มอเตอร์เฟื่องทดเกียร์

tiP & Trick

 

    การทำงานอิเลกทรอนิกส์ทุกอย่าง ก่อนจะบัดกรีอุปกรณ์ทั้งหมด เข้าด้วยกัน ควรทดสอบ การทำงาน ของวงจรให้แน่ใจก่อน เพื่อป้องกันความเสียหาย ของอุปกรณ์   โดยใช้แผ่นทดลองวงจร

การบัดกรี
  ควรจี้ปลายหัวแร้ง ที่ขาของอุปกรณ์ก่อน เพื่อเป็นการอุ่นขาอุปกรณ์ แล้วจึงจี้ที่ตะกั่ว จะช่วยให้บัดกรีได้ง่ายขึ้น 
  หากจุดที่เราจะบัดกรีสกปรก ควรทำความสะอาดก่อน  ถ้าไม่สะอาด ตะกั่วจะไม่ติด
  การบัดกรีตัว IC ควรใช้หัวแร้งความร้อนวัตต์ต่ำๆ  แล้วก็ตามที  ก็ไม่ควรแช่หัวแร้งไว้นานเกินไป เพื่อป้องกัน การเสียหายจากความร้อน 
  หัวแร้งที่เราเสียบไฟไว้ หากเสียบทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ หากยังไม่ได้ใช้ ควรถอดออกก่อน  
  หัวแร้งที่เสียบไฟไว้ตลอดเวลา จะมีโอกาสที่หัวของมัน จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  ควรทำความสะอาดหัวแร้งทุกครั้งหลังใช้งาน 
  หากมีคราบตะกั่วติดอยู่จำนวนมาก ควรใช้ผ้าเช็ดตะกั่วออกบ้าง ขณะที่เสียบไฟอยู่

 
       

:: การทำขา และมอเตอร์ทดเกียร์

      การทำงานของ มอเตอร์ แบบธรรมดานั้น  ไม่มีกำลังขับพอ  มีแต่ความเร็วรอบ เพียงอย่างเดียว  จึงมีการนำความสามารถ ของระบบเฟืองมาใช้งาน ทำให้มอเตอร์ มีอัตราความเร็วรอบ ลดลง  แต่มีกำลังมากขึ้น

   ที่นำเสนอนี้  เป็นเพียงแนวทางคร่าวๆ  สามารถดัดแปลงได้ ตามความเหมาะสม

การทำขา

ขั้นที่ 1 
 - จัดหาเฟืองพลาสติก ให้ได้ขนาด และรูปร่างตามที่ต้องการ
 - โดยต้องคำนึงถึง  รูปแบบการประกอบเป็นเมื่อแล้วเสร็จด้วย
ขั้นที่ 2
 - เจาะรูที่ด้านบน และล่าง ของเฟือง อย่างละ 2 รู        
   เพื่อใช้ยึดเส้นลวด
 - ควรกะระยะห่างให้พอดีต่อการที่จะสอดเส้นลวด  
   ทำเป็นขาของหุ่นยนต์
 - ควรเจาะด้วยความระมัดระวัง 
ขั้นที่ 3
 - ดัดลวดที่จะใช้เป็นขาให้มีความกว้าง เท่ากับความกว้างของรู  
   ที่เราเจาะในขั้นที่ 2
ขั้นที่ 4
 - สอดเส้นลวด เข้าไปในเฟืองที่ได้จากขั้นที่ 2  
ขั้นที่ 5
 - ดัดพับเส้นลวดให้แบนขนานกับตัวเฟือง ตามรูป

จะได้ขาหุ่นยนต์ ที่ประกอบเสร็จแล้ว พร้อมนำไปประกอบเข้ากับแกนของมอเตอร์

การทำมอเตอร์ทดเกียร์ 

จัดเตรียมอุปกรณ์ในการสร้างดังรูป
ประกอบด้วย
มอเตอร์ขนาดเล็ก หรือมอเตอร์ของเด็กเล่น ทั่วๆ ไป
ลวดเสียยบกระดาษขนาด เล็ก ใหญ่ตามต้องการ
เฟืองขนาดต่างๆ 
ท่อโลหะขนาดเล็ก สำหรับทำเป็นแกน รองรับเฟือง 

 
บัดกรีลวดเสียบกระดาษ เข้ากับตัวมอเตอร์ 
จัดวางเฟือง
 

  ประกอบขาเข้ากับเกียร์ที่ทำเสร็จ
  หรืออาจประกอบล้อ แทนขาก็ได้

 
 

:: การทำขา แบบที่ 2

 

วิธีการทำขาของบีม อีกวิธีหนึ่ง  
 
รูปที่ 1
ดัดลวดทำเป็นโครงดังรูปตัวอย่าง


รูปที่ 2
  ตัดลวด สั้น 1อัน ยาว 1 อัน ต่อการสร้าง 1ขา ชิ้นยาว มีขนาดประมาณ15 ซม. ความยาว ขึ้นอยู่กับขนาด ของโครงสร้างหุ่น ที่ทำ 
บัดกรเข้าด้วยกัน ตังรูป  

wk1.jpg (18979 bytes)
 
