างเช่น จอจาก Samsung ที่มาพร้อม กับสีสัน หลากเฉดสี หากคุณเอง เป็นคนที่ชอบ ความมีชีวิตชีวา แล้ว การเลือกหา จอภาพ ที่มีสีสัน มาใช้งาน คงน่าสนใจ ไม่น้อย แต่ต้อง ไม่ลืมด้วยว่า สีสัน ที่สวยงามเหล่านี้ ต้องแลกมาด้วย ราคา ที่สูงกว่า จอสีขาวนวล แบบเดิม

USB Port : USB Port หรือ USB Hup ในจอมอนิเตอร์ นับเป็น ความสะดวกสบาย อย่างยิ่ง ในการใช้งาน เพราะจะช่วย ให้สะดวก และง่าย ในการต่อสาย อุปกรณ์ USB ทั้งหลาย พ่วงจาก ด้านหลังจอ แทนที่จะเป็น ด้านหลังเครื่อง คอมพิวเตอร์ คงดีไม่น้อย หากคุณสามารถ ต่อพ่วง อุปกรณ์ USB อย่าง Keyboad, Mouse หรือลำโพง จากหน้าจอ ได้โดยตรง และให้ Port USB หลังเครื่อง คอมพิวเตอร์ ไว้สำหรับ ต่ออุปกรณ์ USB ขนาดใหญ่ อย่าง Printer หรือ Scanner เป็นต้น

ลำโพง : มีลำโพงอยู่หลายรุ่น ที่พยายาม เลียนรูปแบบ ของโทรทัศน์ ด้วยการ ติดตั้งลำโพง มาพร้อม โดยมีทั้งรุ่น ที่ฝังลำโพง ไว้ข้างจอ มอนิเตอร์ และรุ่น ที่ติดตั้ง แบบแยกส่วน ( อาจจะ ติดอยู่ด้านข้าง หรืออาจจะเป็นลำโพง ที่มาในรูป ของฐานจอ ก็ได้ ) ข้อดี ของ จอภาพ แบบนี้ นั่นคือ การรองรับ ระบบมัลติมีเดีย ที่สมบูรณ์ มากขึ้น ในต้นทุน ที่ต่ำกว่า ( เพราะคุณ ไม่ต้อง หาซื้อลำโพง มาเพิ่มเติม ) แต่คุณ ต้องไม่ลืมด้วยว่า คุณไม่สามารถ คาดหวัง คุณภาพเสียง ระดับสูงได้ จากลำโพง ประเภทนี้ เพราะฉะนั้น หากต้องการ คุณภาพ ในระดับ Home Theatre แล้วล่ะก็ คงต้อง เลือกหา ลำโพง คุณภาพสูง แบบ 3+1 หรือ 5+1 ชิ้น มาใช้งาน น่าจะดีกว่า

Design : การออกแบบ อาจจะไม่ได้ บ่งบอกถึง คุณภาพ ของการแสดงผลได้ แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า Design ที่สวยงาม ย่อมทำให้ น่าใช้งาน มากยิ่งขึ้น จอภาพ ที่มีการออกแบบที่ดี นอกจาก จะเพิ่มช่วย ส่งเสริม ให้บรรยากาศ ทำงานดีขึ้นแล้ว ยังสามารถ ประหยัด พื้นที่ การทำงานได้อีกด้วย

จอภาพ (Monitor)

จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel

ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล

ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

    1. จอภาพแบบ CRT (CRT: Cathode Ray Tube)
      เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
       
    2. จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
      จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
      1. Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
      2. Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
    3. จอภาพแบบระบบสัมผัส (Touch - Screen)
      เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

การประหยัดพลังงานในการใช้จอภาพ

สำหรับจอภาพนั้น จากผลการวิจัยพบว่าเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานมากที่สุด เนื่องจาก Application ปัจจุบันออกแบบให้มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User Interface) ซึ่งต้องการจอภาพที่สามารถแสดงสีละเอียดสูงให้ความละเอียดในการแสดงภาพสูงๆ ทำให้ต้องเพิ่มขนาดจอภาพเป็นจอขนาดใหญ่ขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น จอภาพที่ถูกออกแบบมาให้มีการประหยัดพลังงานจะช่วยประหยัดพลังงานตั้งแต่ 60 -80 เปอร์เซ็นต์

