พฤติกรรมการเล่นเกมส์ของเยาวชน

พฤติกรรมการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์และเกมล์ออนไลน์ของเยาวชน

มีเวลาว่างเมื่อไรเป็นไม่ได้ ชอบจริง ๆ เลยไปเดินในห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าไม่เดินกี่ครั้ง ๆ ก็เจอแต่เด็กนักเรียนมัธยม (โรงเรียนชื่อดังใน จ.พิษณุโลก) ไม่รู้ว่าโดดเรียนหรือครูไม่ว่างที่จะสอนเด็กจึงออกมาเที่ยวกันเป็นกลุ่ม ๆ สถานที่ที่มักจะเจอเด็กเหล่านี้บ่อย คือ ชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าชื่อดังใน จ. พิษณุโลกนี่แหละ เพราะที่นี่เป็นแหล่งของเกมคอมพิวเตอร์มากมายรวมกันอยู่ในนี้ ไหน ๆ ก็โดดเรียนมาแล้วแทนที่จะเข้าร้านหนังสือหาความรู้ แต่กลับมารวมกลุ่มสุมหัวกันอยู่หน้าตู้เกมส์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อเห็นเยาวชนเป็นแบบนี้แล้วก็ไม่รู้ว่าในอนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป

ปัจจุบันนี้ "เทคโนโลยี" ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือแม้แต่การให้ความบันเทิง
"เกมออนไลน์" เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลายราย กระแส "เกมออนไลน์ฟีเวอร์" ก็ยังเป็น "เพื่อนสนิท" ของเด็กไทยอย่างเหนียวแน่น เพราะโลกไซเบอร์เป็นโลกของความฝัน มีจินตนาการที่งดงาม และน่าสัมผัส อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดจะเป็นด้านบวกเพียงด้านเดียว เช่นเดียวกับ "เกมออนไลน์" ที่ผู้ปกครองมองว่า เป็น "ตัวการ" ที่ทำให้เด็กเสียการเรียน และขาดการเข้าสังคม


ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการผลิตเกมออนไลน์ เพื่อให้เหมือนจริง มีผลให้เด็กติดการเล่นเกมมากขึ้น เพราะเหมือนอยู่ในโลกจินตนาการ ที่สามารถกำหนดตัวการ์ตูนได้ในรูปแบบที่ต้องการ และเด็กบางคนอาจต้องการหนีโลกความเป็นจริง โดยมีผลมาจากปัญหาครอบครัว การเรียน การคบเพื่อน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียทำให้เด็กผลักตนเองออกจากสังคมมากขึ้น

และยังมีบริการสำหรับเด็ก ๆที่หนีโรงเรียนหรือหนีผู้ปกครองออกมาเล่นเกมโดยที่บางร้านมีตู้เสื้อผ้าให้เด็กนักเรียนเปลี่ยนชุด
เกมออนไลน์วิปริตหนัก เด็กไทยฮิตเกมแข่งกันรุมโทรม 30 ต่อ 1 สารพัดเกมปลุกอารมณ์หื่น ลวงครูไปขึงพืด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเว็บขายตัว ขายยา การพนัน สอนวิธีโกง

สำหรับเด็กติดเกมระดับที่รุนแรงที่สุด คือเด็ก ติดเกมจนไม่สามารถควบคุมตนเอง ห้ามใจไม่ให้เล่นเกมได้ รวมทั้งมีพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การขโมยเงิน โกหก วิธีการบำบัดต้องเข้าคลินิกบำบัด

 

 

 

สาเหตุ

    • ครอบครัวและผู้ปกครอง สภาพครอบครัวแตกแยกขาดความรักความอบอุ่น เบื่อหน่ายบ้าน จึงหนีออกมาจากบ้าน
    • ตัวเด็กเอง เมื่อรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งไม่ได้รับความอบอุ่นความรักจึงหนีออกจากบ้าน เด็กบางคนมีนิสัยชอบเที่ยวเตร่ต้องการความเป็นอิสระ อยากรู้อยากลอง เด็กบางคนสติปัญญาต่ำเรียนไม่ทันเพื่อน โรงเรียนและครูไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ จึงออกเที่ยวเตร่สนุกสนานกับเพื่อน ในที่สุดถูกชักจูงล่อลวงโดยกลุ่มมิจฉาชีพ ออกไปเร่ร่อนหรือประกอบอาชีพอันไม่เหมาะสม เพื่อให้ค่าตอบแทนด้วยการเล่นเกมส์
    • สังคมภายนอก มีสิ่งยั่วยุให้เด็กออกไปสนุกสนาน เช่น สวนสนุก ดิสโก้เทค วีดีโอเกมส์ โรงภาพยนตร์ ตลอดจนสื่อมวลชนที่ถ่ายทอดค่านิยมไม่ถูกต้องและเด็กได้เลียนแบบ เมื่อผู้ปกครองไปสามารถตอบสนองเพียงพอกับความต้องการ เด็กจึงออกแสวงหาด้วยตนเองหรืออาจถูกเพื่อนฝูงชักนำไปในการที่ไม่เหมาะสม