รูปที่ 3
ภาพแสดงการดัดลวดเป็นรูปร่างขา และวิธีวางมอเตอร์บนโครงสร้าง 

 
 

:: การทำระบบสัมผัสจากลวด และลวดสปริงปากกา

  ระบบสัมผัส  คือ อุปกรณ์ ช่วยในการเปลี่ยนทิศทางของหุ่น  เมื่อหุ่นเดินชนวัตถุ
เปรียบเสมือนหนวดของแมลง

จากเส้นลวด
1. ตัดลวด 2 เส้น ยามตามต้องการ ต่อการทำระบบสัมผัส 1 ชุด

2. เส้นหนึ่งโค้งเป็นวงกลมเล็ก อีกเส้น ปล่อยตรงไว้
3. สอดเส้นตรง เข้าไปในรู  
4. บัดกรีโคนของลวดแต่ละเส้น เข้ากับ วงจร ตามตำแหน่งในแต่ละวงจร   
5. ระวังอย่าลวดทั้ง 2 เส้น สัมผัสกัน   

จากเส้นลวด
1. บัดกรีลวดสปริงปากกา เข้ากับวงจร
2. นำเส้นลวดอีกเส้น สอดในแกนขดลวด
แบะบัดกรีกับวงจร
 
 

:: การทำทรานซิสเตอร์ธรรมดาแทนโฟโต้ไดโอด

  17 ส.ค. 45
หลายๆ คนเจอปัญหาเรื่องการหา Photo Diode ที่ใช้ในบีมกันมาบ่อย วันนี้มีเพื่อนๆ ส่งคำแนะนำดีๆ มาบอกเล่า จากประสบการณ์จริง ลองเอาไปใช้สร้างกันดูนะครับ ขอขอบคุณผู้แนะนำมา ณ ที่นี้ด้วยครับ  
ได้ผลอย่างไร เล่าให้ฟังบ้างนะ

ผู้แนะนำ
คุณ วิษณุ สังขทัต 
visanu_crab@yahoo.com

ขั้นตอนมีดังนี้

1. เลือกใช้ทรานซิสเตอร์ชนิดตัวถังโลหะ เช่นเบอร์ BC108
2. ผ่าฝาทรานซิสเตอร์จนเห็นชิบในตัวถังให้ได้ (ที่ผมทำคือใช้หินเจอร์ค่อยๆเจียร์ฝาด้านบนจนเกือบร่อน ใช้ปลายคัตเตอร์แซะออก)
3. ใช้ไดโอดคร่อมขา C,E
4. ถ้าคร่อมไดโอดถูกด้าน แล้วใช้ไฟฉายส่องไปที่ทรานซิสเตอร์การทำงานจะเหมือนต่อด้วยโฟโต้ไดโอดทุกประการ ถ้าคร่อมกลับด้านการทำงานก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
(การต่อน่าจะรู้นะทั้งสองตัว ต้องมีขาใดขาหนึ่งต่อร่วมกันเหมือนที่ใชโฟโต้ไดโอด เช่นอาจจะใช้ขา E ทั้งสองตัวต่อร่วมกัน) และก็เอาชุดนี้เลย ไปเลือกหาโฟโต้ ทรานซิสเตอร์ หรือโฟโต้ไดโอดที่ต้องการ โดยถ้าลองต่อแทนชุด ที่เราสร้างมาแล้วไม่เวิรค์ ก็บอกคนขายว่า "ตัวนี้ยังไม่เอานะ"
ปล. ตัวที่ใช้ล่าสุดเป็นแบบสามขา กลับกลายเป็นว่าต้องใช้ขา B,E หรือ B,C ถึงจะทำงาน ถ้าใช้ขา C,E ก็ไม่เลี้ยวเลย สมมุติว่าเจอตัวแบบนี้นะ ก็เอามาด้วย ใช้ได้เลยเช่นกัน

โอยเมื่อยมือแล้ว ขอเก็บแรงไว้ทำอะไรแปลกๆดีกว่า ถ้าใครมีอะไรแปลกๆ หรือไม่แปลก แต่ทำให้ทุ่นเวลา ในการหาอุปกรณ์ได้แบบนี้ ก็เชิญมาคุยด้วย 
เจ้าตัวตะโกนเสียงดังลั่น "เล่นหุ่นยนต์คเดียวเหงาจัง"
เสียงสะส้อนกลับ "ไม่เหงาหรอก" 

คัดลอกมาจากกระดานข่าว เมื่อ 17 ส.ค. 45 02:45:51

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

ที่มา : www.google.com

โดย : นาย นฤพนธ์ มั่นถึง, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547