มาตรฐานการประหยัดพลังงานของจอภาพ

มาตรฐานโดยทั่วไปได้แก่ Energy Star และ Nutek Power Consumption โดยสังเกตได้จากป้ายที่ติดไว้ด้านหลังของจอภาพ สำหรับจอภาพที่ได้มาตรฐาน Energy Star หรือ Green PC เมื่อไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ จอภาพจะปิดได้เองเพื่อประหยัดพลังงาน การใช้โหมดการประหยัดพลังงานกำหนดค่าได้จาก BIOS หรือโดย OS ที่ออกแบบมาให้สามารถควบคุมการใช้พลังงานได้ เช่น Windows 95 หากจอภาพสนับสนุน Energy Star สามารถกำหนดระยะเวลานานเท่าไรที่ไม่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์จะให้ปิดจอภาพ

แนวทางในการประหยัดพลังงานสำหรับจอภาพ

1. ปิดสวิตช์จอภาพเมื่อไม่ต้องการใช้งาน เช่นระหว่างเวลากลางคืน ระหว่างวันหยุดหรือแม้กระทั่งระหว่างเวลาทำงานปกติแต่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์

2. ลดจำนวนเวลาที่กำหนดไว้นานเท่าไรที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้จอภาพเข้าสู่ "Sleep Mode" ให้มีค่าเวลาน้อยลง (ให้จอภาพเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานเร็วขึ้น)

DPMS (Display Power Managment System)

DPMS (Display Power Managing Signaling) เป็นคุณสมบัติในการควบคุมการใช้พลังงานของจอภาพ โดยเกี่ยวข้องระหว่างการ์ดควบคุมการแสดงผลจอภาพ (VGA Adapter) และจอภาพ จอภาพที่ออกแบบตามข้อกำหนดของ DPMS จะทำงานเสมือนว่าตรวจจับการรับ-ส่งสัญญาณระหว่างจอภาพและการ์ดวีจีเอ แล้วนำมาใช้ควบคุมการปิด-เปิดจอภาพ ปิด-เปิดวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ปิดเปิดวงจร High Voltage ซึ่งแบ่งโหมดของการประหยัดพลังงานได้ 4 โหมด คือ Normal, Standby, Suspend และ Off Mode

Standby Mode

กำหนดว่าหากคอมพิวเตอร์เปิดไว้นั้นไม่ใช้งานนานเท่าไร จึงจะเข้าสู่ Standby Mode เมื่อเข้าสู่โหมดนี้ซอฟต์แวร์จะส่งคำสั่งให้จอภาพแสดงหน้าจอสีดำหรือไม่แสดงภาพบนหน้าจอ โหมดนี้ประหยัดพลังงานน้อย

Shut Off mode

เรียกอีกชื่อว่า Blank Screen คือทำให้จอภาพว่าง (Blank Screen) โดยวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ไม่ได้ทำงาน

V/H SYNC + Blank mode

ซอฟต์แวร์จะส่งคำสั่งให้ปิดวงจร V/H SYNC และทำให้จอภาพ Blank เนื่องจากวงจรการสแกนภาพแนวนอนและแนวตั้งเป็นวงจรที่ใช้พลังงานมาก เมื่อปิดวงจรนี้จึงประหยัดพลังงานมากที่สุด โดยปกติเมื่อเข้าสู่โหมดนี้จะสังเกตได้จาก หลอด LED ด้านล่างขวาของจอภาพจะเปลี่ยนสี เช่น เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีอำพัน หรือผู้ผลิตบางรายอาจเลือกกำหนดให้ LED ที่ด้านหน้าของเคสกระพริบแทน เพื่อเตือนให้ทราบว่ากำลังอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตามก่อนจะใช้โหมดดังกล่าวนี้ต้องมั่นใจว่าจอภาพสนับสนุนคุณสมบัติการปิดวงจร V/H SYNC ไม่เช่นนั้นจอภาพอาจได้รับความเสียหายได้

Off Mode

ที่โหมดนี้นอกจากจะทำงานเสมือน V/H Sync off +Blank Mode แล้วยังปิดวงจรสร้างแรงดันไฟฟ้าแรงสูงภายในหลอดรังสีคาโธดของจอภาพ (High Voltage Circuit) และวงจรที่เกี่ยวข้อง โหมดนี้

ประหยัดพลังงานสูงสุด



แหล่งอ้างอิง : www. TechNOLCD.com

โดย : นาย ปกรณ์ แก้วเปี้ย, มหาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548