หุ่นยนต์ขนาดเล็ก

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

 

                           Light Boy หุ่นยนต์ขนาดเล็ก

Light Boy เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก สามารถรับรู้ความแตกต่าง ความเข้ม ของแสงได้  ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น ราคาถูก เน้นที่การสร้างง่ายไม่ต้องมี ความรู้ ด้านอิเลกทรอนิกส์มาก  ก็สามารถสร้างขึ้นมาเล่นได้  

       โครงสร้างตัวหุ่นก็ใช้วัสดุ ที่หาได้ทั่วไป เช่น ลวดของไม้แขวนเสื้อ  แกนใน ของสายไฟชนิดแข็ง นำมาประกอบเป็น โครงสร้าง   สร้างสรรค์ รูปแบบ ได้ตาม จินตนาการ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว        
       ระบบสัมผัสเราก็ใช้ลวดสปริงที่อยู่ในปากกาชนิดกดมาทำ ไม่มีการเขียน โปรแกรม ให้กับตัวไอซี  ตัวไอซีทำงาน ได้ด้วย ตัวเอง 


แผนผังวงจร

              รายการอปกรณ์

              1.   IC  LM386    x 1

              2.   Photo Diode    x 2

              3.   Pot. 100 K.   x 1

              4.   Motor จิ๋ว ทดเกียร์   x 2

              5.   Socket IC  8 pin  x 1

              6.   ลวดแข็ง ความยาวตามต้องการ

              7.   สวิตซ์ ปิด-เปิด

             8.    ไฟตรง 3 v.

                   มอเตอร์ทดเฟือง หายาก และราคาสูง หรือจะใช้เซอร์โวมอเตอร์ ของรถบังคับก็ได้  เคยเห็นมีขายตัวละ 600 บ. ขึ้นไป หรือลองทำเองได้ ดูที่หน้า  Tip & Trick จำเป็นที่จะต้องใช้ มอเตอร์แบบทดเฟือง หากเป็นมอเตอร์ ธรรมดา จะหมุนเร็วเกินไป ไม่เห็นผลการทำงานชัดเจน

    เนื่องจากใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น  สามารถประกอบ วงจร เข้ากับขาของอุปกรณ์ ได้โดยตรง   แต่ต้องระวังเรื่องความร้อน ของหัวแร้งด้วยอย่าร้อนมากเกินไป จะทำให้ตัวอุปกรณ์เสียหายได้  หรือบัดกรีอุปกรณ์กับขาซอกเกตไอซีก็ได้   หรือประกอบอุปกรณ์ บนแผ่นวงจรเอนกประสงค์ก็สะดวกดี 
สามารถนำเอา รายการอุปกรณ์  และวงจรนี้  ไปจัดหาซื้อมาสร้างได้เลยครับ 
หรือต้องการให้ทางเรา จัดอุปกรณ์จำหน่ายให้ ก็ยินดีครับ   

                   หลักการทำงาน

                      เมื่อแสงสว่างตกกระทบกับ PhotoDiode ซึ่งทำหน้าที่ รับแสงของ วงจรนี้  PhotoDiode เป็นอุปกรณ์ ที่ไวต่อแสงมาก หากข้างใดมีแสงมากกว่ากัน PhotoDiode ข้างนั้นจะทำงาน  ทำให้วงจร จ่ายแรงดัน ให้กับมอเตอร์ ข้างที่มีแสงเข้มกว่า 
                     ในสภาวะที่แสงเท่ากันทั้งสองข้าง มอเตอร์ทั้งสองข้าง จะวิ่งตรงไปข้างหน้า เพราะมอเตอร์ ทั้งคู่  มีความเร็วรอบเท่ากัน เมื่อแสงสว่างข้างใด มากกว่ากัน จะมีผลทำให้อัตราการหมุน ของมอเตอร์ทั้งสองแตกต่างกัน 
                     เมื่อมอเตอร์ข้างซ้ายหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม ขณะที่มอเตอร์ข้างซ้ายคงที่ หรือช้าลงมีผล ทำให้ตัวหุ่น เลี้ยวขวา  และถ้ามอเตอร์ข้างขวาหมุนเร็วกว่าข้างซ้าย มีผลทำให้ตัวหุ่น นั้นเลี้ยวซ้าย  

- - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ PhotoDiode หาวัสดุมาครอบ ตัวหลอดเอาไว้  ให้เหลือเฉพาะส่วนรับแสง ที่บริเวณปลายหลอด - -

                      รูปแบบของ Light Boy ที่ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กธรรมดาทั่วไป เนื่องจากการหมุน ของมอเตอร์นั้นเร็วมาก  จึงต้องแก้ไขด้วยการทำให้ล้อมีขนาดเล็ก  เพื่อที่จะได้วิ่งช้าลง  ไม่เร็วจนเกินไป หากเร็วเกินไป  ผลการทำงาน ของ วงจรจะมองไม่เห็นชัดเจน  

                  การประกอบ

                          วิธีการประกอบนี้ สามารถออกแบบให้สวยงาม ได้ตามใจชอบ

 

นำลวดมาดัดตามรูป บัดกรีเชื่อมรอยต่อทุกจุด

ดัดส่วนที่ยื่นออกมา ให้โค้งลง เราจะใช้เป็นที่ยึดตัวมอเตอร์
นำมอเตอร์มายึดกับโครงสร้าง กะระยะให้ปลาย ของมอเตอร์ สัมผัสกับพื้นพอประมาณ
การวางมอเตอร์ แบบวางหลัง

                               รายการอุปกรณ์ที่จัดให้

1.IC    1 ตัว   

 2.Socket IC  8 pin  1 ตัว

3.Photo Diode  2 ตัว 

4.Pot. 100 K.  1 ตัว 

5. Motor จิ๋ว ทดเกียร์  2  ตัว  ( ขนาด 1x3 ซม.ราคาค่อนข้างสูง )  

 6.เข็มขัดพลาสติด  4  อัน   สำหรับยึดมอเตอร์กับโครงสร้าง 

 7.พร้อมเอกสารการสร้าง

อุปกรณ์ที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม


              ตะกั่วบัดกรี , หัวแร้ง ,แผ่นวงจรเอนกประสงค์ , ลวดแข็ง , สายไฟ , สวิตซ์ปิด-เปิด , ไฟตรง 3 v.  และอื่นๆ ที่ต้องใช้นอกเหนือจากที่จัดให้ สามารถศึกษาวิธีการสร้าง ได้จากเวบ หรือเอกสารแนะนำที่จัดส่งให้

การวางมอเตอร์ แบบวางหน้า



แหล่งอ้างอิง : นาย อภิชาติ สอนอินทร์ เอก อุสาหกรรมศิลป์ ปี3 มหาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

โดย : นาย อภิชาติ สอนอินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548