การแก้ไข

ไอซีทีเร่งประสานมหาดไทยตั้งปลัดไอซีทีคุมเกมออนไลน์ คาดอย่างช้าต้นเดือนมกราคมปีหน้า การแก้ไขปัญหาโดยการห้ามเด็กเล่นเกม หรือการจำกัดเวลาการเล่นเกมของเด็ก ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะเด็กบางคนยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ และหากมองในเชิงสร้างสรรค์ การที่เด็กชอบเล่นเกมออนไลน์ไม่ได้ทำให้เกิดโทษ กลับช่วยส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการที่ดี ดังนั้น ทางออกที่ดีคือการเข้าใจในตัวเด็ก โดยผู้ปกครองควรสนใจว่าเด็กชอบเล่นเกม ประเภทไหน และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบ หากเป็นไปได้ควรหาโอกาสเล่นเกมร่วมกับเด็ก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวมากขึ้น

"สิ่งที่อยากนำเสนอ คือการกำหนดชั่วโมงในการเล่นเกมของเด็กนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นธรรมชาติที่เด็กจะชอบเล่นเกม แต่ผู้ผลิตเกม ก็ควรจะมีความรับผิดชอบ โดยผลิตเกมที่มีเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ ส่วนผู้ปกครองเองก็ควรให้ความใส่ใจกับเด็กบ้าง อาจไม่ต้องถึงขั้นเล่นเกมกับเด็ก เพียงแค่เรียนรู้ว่าเด็กกำลังเล่นเกมประเภทไหน ก็จะส่งผลดีต่อเด็กแล้ว"

วิธีแก้ไขอีกวิธีหนึ่งคือให้เก็บภาษีให้มาก เพื่อให้ผู้ประกอบการรับภาระค่าใช้จ่ายสูง เมื่อทนไม่ไหวก็จะผลักภาระไปให้ลูกค้า หากเล่นเกมแพง จำนวนผู้เล่นจะลดลงเอง

ในประเทศไทยไม่มีการจัดเกรดเกมออนไลน์เหมือนต่างประเทศ ทำให้เกมที่เน้นความรุนแรงแพร่ขยายไปถึงตัวเด็กได้ง่าย อยากชักชวนให้ผู้ปกครองเป็นฝ่ายเข้าไปเล่นเกมส์กับเด็กเอง เพราะสามารถให้คำแนะนำในการเลือกประเภทเกมส์ที่จะเล่นได้ดีที่สุด ขณะที่ผู้ผลิตเกมส์ควรมีระดับการป้องกันภาพที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มงวด

ใช่ว่าจะมีแต่โทษ ประโยชน์ก็มีเช่นกัน

เกมมีประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมจินตนาการ เพราะอย่างน้อยต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เพื่อใช้ในการคำนวณ ผู้ปกครองของเด็กที่ชอบเล่นเกมควรสร้างแรงจูงใจให้เด็ก โดยบอกว่า หากชอบเล่นเกม หรืออยากเป็นนักสร้างเกมก็ควรตั้งใจศึกษาหาความรู้ก่อน โดยวิธีนี้จะช่วยดึงให้เด็กเห็นคุณค่าของการศึกษามากขึ้น

ทำให้ได้ข้อสรุปว่า "เกมออนไลน์" ไม่ได้ทำให้เกิดโทษเพียงด้านเดียว แต่ยังมีส่วนช่วยการช่วยเสริมสร้างความคิดและจินตนาการให้กับเด็ก หากผู้ปกครองปิดกั้นไม่ให้เด็กเล่นเกมก็อาจจะส่งผลเสียต่อเด็กมากกว่า เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าคิด กล้าฝัน กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น ทางออกที่เหมาะสมจึงอยู่ที่ "ผู้ปกครอง" ที่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมของเด็ก เช่น การเข้าไปเล่นเกมร่วมกับเด็ก การเรียนรู้ว่าเด็กชอบเล่นเกมประเภทไหน และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบ
การแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์นั้น ทำแค่นี้ยังไม่พอ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการที่เด็กติดเกมนั้นจะเป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวงกับตัวเด็ก ครอบครัว และประเทศชาติ หากเด็กไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างโลกของเกมกับความเป็นจริง ความรุนแรงที่ได้รับมาจากการเล่นเกมที่รุนแรง จะเข้าไปสู่จิตใต้สำนึกของเด็ก ทำให้กลายเป็นเด็กก้าวร้าว เช่น การเล่นเกมชกต่อย หรือยิงกัน เด็กบางคนอาจจะแยกไม่ออกและก่อความรุนแรงโดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องผิด เป็นต้น หรือหากพลาดพลั้งเด็กไปก่อเหตุที่ร้ายแรงต่อร่างกายผู้อื่น จะเกิดความ สูญเสียหนักข้อยิ่งกว่านี้


ที่มา : http://www.mthai.com/webboard/7/58495.html,http://www.thaigoodnet.com/news/detail.asp?id=441,หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2548,http:/xchange.teenee.com/index.php? ,http:/webbroad.hunsa.com/read.php?

โดย : นางสาว ศุภมาส มั่นอ้น, -, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547